อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ ‘เปิด’ ให้ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนได้รวดเร็วว่องไวทุกที่ทุกเวลา แต่ก็มีรัฐบาลของหลายประเทศทั่วโลกพยายามที่จะเซ็นเซอร์มัน 3 ประเทศหลักคือ เกาหลีเหนือ จีน และพม่า แม้ว่าโลกจะไปถึงไหนแล้ว แต่ 3 ประเทศนี้ก็ยังคงถือหลักการป้องกันประชาชน (ที่มากเกินไป) จากเนื้อหาที่รัฐบาลไม่ถึงประสงค์ แม้ว่าเนื้อหาเหล่านั้นจะมีอยู่ว่อนเน็ตก็ตาม มาดูรายละเอียดกัน
1. เกาหลีเหนือ
เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตที่เร็วที่สุด และการใช้งานโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างเกาหลีเหนืออยู่ในทางกลับกันทั้งหมด เพราะแค่ 4% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้นที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และแน่นอนว่า 4% นี้ คิม จอง อิล ผู้นำเกาหลีเหนือต้องเซ็นเซอร์อย่างหนัก
ข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า ชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากไม่ทราบว่าเคยมีมนุษย์เหยียบดวงจันทร์แล้ว และคิดว่าการมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องของความหรูหรามากกว่าความจำเป็น ดังนั้นไม่ต้องพูดถึง Facebook, Twitter และ YouTube และสำนักข่าวต่างชาติต่างถูกแบนในเกาหลีเหนือ แต่กระนั้นรัฐบาลเกาหลีเหนือก็ยังตั้งแอคเคาท์ Facebook และ Twitter แล้ว และข้อมูลที่ไหลเวียนในประเทศส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในลักษณะที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อรัฐบาล ในแบบ “เชื่อผู้นำ” อยู่นั่นเอง
เหตุผลเบื้องหลังในการเซ็นเซอร์นั้นชัดเจนว่า คิม จอง อิลมองว่าอินเทอร์เน็ตจะนำพาข้อมูลข่าวสารที่เป็นความคิดเห็นสาธารณะ แต่ขัดแย้งกับความคิดเห็นของรัฐบาล และแน่นอนว่าการเขียนบล็อกก็เป็นเรื่องต้องห้าม เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในเกาหลีเหนือจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐบาล
นอกจากนี้ยังมีการระบุเพิ่มเติมอีกว่า แม้แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางในกรุงเปียงยางยังต้องยอมมอบกล้องวิดีโอ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์อื่นๆ ที่อาจส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านทางสัญญาณนั้นให้กับเจ้าหน้าที่ที่สนามบินอีกด้วย ส่วนประชาชนที่อยากจะใช้อินเทอร์เน็ต ก็มีอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ให้ใช้ในราคา 10 เหรียญสหรัฐ (ราว 300 บาทต่อชั่วโมง) – ข้อมูลจาก OpenNet Initiative.
2. จีน
เมืองจีนโด่งดังเรื่องกำแพงเมืองจีน (The Great Wall of China) แต่ในขณะเดียวก็ถูกชาวโลกแซวว่าเป็น ?The Great Firewall of China? เพราะตั้งหน่วยกรองข้อมูลข่าวสารอย่างรุนแรง อาทิ บล็อกที่เขียนถึงองค์ดาไลลามะ เหตุการณ์ในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ฟาหลุนกง และการประกาศอิสรภาพของไต้หวัน จะถูกทางการจีนเพ่งเล็งเป็นพิเศษจากเจ้าพนักงานที่ดูแลด้านการเซ็นเซอร์กว่า 30,000 คน
มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีนหลายๆ จังหวัดยืนยันว่าตัวเองไม่สามารถเข้าใช้ Facebook, Twitter, YouTube, Foursquare, Blogger, Flickr, Wikipedia, Google.com รวมถึง Google.com.hk และปีที่ผ่านมามีการบล็อคเว็บไซต์กว่า 350 ล้านแห่ง รวมทั้งปิดเว็บไซต์ภาพลามกอนาจารอีกกว่า 60,000 เว็บไซต์ และตอนนี้มีเว็บไซต์อีกกว่า 5,000 แห่งกำลังถูกสอบสวน
ผลที่ออกมาในที่สุดก็คือ เมื่อคนจีนค้นหาคำว่า ????? (Liu Xiaobo นักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มปัญญาชนและนักโทษทางการเมืองของจีนที่สร้างความไม่พอใจให้รัฐบาลจีนเป็นอย่างมาก ซึ่งล่าสุดได้รับรางวัลโนเบลไป – ผู้แปล) บน “ไป่ตู้” (Baidu) เสิร์ชเอ็นจิ้นยักษ์ใหญ่ของจีน ผลก็จะออกมาอวยทางรัฐบาลจีน ไม่ใช่ความจริงที่เกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้ทำไปเพราะต้องการที่จะป้องกันเนื้อหาที่รัฐบาลไม่ต้องการโดยเฉพาะที่มาจากวัฒนธรรมตะวันตกที่อาจสั่นคลอนความมั่นคงของจีน
แต่ในทางกลับกันก็มีข่าวอีกกระแสออกมาบอกว่านี่คือการที่รัฐบาลช่วยป้องกันไม่ให้บริษัทอินเทอร์เน็ตต่างชาติเติบโตในประเทศมากเกินไปกว่าบริษัทท้องถิ่นภายในจีน
3. พม่า
รัฐบาลพม่าก็ทำเช่นเดียวกับเกาหลีเหนือ เมื่อรัฐบาลทหารจะมีปัญหากับประเด็นสิทธิมนุษยชน และอาจไม่สนใจอะไรกับการเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในพม่าที่มีอยู่เพียง 108,000 ราย จากประชากร 50 ล้านคน (ข้อมูลปี 2008)
ในพม่า จะมีหน่วยงานที่ชื่อ Myanmar Wide Web (MWW) ที่คอยกรองอีเมล และบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์แนวสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์ที่วิพากษ์การทำงานของรัฐบาล รวมไปถึงการดักจับข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ด้วย
ที่มา: Yahoo! News