นก มณีรัตน์ CEO ของ Sea Thailand ได้มาเเชร์ประสบการณ์การทำธุรกิจของ Sea ในประเทศไทย หนึ่งในบริษัท Startup ยูนิคอร์นที่นำพาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange) ไว้อย่างน่าสนใจในงาน The Future of Startup เราลองมาอ่านกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจขององค์กรนี้กัน ว่า Key Success ของ Sea Thailand นั้นจะมีอะไรบ้าง
ชื่อเดิมของ Sea Thailand คือ Garena ซึ่งเป็นเพียงเกมแพลตฟอร์ม โดยตั้งบริษัทแรกที่สิงคโปร์ในปี 2009 จากนั้นก็ขยายไปที่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน และเข้ามาไทยเป็นตลาดสุดท้ายในปี 2012 แล้วผันตัวเองจากการทำเพียงแค่เกมออนไลน์เข้าไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ด้วย ในปัจจุบันธุรกิจในเครือของ Sea Thailand มีด้วยกัน 3 อย่าง คือ
- Garena ผู้ผลิตเกม ROV, Point Bank, FIFA Online และเกมดังอีกมากมาย
- AirPay ธุรกิจช่องทางการชำระเงิน
- Shopee ธุรกิจ E-commerce
4 Key Success ของ Sea Thailand
1. Define your Vision
การหา Vision นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญว่าธุรกิจ Startup ที่ทำอยู่จะตอบโจทย์อะไร ในตอนแรกที่บริษัททำแค่ Garena อย่างเดียวคือการ มี Vision คือ “การ connect world gammers เข้าด้วยกัน” และอยากนำเกมดีๆ มาให้ผู้เล่นเมืองไทยได้เล่นกันแทนที่จะต้องไปเล่นในเซิร์ฟเวอร์ของต่างประเทศ แต่ Vision นั้นเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะในการทำธุรกิจไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราคิดในวันแรกจะต้องเหมือนเดิมตลอดไป ซึ่ง Vision นั้นปรับเปลี่ยนไปเป็น “Better the life of people in South East Asia by technology” จนทำให้เกิดการรีแบรนด์ตัวเองมาเป็น Sea และชื่อของ Garena ก็กลายเป็นชื่อของธุรกิจเกมไป
2. Find the right people
เป็นการหาคนที่มีความส่งเสริมกัน ด้วยการหาทักษะ ความถนัด จากแต่ละคน มองว่ามี Vision และ Core value แบบเดียวกันไหม และเป็นคนแบบเดียวกันหรือเปล่า แม้ว่าจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ้าง แต่สามารถมองเห็นเป้าหมายสุดท้ายแบบเดียวกันได้ ซึ่งถ้ามีทีมแบบนี้ก็จะทำให้การดำเนินงานไปถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
Core value ของ Sea Thailand
- We serve we adapt เต็มใจให้บริการและปรับตัว
- We run วิ่งไม่หยุด
- We commit ทำอย่างจริงจัง
- We stay humble อ่อนน้อมถ่อมตน
และเลือกทีมงานที่สอดคล้องกันตั้งแต่ขั้นตอนสัมภาษณ์
3. Know your position & How to play
Position คือการที่เราตั้งตัวเองเอาไว้ว่าเป็นประเภทไหน ผู้เล่นเดิมในตลาดเป็นอย่างไร จนมาจับจุดที่การขายสินค้าที่ตัดสินใจซื้อง่าย ไม่แพง อย่างสินค้าแฟชั่น ส่วนในการเริ่มต้นของทำ Shopee จะคิดจากความเป็น mobile centric ตั้งแต่ต้น ต่างจากรายอื่นที่อาจออกแบบใน PC แล้วมาทำต่อที่ mobile ทำให้สามารถใช้บนโทรศัพท์มือถือได้ง่าย
จุดสำคัญในการทำธุรกิจคือทุกอย่างเป็น Localized ทั้งหมด จะไม่มีการทำการตลาดด้วยแคมเปญเดียวกับทุกประเทศ ทั้งเรื่อง trend, design ที่ทุกอย่างแตกต่างกัน นอกจากนั้นยังคำนึงถึงการตอบ pain point เรื่องความกังวลของผู้ใช้งาน โดยใส่ฟังก์ชันหลายอย่าง ให้ผู้ซื้อผู้ขายสามารถคุยกันได้ มั่นใจว่าเงินไม่หาย เพราะออกแบบระบบให้ได้ของแล้วจึงค่อยจ่ายเงิน
ใน 5 ปีที่แล้วมีการทำ B-shop เป็น e-commerc แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และต้องปิดตัวลงไปในเวลาเพียง 3 เดือน เพราะเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปสำหรับผู้ใช้ในการซื้อของออนไลน์ และให้ข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นการศึกษาข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
4.Fall Fast, Get up faster & Never lose sight
เราสามารถล้มได้เพียงแค่ต้องลุกให้เร็ว อีกสิ่งสำคัญคือการจำได้ว่า Vision ของการทำธุรกิจนี้คืออะไร แล้วสามารถตอบตัวเองได้ว่ายังคงเวิร์คอยู่ อย่าง Garena ในช่วงปีแรกมีการใช้เงินทุนจนหมดแล้วไม่เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการจนทำให้เกือบตัดสินใจปิดบริษัท จนปรับตัวในการสร้างแพลตฟอร์ให้ดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น ดังนั้นการล้มยังเป็นเรื่องที่ดี เพราะการล้มเหลวก็คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ที่สำคัญคือต้องลุกให้เร็ว ในทุกวันนี้ Sea Thailand ก็กำลังขยายธุรกิจอื่นๆ และยังคงลองผิดลองถูกด้วยเช่นกัน เพราะคิดว่าทุกอย่างคือการเรียนรู้
ความแตกต่างของแต่ละแพลตฟอร์ม
Shopee ตอนนี้มีในไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโด สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ซึ่งแต่ละประเทศก็มีทีมที่ทำงานกันแบบเต็มตัว โดยในไทยประมาณ 900 คน ที่ทำ Shopee โดยตรง ส่วนการทำการตลาดก็เป็นแบบ Local ที่พยายามปรับตัวเข้ากับแต่ละวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ อย่างเพลงฮิตติดหูที่ Shopee ปล่อยออกมาก็มีการลงในทุกประเทศเช่นกัน โดยใช้ภาษาที่แตกต่างกันเท่านั้น และสำหรับ AirPay จะมีความเป็น Individual ที่มากกว่า
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่น่าจับตามอง เพราะสามารถขยายตัวเองได้ดี โดยในอนาคต Sea Thailand ตั้งใจทำให้บริษัทสามารถเติบโตไปพร้อมกับผู้ใช้งานของแพลตฟอร์มในอนาคต