หลายครั้งเกิดคำพูดทีว่า ‘มันเสี่ยงเกินไปที่จะเข้าไปยุ่งกับประเด็นทางสังคมต่างๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเลยสักนิด’ ซึ่งความคิดนี้นั้นใช้ไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นทั้งกับแบรนด์ ลูกค้า นักลงทุนหรือสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โซเชียลมีเดียที่เป็นเหมือนตัวกลางให้ผู้คนวิเคราะห์และสะท้อนปัญหาต่างๆ ออกมามากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความเป็นอยู่ของผู้คน สิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียมกันในสังคม บางครั้งความคิดเห็นที่จะใส่ในเนื้อหา ก็ต้องควบคู่ไปกับการทำงานภายใต้แบรนด์ การออกมาพูดเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องย่อมมีความเสี่ยง และคุ้มค่าหรือไม่กับการแสดงความคิดเห็นที่สุ่มเสี่ยง
วันนี้ thumbsup จะมานำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการออกมาแสดงความคิดเห็นในประเด็นทางสังคมต่างๆ ว่าการนำเสนอแนวคิดผ่านแบรนด์นั้น ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือไม่ 5 สิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่แบรนด์ควรวิเคราะห์ให้ดีก่อนตัดสินใจ
- การกระทำสำคัญกว่าคำพูด : ความเชื่อใจจากลูกค้าจะได้รับก็ต่อเมื่อแบรนด์แสดงความน่าเชื่อถือออกมาให้ผู้คนเห็น เพียงแค่แบรนด์ต้องแสดงความชัดเจนและความสม่ำเสมอให้ลูกค้าเห็น
- แบรนด์ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนได้ : แบรนด์ไม่สามารถเป็นทุกอย่างที่ทุกคนต้องการได้ เพราะแบรนด์มีกลุ่มลูกค้าและสังคมที่แตกต่างกันออกไป เพียงทำตามเป้าหมายของแบรนด์อย่างแน่วแน่ แบรนด์ก็อาจได้รับความภักดีและความไว้วางใจจากตัวลูกค้า
- บางทีการเงียบเฉยอาจไม่ใช่คำตอบ : การเลือกที่จะเงียบอาจเป็นทั้งทางออกที่ถูกต้องหรืออาจผิดพลาดอย่างแรงได้ ซึ่งอาจไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล ถ้าเลือกการเงียบเฉยก็ต้องมีการจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นด้วย ในหลายๆครั้งการนิ่งเฉยจะทำให้แบรนด์ไม่เป็นที่ชื่นชอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนรุ่นใหม่ที่คาดหวังให้แบรนด์เป็นกระบอกเสียง
- ทุกๆ ฝ่ายคือหัวใจของบริษัท : ทุกคนในองค์กรคือส่วนสำคัญของบริษัท ทุกคนล้วนหล่อหลวมองค์กรด้วยมนุษยธรรม ความเห็นอกเห็นใจ ความหลงใหล อาจรวมไปถึงอารมณ์ขัน และสิ่งเหล่านี้ที่เริ่มเพียงจากในบริษัทจะเป็นแรงขับเคลื่อนต่อสังคมในปัญหาต่างๆ เช่น การใช้แรงงานอย่างเหมาะสม การสนับสนุนสิทธิที่เท่าเทียมกันเป็นต้น
- เลือกสื่อสารอย่างแน่วแน่ : แบรนด์ที่ดีต้องเลือกอย่างแน่วแน่โดยต้องเชื่อมั่นในการเลือกของตนและไม่ลังเลที่จะสื่อสารอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้คนของแบรนด์
แม้ว่าแบรนด์ต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันจากทุกฝ่าย ในการตอบสนองต่อประเด็นทางสังคมต่างๆ ทั้ง 5 ข้อด้านบนนี้ อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องและแน่นอนในการแก้ไขปัญหา เพราะทุกอย่างล้วนมีสองด้าน มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ตามมา ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับการที่แบรนด์เลือกที่จะทำตามวัตถุประสงค์และค่านิยมของตัวแบรนด์เองเป็นหลัก