กลับมาตามคำสัญญาค่ะ สำหรับใครที่กำลังรอติดตามอ่านตอนที่ 2 ของ “เรียนรู้ MBA ฉบับย่อกับ?Steve Jobs”? ก่อนจะเข้าสู่บทความใหม่นี้อยากขอยกคำพูดจากหนังสือ “Five Myths of Consumer Behavior” มากล่าวถึงหน่อย มีประโยคนึงที่ชอบมากๆ คือ “To Achieve the growth and success of your comparison market, you must copy its path, not its destination” ซึ่งตรงกับความตั้งใจของบทความนี้คือ อยากให้เรียนรู้สิ่งที่ Jobs ทำซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จที่ผ่านมามากกว่าดูตอนที่เค้าสำเร็จแล้ว โดยคราวนี้นำมาฝากกันเพิ่มอีก 3 ข้อด้วยกัน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราไปเริ่มกันเลยดีกว่า 😀
Build From The Bottom Up สร้างจากฐานที่ไม่มีอะไรเลยขึ้นไป
Tim Smit ผู้ก่อตั้ง Eden Project <edenproject.com>
ถ้าจะว่าไปแล้ว Jobs อย่างกับมีญาณพิเศษที่ผู้อื่นมักไม่มี จินตนาการของเค้านั้นกว้างไกลไม่ได้มาจากสิ่งเดิมแต่เป็นการทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความเห็นของผู้เขียนชาวอังกฤษคนนี้บอกว่าถ้าอังกฤษ (National Health Society) ต้องการปฏิรูปสังคมด้านสุขภาพให้สมบูรณ์มักมองแต่ในสิ่งของที่พวกเขามีแล้วเท่านั้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นอะไรโดยไม่เคยนึกคิดว่าพวกเขาความจริงยังขาดอะไรที่ไม่เคยมีบ้าง อาทิเช่นขาดแคลนบรรดาระบบและอุปกรณ์ healthcare ที่พร้อมสามารถหยิบใช้ได้ทันทีแล้วสิ่งอื่น ๆ ก็จะตามมาเอง เป็นต้น จึงทำให้โครงการต่าง ๆที่ตั้งใจไม่เคยสมบูรณ์เสียที แต่ Jobs ได้สร้างจากฐานที่ไม่มีอะไรเลยดังที่เห็นได้จากผลงานด้านคอมพิวเตอร์และด้านโทรศัพท์มือถือ
ตัวอย่างที่เด่นชัดตัวหนึ่งคือ iPod เวลานั้น Sony ได้สร้าง Walkman และมี CBS เป็น content supplier ซึ่งหลายคนก็คิดว่าจะเอาชนะได้ลำบาก แต่ Jobs มองว่าว่าเครื่องเล่นเพลงควรเป็นเช่นไรและเล็งเห็นว่าสามารถเสริมอะไรต่ออะไรเข้าไปได้อีกมากมายอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
Interpret Don?t Impersonate จงเข้าใจแต่อย่าเลียนแบบท่าเดียว
Guy Kawasaki Apple?s ex-chief of evangelist และผู้แต่งหนังสือยอดนิยมอย่าง The Enchantment, The Art of the Start, Reality Check
เราอาจจะได้อ่านบทเรียนต่างๆ ว่าด้วยการที่จะเก่งแบบ Steve Jobs กันมามากจากหลายๆ สำนัก แต่ Guy Kawasaki ก็มีแง่คิดดีๆ ที่อยากให้พิจารณาก่อนเพราะไม่ใช่ว่าทุกบทเรียนจะควรลอกเลียนแบบจากเขาโดยตรงเลย คุณควรทำความเข้าใจกับสถานการณ์ให้ดีเสียก่อน อันได้แก่
1.ไม่จำเป็นต้องไปเลียนแบบกิริยาท่าทางหรือการแต่งกายเป็นอันขาด (และก็เชื่อว่าคงไม่มีใครคิดว่าทำแบบนั้นแล้วจะเก่งแบบเขาหรอกนะคะ อันนี้ติดตลก :P) กล่าวคือจงแยกแยะและคิดเชิงตรรกะว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เค้าสำเร็จ เช่น ให้สังเกตการนำเสนอและคำพูดที่ Jobs ใช้ว่าทำไมถึงเป็นนัก Present ที่ยอดเยี่ยม หากคุณสามารถนำเสนองานในลักษณะที่คล้ายกันกับเขาคุณอาจเป็นนักนำเสนองานที่ดีกว่าด้วยซ้ำ
2. สิ่งที่ทำหลังความสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ทำให้สำเร็จในครั้งนั้น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน Apple ควบคุมรายได้ applications บน iPhone และ iPad ด้วยการขายผ่าน iTunes Store ซึ่งตรงข้ามกับยุคปี 80?s ที่ Macintosh เคยปล่อยให้ขาย softwares ที่ไหนก็ได้อย่างเสรี พูดง่ายๆ ก็คือมันไม่ได้มีสูตรตายตัว ความสำเร็จที่ฉีกตัวเหนือคู่แข่งออกมาได้นั้น มันมาจากกลยุทธ์และวิธีการจัดการที่แตกต่างออกไป อย่างที่ Guy Kawasaki กล่าวค่ะ จงเข้าใจสถานการณ์ไม่ใช่เอาแต่เลียนแบบวิธีเค้ามาเลย
3. การก้าวเท้าสู่ความสำเร็จของเขาอาจไม่เหมาะกับคุณ และของคุณก็อาจไม่เหมาะกับเขาเช่นกันอย่าเลียนแบบให้มากไปเพราะต่างคนต่างมีระบบการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง
ตัวอย่างเช่นเรารู้สึกว่าการรับฟังลูกค้า การคุยกับสื่อต่าง ๆ อย่างเป็นมิตรและเปิดเผยการเชื่อมโยงกับ social media และการให้อิสรภาพกับพนักงานแบบประชาธิปไตยนั้นล้วนเป็นสิ่งดี ๆ ในสายตาของเราทั้งนั้นโปรดรับทราบว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในApple เลยสักเรื่อง แต่เขาสำเร็จได้
4. โอกาสด้านกาลเวลาอาจไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่มันก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เวลาที่ผ่านล่วงเลยไป โอกาสที่จะทำในสิ่งเดียวกันอาจปิดตายลงเพราะคู่แข่งทั้งหลายได้เลิกใช้เทคนิคและกลยุทธ์นั้นเสียแล้ว ยิ่งกว่านั้นเวลากลับกลายเป็นปฏิปักษ์กับคุณแทน ตัวอย่างเช่นปี 1993 ที่ Apple ได้ประสพความเลวร้ายสุดๆ กับโครงการ Newton ในเวลานั้นแต่ย้อนกลับถ้าเขาออกช้าลงอีกหลายปีและย่อขนาดให้เล็กลง เขาอาจสำเร็จเหมือน Palm Pilot แทนดังนั้นมันเป็นเรื่องเก่งกับเฮงด้วย
อ่านถึงตรงนี้ใช่ว่าการเลียนแบบ Jobs นั้นจะใช้ไม่ได้ผลทั้งหมด ยังมีอีก 3 อย่างที่ Guy เค้ามองว่าเลียนแบบได้
1. จงให้สิ่งที่ผู้คนต้องการก่อนที่เค้าจะรู้และเชื่อมโยงว่าเขาต้องการอะไร (อย่าง iPhone นี่เห็นได้ชัดเลยค่ะ ใครเลยจะรู้ว่าคนเราอยากใช้โทรศัพท์รูปแบบนี้ขึ้นมา ถ้าวันหนึ่งไม่ได้เห็น iPhone เข้ามานำเสนอก่อนก็คงยังติดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ ที่เราใช้กันอยู่ แทบจะเรียกว่า Apple เป็นคนจุดประกายเลยทีเดียว)
2. (อันนี้สำคัญมากๆ) ขอเน้นว่าจงใส่ใจในเรื่องของการออกแบบและ User Interface ที่ผู้ใช้จะต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย
3. สนับสนุนและจัดหาสถานที่ที่ให้คนในทีมของคุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญจริงๆ นะคะ)
It?s All About Design ทั้งหมดนี้มันเกี่ยวกับเรื่องของการออกแบบ
Deyan Sudjic, ผู้อำนวยการ Lodon Design Museum <designmuseum.org>
เจ้าของกิจการยุคดิจิตอลสนใจว่าจะทำอย่างไรให้บริษัทโตขึ้น แต่ Bill Gates และ Steve Jobs กลับสนใจตัวอย่างบริษัท Amstrad เป็นโมเดลธุรกิจของพวกเขาที่สามารถนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ สำหรับ Bill Gates และ Steve Jobs นั่นคือการทำอย่างไรให้ผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้ในราคาที่ไม่แพง
Jobs เน้นการออกแบบเป็นจุดสำคัญในการสร้างสินค้าที่คนต้องการจะซื้อ อันเป็นจุดยืนของ Apple Corps ที่มีมาแต่แรก แม้จะมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องกันก็ตาม จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าไม่ใช่เหตุบังเอิญว่าทำไม iPhone, iPod และ MacBook บรรจุในกล่องที่พิมพ์ว่า Designed by Apple in California ไว้ด้านนอกกล่อง
แม้เขาเริ่มต้นด้วยการเป็นบริษัทผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์อันเป็นสัญลักษณ์แห่งเทคโนโลยี แต่กลับผันตัวเองมาด้านการออกแบบคล้ายแฟชั่นที่ไม่มีคำว่า คอมพิวเตอร์ ร่วมกับชื่อบริษัทเลยทั้ง ๆ ที่ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ด้วยคติที่ว่าผลิตและออกแบบสิ่งของที่สามารถนำมาใช้งานบางอย่างได้ก็แล้วกัน! Jobs ได้ทำงานร่วมกับนักออกแบบภายนอกอีกหลายคนจนกระทั่ง Jonathan Ive เข้ามาร่วมงานปี 1997 ผู้มีความมั่นใจในตนเองสูงมากที่กล้าเอาเครื่องคิดเลขแบบมือถือของ Braun รุ่น ET ให้เป็น screen interface สำหรับ app คิดเลขบนเครื่อง iPhone รุ่นแรก เขาสามารถเปลี่ยนสินค้า Appleออกจากสินค้าในกรอบพลาสติกธรรมดา ๆ ให้เป็นของที่น่าดึงดูดใจคนได้
Apple สามารถโยงความหมายของการออกแบบที่เคยเข้าใจว่าเป็นการประกอบสิ่งเคลื่อนไหวต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นเครื่องล่อใจ หลอมรวมกับความรู้สึกเป็นของใหม่ในโลกภายภาคหน้าว่ามันไม่ใช่สิ่งของดังที่เห็นแต่เป็นสิ่งที่ผู้เป็นเจ้าของรู้สึกว่าจะใช้มันอย่างไรมากกว่า สินค้า Apple ได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของพวกเราไป อย่างการเขียนสื่อสารถึงกันและกัน, การถ่ายรูป และยังส่งผลถึงการหาตำแหน่ง หาเส้นทาง การท่องไปในเมือง การแบ่งปันความทรงจำต่างๆ และการสร้างสายสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร มันคือผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่กับสิ่งของแต่กลับกลายเป็นความเข้าใจที่มีต่อโลกใบนี้ของเราอย่างไร
สำหรับตอนที่ 3 เนื้อหาจะเข้มข้นเช่นเดียวกันมีการพูดถึงเทคนิคการนำเสนองานของ Steve Jobs ที่หลายๆ คนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง แล้วอย่าลืมติดตามกันต่อนะคะ
สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 สามารถหาอ่านได้ที่นี่เลยค่ะ
ที่มา : Wired Magazine