ผ่านมาแล้วสำหรับงาน Echelon 2014 Thailand Satellite ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 57 ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือระหว่าง e27 และ HUBBA ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ณ Bangkok University
โดยภายในงานได้รับเกียรติจากกรรมการกิตติมศักดิ์ทั้ง 5 ท่าน ได้แก่ Thaddeus Goh (COO & Co-founder แห่ง e27), Adrian Vanzyl (CEO แห่ง Ardent Capital), คุณศรีหทัย พราหมณี (Marketing Specialist แห่ง AIS), คุณธรฉัตร ตั้งศรีวงศ์ (Investment Associate แห่ง Cyberagent Ventures) และ Adrian Stewart (Entrepreneur-In-Residence แห่ง Galaxy Ventures) มาเป็นผู้ตัดสิน
นอกจากนี้ยังมีรุ่นพี่แชมป์เก่าอย่าง Opie Lopansri, CEO & Founder แห่ง STAMP มาเล่าถึงความก้าวหน้าและสิ่งที่เขาได้รับหลังการเข้าร่วมโครงการ Echelon Sattelite Thaialnd เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา
โดยแต่ละทีมที่จะ Pitch ในงานจะมีเวลาทีมละ 5 นาที เวลาจะเริ่มเดินตั้งแต่ผู้พูดเริ่มพูด ทีมแรกที่ขึ้น Pitch ได้แก่ 500 Trends
ที่พวกเขาเผยว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะตอบโจทย์ตลาด eCommerce ที่จะทำให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์ต่อการซื้อค้นหาและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาชอบและอยากซื้อกันได้มากขึ้น โดยวางตัวเป็น Social Commerce
ทีมต่อมาคือ Appy Hotel ที่จะทำให้นักการตลาดจากธุรกิจกลุ่มที่พักและโรงแรม ได้สร้างแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อให้พวกเขาสามารถดึงคนเข้ามาพักในโรงแรมของพวกเขาได้มากขึ้น โดยนักการตลาดจะสามารถจัดการเนื้อหาต่างๆ บนแอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้น
ทีมต่อมาคือ Anywhere to go ที่ส่งแอปพลิเคชัน I lert U แอปพลิเคชันที่จะช่วยผู้ใช้งานในยามฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็นเหตุฉุกเฉินทั้ง 7 เรื่องได้แก่ คอร์รัปชั่น, น้ำประปา, ยา หมอ สัตว์มีพิษ, อาชญากรรม มิจฉาชีพ, อาหาร น้ำ, เส้นทาง เดินทาง และ ไฟฟ้า และเปิดให้ผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้ทำความดีด้วยการสมัครเป็นอาสา ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้รับการกอบกู้ได้มากขึ้นอีกด้วย
ตามมาด้วย Blue ship ที่มาพร้อม Drive Bot ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาของคนมีรถได้แก่ ปัญหาเรื่องสภาพของรถยนตร์, น้ำมันรถ และ เหตุฉุกเฉิน โดย Drive Bot จะแจ้งเหตุขัดข้องของเครื่องยนตร์นั้นตั้งแต่เริ่มเกิดปัญหาเพื่อไม่ให้ความเสียหายแผ่วงกว้างมากขึ้น
ทีมต่อมาคือ Dipify แอปพลิเคชันที่จะพาผู้ใช้ที่มีความชื่นชอบคล้ายๆกันให้มาเจอกัน โดยไม่ต้องเสียเวลากรอกประวัติที่ยุ่งยากเหมือนบริการหาคู่อื่นๆ ด้วยการเชื่อมต่อผู้ใช้งานที่ชมคลิปบนต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตเหมือนกัน
ต่อมาคือ Echo 360 ผู้ให้บริการแลกค่าโทรศัพท์ฟรี จากการกด *115 ก่อนกดหมายเลขปลายทาง โดยผู้ใช้บริการดังกล่าวต้องฟังข่าวสารหรือโฆษณาจากบริการของ Freebie เพื่อให้ผู้ใช้บริการโทรหาหมายเลขปลายทางนั้นๆ ได้ฟรีสูงสุด 2 นาที และโทรฟรีได้สูงสุดถึงเดือนละ 180 นาทีอีกด้วย
ต่อมาคือทีม Fast in Flow ทีมที่เผยว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะทำให้นักการตลาดเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคในรูปแบบการสอบถามได้ง่ายขึ้น ด้วยการให้เอเยนซีต่างๆ สร้างแบบสอบถามผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้นักกการตลาดสามารถรวบรวมข้อมูลได้ง่ายขึ้น อีกทั้งทำให้ผู้ตอบคำถามสามารถแลกสามารถของรางวัลจากการตอบคำถามได้อีกด้วย
Hi Knowledge แพลตฟอร์มที่จะเข้ามารองรับการศึกษาที่จะมีความทันสมัยมากขี้น โดยการสอนนักเรียนผ่านคลาสต่างๆ ออนไลน์ โดยมีกลุ่มผู้ใช้งานเป็นสถานศึกษาต่างๆ
ทีมต่อมาคือ Novitat ที่มาพร้อมแอปพลิเคชัน Skypacs แอปพลิเคชันเพื่อการแพทย์ ที่ทำให้แพทย์ส่งสามารถรับ สามารถส่งข้อมูล เปรียบเทียบ วินิจฉัย และศึกษาความคืบหน้าของคนไข้แต่ละรายด้ง่ายขึ้น
ทีม Promo ที่มาพร้อมกับ UpToPromo ที่ช่วยลดปัญหาต้นทุนในการทำการตลาดแบบ SEO จากเดิมที่ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ ในตอนนี้พวกเขาสามารถใช้บริการจากที่จะ SEO ให้แบบอัตโนมัติ และมีต้นทุนที่ต่ำกว่า
ทีม Revenue Science Cooperation ที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ Prime ที่จะทำให้นักการตลาดเข้าใจ คาดการณ์พฤติกรรมการจองที่พัก ของนักท่องเที่ยว เพื่อให้พวกเขาสามารถสร้างรายได้ได้เพิ่มขึ้น
ทีม Sellsuki ผู้ให้บริการ Social Media/ Chat Platform ที่เผยว่าผลิคภัณฑ์ของพวกเขาจะให้การค้าจายสินค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือการแชทบน Facebook สามารถทำได้ง่ายขึ้น ด้วยการช่วยคุย ช่วยขาย ช่วยส่ง
ทีม Social Happens ที่มาพร้อมกับ DOLPHIN I/O บริการส่งข้อมูลผ่านเสียง ทำให้นักการตลาดสามารถทำการตลาดแบบ Location-based ได้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งว่าร้านอาหารที่คุณผ่านนั้นมีเมนูใหม่ หรือโปรโมชันใหม่อะไรที่น่าสนใจเป็นต้น
Page 365 บริการการซื้อที่จะช่วยให้ผู้ค้าสินค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กสามารถขายของผ่านเพจของพวกเขาได้ง่ายขึ้น ด้วยบริการการจัดการคอมเมนต์ ที่จะแจกแจงประโยคต่างๆ บนคอมเมนต์ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นการสั่งซื้อให้ผู้ขายทราบ ตั้งเวลาปิดร้าน พร้อมทั้งยังสามารถบันทึกข้อมูลและเบอร์โทรของลูกค้าได้อีกด้วย
ทีม Sticgo ที่มาพร้อมแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพและติดสติ๊กเกอร์จากแอปพลิเคชันก่อนแชร์ภาพนั้นๆ ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้นักการตลาดสามารถสร้างสติ๊กเกอร์เพื่อทำการตลาดจากสถานที่ หรืออีเวนท์นั้นๆ ได้อีกด้วย
ทีม Taamkru แอปพลิเคชันและเว็บไซต์เพื่อการศึกษาของเด็กๆ ปฐมวัย ที่ตอบโจทย์ทั้งน้องๆ ที่สามารถเรียนได้อย่างไม่น่าเบื่อ และตอบโจทย์ผู้ปกครองที่ว่าพวกเขาสามารถเปรียบเทียบได้ว่าลูกของพวกเขา ทำคะแนนได้ดีอยุ่เกณฑ์ไหนเมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ
Talentex ตอบโจทย์การหาผู้ร่วมงานของบริษัทต่างๆ ที่จากเดิมนั้นเป็นนายจ้างจะต้องเสียเงินจำนวนมากแม้จะไม่สามารถหาพนักงานที่ถูกใจได้ ด้วยการผสมผสานกันระหว่างโซเชียลเน็ตเวิร์ก และเว็บไซต์หางาน
ทีม Venuehub ที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้ผู้จัดอีเวนท์สามารถสื่อสารกับเจ้าของสถานที่เพื่อจัดอีเวนท์กันได้ง่ายขึ้น และแก้ปัญหาของทั้งสองฝ่ายทั้งการหาช่องทางการติดต่อระหว่างผู้จัด และการหารายได้จากสถานที่ของอีกฝ่าย
ZeroShake แอปพลิเคชันลดการสั่นสะเทือนของภาพ และวิดีโอ เสมือนใช้ขาตั้งกล้องจริงๆ นอกจากนี้ในแอปพลิเคชันยังมีเอฟเฟคให้ผู้ใช้แต่งภาพได้อีกด้วย
Zodio แพลตฟอร์มที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสถานที่ต่างๆ ที่น่าสนใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
ซึ่งหลังผู้เข้าแข่งขันพรีเซนต์งานของพวกเขาเสร็จแล้ว คุณศรีหทัย พราหมณี หนึ่งในห้ากรรมการผู้ทรงเกียรติ์ได้ขึ้นประกาศและมองรางวัลแก่สตาร์ทอัพผู้ชนะ ได้แก่ทีม Taamkru
และ ทีมที่ได้รับรางวัลจากการโหวตของผู้ร่วมงานนั้นได้แก่ Dipify