ในงาน Thailand Social Awards 2019 เหล่าโซเชียลแพลตฟอร์มชื่อดังจะมาอัปเดตกันให้เราฟังกัน ว่าที่ผ่านมามีเหตุการณ์สำคัญไหนเกิดขึ้นในปี 2018 บ้าง และในปี 2019 ที่เพิ่งเริ่มต้นนี้จะมีอะไรใหม่ๆ สำหรับในแต่ละแพลตฟอร์มบ้าง
ไมเคิล จิตติวาณิชย์ : ก่อนหน้านี้เวลาที่พูดถึง Mass Media ก็มักจะเป็นการคุยเรื่อง Reach หรือ Right Audience แต่รู้สึกว่านั่นคือเรื่องเก่าแล้ว เพราะต้องเป็นการ Right Audience Right Time และ Right Place หรือการเข้าหาแบบถูกที่ถูกเวลาแทน
โดยปัจจุบัน Google มีผลิตภัณฑ์ 7 ตัวทรงประสิทธิภาพมาก และแต่ละตัวก็ถูกใช้มากกว่าพันล้านครั้ง ซึ่งช่วยให้สามารถนำมาตีความ Signal เพื่อเข้าใจ Audience มากขึ้นได้ เช่น Google Map ที่ให้ Signal ด้านการเดินทาง โดย Signal ที่มาจากการ ‘ เสิร์ช’ นั้นทรงพลังมากที่สุด เพราะทำให้เห็นถึงการค้นหา ‘สินค้า’ เลย และมีการนำเอา AI มาจับ Signal จากทุกผลิตภัณฑ์ของ Google รวมกันก็ยิ่งช่วยให้เข้าถึงพฤติกรรมคนได้ดีมากขึ้น
ในปีที่แล้ว Google จะสร้าง Personalization at scale สำหรับนักการตลาด โดยเป็นการคัดสรร ‘สาร’ ที่จะเเสดงในโฆษณาแบบเฉพาะบุคคล ที่จะช่วยให้ประหยัดเวลาทำแคมเปญไปวันละ ชม 2 ชม.
ในอนาคตจะมีการทำ Internet Take Over คอนโทรลสารที่จะสื่อได้เป็นหมวด ๆ เช่น เมื่อ Coke ทำ Music Campaing ก็จะสร้างให้เกิดคอนเทนต์เพลงที่เป็น Coke ทั้งหมดทุกช่องทาง เรียกได้ว่าเป็นการสร้าง High Reach, High Frequency
สิรินิธิ์ วิรยศิริ : ในปีที่ผ่านมาพบว่าตัวเลขภาพรวมผู้ใช้ทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีที่แล้วทุกเดือน
- Facebook มีผู้ใช้ 2.3 พันล้าน
- WhatApp มีผู้ใช้ 1.5 พันล้าน
- Massager มีผู้ใช้ 1.3 พันล้าน
- Instagram มีผู้ใช้ 1 พันล้าน
โดย Facebook ในตอนที่เปิดเริ่มเปิดออฟฟิศในไทยมีผู้ใช้ที่ 51 ล้าน แต่ตอนนี้ขยับมาเป็น 53 ล้านแล้ว อีกตัวเลขที่น่าสนใจคือการเติบโตของ IG Story ที่ถูกใจไทยมากจนมีผู้ใช้ถึง 400 ล้านคน ต่อวัน รวมทั้ง Facebook Story ที่มีผู้ใช้ 300 ล้านคนต่อวัน
ในปี 2018 นั้นมีการสร้าง Facebook Marketplace พื้นที่การซื้อขายออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกทั้งผู้ซื้อผู้ขาย โดยมีการพาร์ทเนอร์กับธนาคารอย่าง กสิกรไทยและกรุงไทย ให้สามรถทำการขายได้ใน Massager ไปเลยในแอปเดียว เพราะสามารถโอนเงินได้ด้วย
ในอนาคตจะมีการพัฒนาฟีเจอร์ Watch Party ที่สามารถเชิญเพื่อนมาดูวิดีโอ แล้วแชร์ความคิดเห็นร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ รวมทั้งการทำ Facebook Original Content รายการเรียลลิตี้โชว์ ที่ให้ผู้ชมสามารถเลือกนักแสดงได้ และการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ บนเเมสเซนเจอร์ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นด้วย
LINE
กฤษณะ งามสม : LINE วางจุดยืนตัวเองว่าเป็นมากกว่าแอพแชท และไม่ได้เป็นมีเดีย แต่เป็น Total Solution ที่เข้าถึงลูกค้าทุกๆ กลุ่ม โดยมีการผูกกับ Official Account ของแบรนด์ต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อแบรนด์ให้เข้ามาที่หลักบ้านโดยตรง อย่างธนาคารที่ก่อนนี้ต้องโหลดแอปเช็คยอดเงิน แต่หลายๆค่ายเริ่มเอา Service นี้มาไว้ในไลน์แล้ว แชทอนู่ก็เปิดเข้าไปดูยอดเงินได้เลย
หรือธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มที่ LINE ช่วยให้แบรนด์เข้าถึง ‘End User’ ได้โดยตรง ในแบบไม่ต้องเดาว่าลูกค้าเป็นใครเนื่องจากต้องผ่านรีเทลจึงทำให้ไม่ทราบกลุ่มคนซื้อจริงแบบชัดเจนด้วยตัวเอง แต่ LINE สร้างแพลตฟอร์มเก็บดาต้าได้ ทำให้แบรนด์จะได้ First Study Data คือ ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า วันเกิด เพศ อายุ ฯลฯ โดยลูกค้าไม่ได้มีปัญหาการแชร์ข้อมูล ตราบเท่าที่ได้รับข้อมูลบริการที่เหมาะสม
สิ่งนี้คือการทำ OA (Official Account) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำ Business Connnect นอกจากนั้นในปีที่ผ่านมา LINE TV ถือว่าเป็น Number 1 TV จากการสำรวจด้วย มีการทำ LINE Timeline เนื้อหาคอนเทนต์ที่มีหลายๆ แบรนด์รวมอยู่ด้วยแล้วกระจายไปยัง LINE TODAY ซึ่งในปี 2019 ทิศทางของ LINE นั้นจะวางตัวให้ครอบคลุมไปทุก Segment ของการตลาด
Pantip
อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ : ในปี 2018 มีการทำฟีเจอร์ Pantip Now เพราะพบว่ากลุ่มผู้เล่นมี 2 กลุ่ม คือ คนติดห้องใดห้องหนึ่ง และคนที่เล่นไปเรื่อยๆ โดยฟีเจอร์ Pantip Now คือการบอกว่ากระทู้ในห้องไหนกำลังมีคนอ่านเยอะ ซึ่งบางทีอาจเป็นกระทู้เก่าก็ได้ แต่ทำให้ Direct Traffic มีการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะคนเล่นรู้สึกว่ามีอะไรให้อ่าน
และมีฟีเจอร์ติดตาม Tag ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิด Micro Communication แบบเฉพาะเจาะจงขึ้นมา รวมทั้งการสร้าง ‘Expert Account’ จาก Expert Brand ที่มาโคคอนเทนต์ร่วมกันเว็บไซต์ โดยมีทั้ง หมอ สถาปนิก ตากล้อง รวมไปถึงแบรนด์ (มาให้ความรู้โดยไม่มีการโฆษณา)
นั่นเพราะ Pantip เป็นพื้นที่ที่คนมักเข้าไปหาข้อมูล จึงอยากเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้คำตอบที่เชื่อถือได้ โดยเเบรนด์ที่สนใจสามารถเข้าไปเปิด Account ฟรี ส่วนความเป็นที่สุดของปี 2018 คือการทำ คอนเทนต์ ‘ถ้ำหลวง’ เป็นกระทู้ที่เปรียบเหมือน ‘จดหมายเหตุประเทศไทย’
สิ่งใหม่ในอนาคตจะมีการสร้าง ‘Comment AD’ โดยเป็นหนึ่งคอมเมนต์ที่อยู่บนสุดเขียนโดยแบรนด์ และสามรถใส่ลิ้งค์ รูปภาพ หรือข้อมูลต่างๆ ได้ และช่วยให้ผู้อ่านเห็นคอมเมนต์นี้เป็นอันยดับแรกเมื่อเข้ากระทู้มา
เอมี่ สิทธิเสนี :ในปี 2018 ที่ผ่านมากลุ่มผู้เล่น Twitter ช่วงอายุ 25-34 ปี เติบโตขึ้นเยอะมาก จากเดิมที่เป็นแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น แต่ปัจจุบันการใช้งาน Twitter มีความหลากหลายมากขึ้น อย่างคนทำงบานก่อนออกจากบ้านดูทวิตเตอร์ หรือถ้าอยากติดตามข่าวเรียลไทม์เรื่องการเมือง เช็คฝุ่นละออง ก็มักจะเข้าไปดูที่ Twitter
และพบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชากรวัยรุ่นที่เริ่มเล่น Twitter ในเชิงความรู้มากขึ้น เช่น #ทวงคืนวันสอบ ที่ติดอันดับจากเมื่อก่อนที่มักเป็นเรื่องบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีจุดเด่นคือการ ‘Look at that’ หรือคอยมองดูเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว โดยในอนาคตจะมีการขายโฆษณาในช่วง Pre-Roll ทั้งในวิดีโอและในไลฟ์ (ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต)
เรียกได้ว่าเป็นก้าวที่น่าสนใจของแต่ละแพลตฟอร์มที่ทำให้เหล่านักการตลาดมีลูกเล่นในการทำแคมเปญเพิ่มขึ้นอีกเยอะ