ปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ สืบเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้ฝืดเคือง ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจเพิ่มขึ้น การขาดแคลนเงินทุนที่จำเป็นในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจหรือขยับขยายให้เติบโต รวมถึงคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยมากนัก
ผลการศึกษาจากไอดีซีและเอสเอพีพบว่า เกือบ 1 ใน 3 ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกพบว่า พวกเขาเสียเวลาไปส่วนมากไปกับการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานในแต่ละวัน แทนที่จะวางแผนสำหรับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนี้ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า 55% ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีมองเห็นแนวโน้มที่ดีของธุรกิจจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในขณะที่ 47% เชื่อว่าการให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของธุรกิจ ตัวเลขดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่า เกินครึ่งของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลเป็นอันดับแรกในการบริหารธุรกิจ
ธุรกิจเอสเอ็มอีในปัจจุบันควรดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับองค์กรใหญ่ๆ แทนการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่เริ่มตกยุค ยกตัวอย่างเช่น MEMEBOX บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติเกาหลี ที่ใช้ประโยชน์จากโซลูชันของเอสเอพี ในการขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปพร้อมๆ กับการขยายช่องทางซื้อขายจากหน้าร้านไปสู่ออนไลน์ และยังช่วยสร้างความชัดเจนในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยบริหารในทุกๆ เครือข่าย
ทั้งนี้ได้มีการกำหนดกรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิทัล ซึ่งถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีต่างๆ สามารถเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด และเอสเอ็มอีเองควรเริ่มต้นโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัน ดังนั้นเทคโนโลยีควรจะช่วยในการผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้น
เพื่อผลักดันเอสเอ็มอีในยุคดิจิทัลให้เปลี่ยนแปลงตนเองและกลายเป็นดิจิทัลอย่างแท้จริงได้นั้น มีสิ่งที่ต้องทำอยู่ 5 ประการ คือ
- แกนหลักแบบดิจิทัล ด้วยแกนการทำงานหลักแบบดิจิทัล เอสเอ็มอีสามารถดำเนินธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ และต่อยอดข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจเพื่อคาดการณ์และพัฒนาการตัดสินใจ การเพิ่มผลผลิต และการเพิ่มกำไรได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
- ประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า การพัฒนาประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านการบริการช่องทางที่หลากหลายผ่านการผสมผสานการตลาด การขาย การให้บริการ และการค้าไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน
- การมีส่วนร่วมของบุคลากร ทุกวันนี้ ผู้คนทำงานหนักขึ้น แต่ประสบความสำเร็จน้อยลง เนื่องมาจากความซับซ้อนภายในองค์กร เอสเอ็มอีจำเป็นต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรและมีการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้น เพื่อช่วยค้นหาและรักษาบุคลากรที่ดีที่สุดให้อยู่กับองค์กรไปในระยะยาว
- เครือข่ายธุรกิจและการร่วมมือกับซัพพลายเออร์ การร่วมมือกันระหว่างตลาดต่าง ๆ คือกุญแจสำคัญสู่การสร้างมูลค่าให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเอสเอ็มอีที่กำลังก้าวสู่การเป็นสากลมากขึ้น ความท้าทายและโอกาสที่ใหญ่ที่สุดในการเชื่อมต่อ Ecosystem ต่าง ๆ เป็นวงกว้าง คือจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแบบยกกำลังและสูญหายไปในเครือข่าย การใช้โซลูชันที่เหมาะสมจะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถส่งต่อข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งมอบข้อมูลเชิงลึก และเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ แลกเปลี่ยน นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น
- สินทรัพย์และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) เอสเอ็มอีสามารถต่อยอดพัฒนาไอโอทีเพื่อสร้างมูลค่าที่มากขึ้นให้แก่ลูกค้าพร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ และรูปแบบรายได้ใหม่ ผ่านการสร้างพันธมิตรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทำงานขั้นพื้นฐาน เอสเอ็มอีจะสามารถรองรับการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถกลายเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
ปัจจุบันมีหน่วยงานอย่าง สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้พร้อมจะเปลี่ยนมุมมองธุรกิจมาเป็นรูปแบบดิจิทัล เช่น การสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อบริหารจัดการองค์กร หรือการให้บริการช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ การจะให้เอสเอ็มอีนั้นปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเป็นเรื่องที่ยาก เพราะแนวคิดในการจัดการธุรกิจแบบเดิม ๆ นั้นฝังรากมาช้านาน ซึ่งถ้าไม่เกิดปัญหาใด ๆ พวกเขาก็ยังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผิดพลาดมากในปัจจุบัน เพราะถ้าวันใดลูกค้าเห็นความสะดวกหรือการบริการที่ดีกว่ากับคู่แข่งของเรา พวกเขาก็พร้อมที่จะเลิกซื้อสินค้าและบริการจากเรา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรทำให้รูปแบบธุรกิจเรามีความทันสมัยมากขึ้น
บทความนี้เป็น Advertorial