แม้เราจะเข้าสู่ปี 2021 กันแล้ว แต่ทราบไหมคะว่า ยังมีเทรนด์ของปี 2020 เรื่องการใช้โซเชียลมีเดียยังคงใช้ต่อเนื่องในปี 2021 นี้ นั่นเป็นเพราะพฤติกรรมบางอย่างในช่วงที่ทุกคนกลับมาอยู่ในภาวะ WFH ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปแบบเต็มที่ สำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดที่ต้องการเก็บข้อมูลไปใช้ในการเปรียบเทียบกับอนาคต ข้อมูลนี้ยังคงน่าสนใจค่ะ
โซเชียลมีเดียเข้ามาเปลี่ยนการใช้ชีวิตของเราเข้าไปทุกวันแล้วนะคะ ตั้งแต่ปี 2004 ที่โซเชียลมีเดียเติบโตขึ้นอย่างมาก จนถึงวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้กลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ ศูนย์กลางการกระจายข่าวและช่องทางการสื่อสารกับคนในสังคมผ่านเนื้อหา ภาพถ่ายและวีดีโอ แต่สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงให้มากคือโซเชียลมีเดียควรเป็นศูนย์กลางของธุรกิจคุณหรือไม่
ในปี 2020 โซเชียลมีเดียยังคงเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์ทางธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้ว่าลูกค้าของเราอยู่ตรงจุดไหนและใช้โซเชียลมีเดียเข้าไปเสริมให้ตรงจุด และในปีนี้สถิติของโซเชียลมีเดียจะช่วยปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดและใช้ในการทำธุรกิจของคุณอย่างไร มาดูข้อสรุปเหล่านี้กันค่ะ
1.ยังมีคนใช้งานโซเชียลมีเดียอยู่กี่คน
ไม่น่าจะแปลกใจที่ยอดคนใช้งานเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 2019 ที่มีผู้ใช้งานกว่า 3,200 ล้านคน (Emarsys, 2019). แน่นอนว่ายังมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขนี้จะเฉลี่ยจากจำนวนประชากรทั่วโลกที่ 42% แต่เหตุผลที่ยังมีคนอยากเข้ามาใช้งานต่อเนื่องอีกนั่นเพราะอัลกอริธึ่มจะทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้งานได้ง่ายและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงคนในแวดวงของคุณ ซึ่งกลุ่มคนที่ยังไม่เข้ามาใช้โซเชียลมีเดียอย่างเต็มตัวคือกลุ่ม babyboomer แต่ก็เริ่มปรับตัวใช้โซเชียลมีเดียบางตัวในการสื่อสารกับคนในแวดวงแต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะคนกลุ่มนี้จะเลือกใช้โซเชียลมีเดียบางอย่างและต่อต้านบางอย่าง อาจเพราะมองว่าโซเชียลมีเดียบางตัวเหมาะกับเด็กมากกว่า
2.Facebook ครองความเป็นผู้นำตลาด
แน่นอนว่าผู้ใช้งานต่อเดือนของ facebook ยังคงสูงมากแตะ 2,320 ล้านคน หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของประชากรชาวอเมริกา two-thirds of U.S. adults (68%) now report that they are Facebook users ที่น่าสนใจคือ Facebook มีอัลกอริธึ่มที่เข้าถึงคนทั่วโลกได้แม้ว่าจะไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว รวมทั้งช่วยให้คุณจ่ายเงินซื้อสินค้าได้ หากคุณต้องการขายสินค้าผ่านระบบของ facebook แต่คุณก็ต้องทำความรู้จักอัลกอริธึ่มของเฟสบุคที่มีการปรับเปลี่ยนรายวันเช่นกัน algorithm works
3.ค่าเฉลี่ยการใช้งานตามช่วงวัย
ความน่าสนใจของช่วยวัยในการใช้งานโซเชียลมีเดียนั้น ยังคงมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ กลุ่มมิลเลนเนียลยังคงเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานโซเชียลมีเดียสูงที่สุด จากการเข้าถึงของสมาร์ทโฟน ส่วนกลุ่ม Gen X กลับมีแนวโน้มที่จะใช้งาน tablet มากกว่า ส่วนกลุ่ม Babyboomer อย่างที่กล่าวไปในข้อหนึ่งคือคนกลุ่มนี้ปรับตัวช้าแต่จะคุ้นเคยมากขึ้น หากมีการใช้งานที่สม่ำเสมอ และเป็นกลุ่มที่เชื่อแบรนด์สุดหัวใจหากคุณทำดีและเข้าถึงพวกเขาได้ (Emarketer, 2019).
4.ใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียนานแค่ไหน?
อีกหนึ่งสิ่งที่นักการตลาดให้ความสนใจคือคนออนไลน์ใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียนานแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น Feed บนเฟสบุค หรือช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการโพสต์ภาพใน instagram แม้ว่าเวลาโดยรวมในการใช้งานโซเชียลมีเดียจะอยู่ที่ 2.22 ชั่วโมง (Globalwebindex, 2018) หากนักการตลาดสามารถทำให้คนบนโซเชียลมีเดียรู้สึกคุ้นเคยและเข้าถึงชีวิตประจำวันได้ ย่อมเป็นโอกาสที่ดีอย่างแน่นอน
5.การตลาดโซเชียลมีเดีย
ด้วยความพยายามของแบรนด์ในการจับกระแสโซเชียลมีเดียทำให้นักการตลาดกว่า 73% เชื่อว่าการทำตลาดผ่านช่องทางนี้มีประสิทธิภาพมาก ทำให้แบรนด์ต่างๆ ใช้โซเชียลมีเดียมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญทั้งการโฆษณา การทำโปรโมชั่นหรือกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
นอกจากนี้ยังคาดหวังการมีปฏิสัมพันธ์และความภักดีต่อแบรนด์ด้วย แต่ในเชิงของการวัดผลไม่สามารถบอกได้ชัดเจนขนาดนั้นว่าคนที่เข้ามามีส่วนร่วมกับเพจของคุณเขาคิดอย่างไรกับแบรนด์ (Buffer, 2019)
6.ลูกค้ากำลังใช้โซเชียลมีเดียจริงหรือไม่?
แม้ว่าสังคมออนไลน์จะดีในแง่การโปรโมทแต่นักการตลาดต้องเจาะลึกไปถึงคำที่ลูกค้าพิมพ์เลยว่าเขากำลังพูดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง
จาก 54% ของการสำรวจผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียพบว่าลูกค้าจะค้นหาคำวิจารณ์และคำแนะนำก่อนการตัดสินใจซื้อ ชี้ให้เห็นว่าการรีวิวนั้นเป็นส่วนประกอบการตัดสินใจที่สำคัญของลูกค้า หากทำการตลาดออนไลน์ให้สำเร็จ ก็ต้องระวังสิ่งเหล่านี้ให้ดีด้วย
7.ประสบการณ์ใช้งานที่ดีคือสิ่งสำคัญ
ถึงโซเชียลมีเดียจะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการตลาด แต่ถ้าลูกค้าที่เคยมีประสบการณ์ซื้อสินค้ากับคุณ ไม่ได้รับความประทับใจในการใช้บริการที่ดีนัก ย่อมส่งผลในเรื่องของการตัดสินใจซื้อในครั้งต่อไป และการแนะนำลูกค้าใหม่อย่างแน่นอน
โดย 71% ของผู้ตอบมองว่า หากเขามีประสบการณ์เชิงบวกกับแบรนด์ในโซเชียลมีเดียก้มีแนวโน้มที่จะแนะนำแบรนด์เดียวกันนี้ให้แก่เพื่อนหรือคนในครอบครัว (Lyfemarketing, 2018) ที่จะเกิดโอกาสในการขายได้ดีกว่า
8.เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือได้จริงหรือไม่?
กระแสอินฟลูเอนเซอร์ในปีที่ผ่านมายังคงดีอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่รู้ตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีการใช้จ่ายในคนกลุ่มนี้สักเท่าไหร่
แต่ 49% ของผู้บริโภคมองว่าพวกเขาจำเป็นต้องพึ่งพาคำแนะนำของคนเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าที่ไม่คุ้นเคย นั่นหมายความว่าหากอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นมีอิทธิพลมากพอก็ย่อมสร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้น (Fourcommunications, 2018)
9.การใช้ Instagram เล่าเรื่องแบรนด์
เรื่องราวส่วนใหญ่บน instagram มักจะเป็นการแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ โดยไม่ต้องกำหนดว่าเป็นเรื่องเก่าหรือไม่ จากข้อมูลของอินสตาแกรมพบว่ามีการแชร์เรื่องราวประจำวันหรือ Instagram Stories กว่า 150 ล้านครั้งช่วงมกราคม 2017 มาเป็น 500 ล้านครั้งในเดือนมกราคม 2019 (Statista, 2019)นั่นหมายความว่าคุณสามารถทำเรื่องราวให้สนุกสนานด้วยโพลคำถาม สติกเกอร์หรือเพลง เพื่อให้เนื้อหาของคุณดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าเดิม
ส่วนแบรนด์ก็อาจจะเพิ่มโอกาสในการขายด้วยแคมเปญพิเศษหรือโปรโมชั่นเฉพาะการใช้งานผ่านอินสตาแกรมเท่านั้นก็ได้นะ
10.เข้าถึงโซเชียลมีเดียผ่านมือถือ
ด้วยสมาร์ทโฟนที่เข้าถึงคนจำนวนมากย่อมทำให้โซเชียลมีเดียเข้าถึงคนกลุ่มต่างๆ อย่างรวดเร็ว กว่า 80% มีเรื่องราวเกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียผ่านมือถือ ซึ่งทางผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเองก็พยายามที่จะพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือสื่อสารให้รองรับการใช้งานโซเชียลมีเดียได้เร็วขึ้น มี interface ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถออกแบบแคมเปญได้สวยงามรองรับกับรุ่นต่างๆ ของมือถือ (Lyfemarketing, 2018)
สถิติเหล่านี้อาจจะไม่ได้แปลกหรือแตกต่างจากเทรนด์ต่างๆ ในปี 2019 มากนัก เพราะสิ่งเหล่านี้หากใช้งานโซเชียลมีเดียสม่ำเสมอ อ่านสถิติจากแหล่งที่มาต่างๆ บ่อยๆ ก็จะเห็นว่านักการตลาดหรือคนบริหารเพจบนโซเชียลมีเดียยังต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายและสื่อสารทางการตลาดให้เหมาะสมต่อไปเพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์ในการทำงานของธุรกิจได้ดีขึ้น
ที่มา : Oberlo