Site icon Thumbsup

AIS ทดสอบ 5G ครบทุกภาครายแรกของไทย หนุนภาคธุรกิจเตรียมรับมือเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

การเป็นผู้นำเรื่องการเดินหน้า 5G ของโอเปอร์เรเตอร์เบอร์หนึ่งของไทยอย่าง AIS นั้น เรียกได้ว่าเส้นทางนั้นเรียกว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียว เพราะได้เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการเตรียมองค์ความรู้และวางรากฐานโครงสร้างเครือข่ายหลักเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G เพื่อรองรับการทดสอบและใช้งานได้จริง เราจึงได้เห็นภาพ AIS ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกและมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วทุกภูมิภาคของไทย ดำเนินการทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยี 5G ในทุกมิติ ผ่านการจัดแสดง 5G ยูสเคสที่หลากหลายตอบโจทย์การนำไปใช้กับทุกอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งวันนี้ การเดินหน้าทดสอบ 5G ของเอไอเอส ก็ครบทั้ง 5 ภาคทั่วไทยแล้ว นับเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างทั่วถึงอย่างแท้จริง พร้อมฉายภาพให้คนไทยเห็นภาพว่า  เมื่อเทคโนโลยี 5G มาถึง เทคโนโลยีแห่งอนาคตนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพลิกหน้าอุตสาหกรรมไปอย่างไรบ้าง เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า การมาถึงของ 5G นั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่ความเร็วของอินเทอร์เน็ต 1020 เท่า แต่จะเข้ามาเปลี่ยนสังคมและการใช้ชีวิตไปเลย

 

 AIS ปูพรมทดสอบ 5G ครบทั้ง 5 ภาคทั่วไทย

การเดินหน้าเรื่อง 5G ตลอดทั้งปี 2561-2562 ของทาง AIS นั้น เรียกได้ว่ามีเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากมาย และทดสอบครบแล้วทั้ง 5 ภาคทั่วประเทศ ซึ่งนี่คือตัวอย่าง 5G ยูสเคสที่ AIS ทำให้เกิดขึ้นจริงแล้วในทั่วทุกภูมิภาคของไทย 

ภาคกลาง 

เดือน พ.ย. 61 : AIS จัดงาน 5G The 1st Live in Thailand by AIS ครั้งแรกที่ AIS D.C.ชั้น 5 เอ็มโพเรียม โดยผนึกกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกทดสอบ 5G ในประเทศไทย เพื่อให้นักศึกษา นักพัฒนา และผู้เกี่ยวข้องใน 5G Ecosystem ได้เห็นประโยชน์ของ 5G และนำไปประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ และทุกอุตสาหกรรม 

อาทิ สาธิตประสิทธิภาพการตอบสนองที่รวดเร็วของ 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สามตัวในการหาจุดสมดุล, หุ่นยนต์ YuMi® DualArm Collaborative Robot สำหรับอุตสาหกรรม 4.0, 5G Virtual Reality immersive video วิดีโอที่แสดงสภาวะเสมือนจริง เป็นต้น

นอกจากนี้ ในเดือน ธ.ค. 62 : AIS ยังคงเดินหน้าสาธิตเทคโนโลยี 5G ต่อเนื่องในงาน “5G The 1st Live in Thailand by AIS : Episode 2 โดยมุ่งนำขีดความสามารถและศักยภาพของเอไอเอส มาทดลองผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยี 5G

ทั้งนี้ ไฮไลต์เด่นคือ การนำเทคโนโลยี NextG มาประยุกต์ใช้บนระบบ 5G ทำให้เกิดความเร็วใหม่ที่เร็วแรงยิ่งกว่า Standard ของ 5G ไปอีกขั้น หรือเรียกได้ว่าเป็น NextG+ได้ความเร็วที่มากกว่า 19 Gbps

รวมถึงสาธิตการนำ Cloud มาใช้งานกับ AR และ VR ในยุค 5G ผ่าน 2 เกมแอ็คชั่น ในรูปแบบของ 5G Cloud Virtual and Augmented Reality เพื่อให้เห็นโมเดลในอนาคตของการสร้างตลาด AR และ VR ที่จะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด และสาธิตการใช้งานโดรนบังคับผ่านเครือข่ายมือถือข้ามประเทศ ระหว่างไทยและจีน ด้วยโดรนตัวแรกที่ใส่ซิมการ์ด

 

เดือน เม.ย. 62 เปิดตัวรถยนต์ไร้คนขับคันแรกของไทยที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย 5G Live Network  ที่เกิดจากการศึกษาและทดลองอย่างจริงจังร่วมกันระหว่าง SMART MOBILITY RESEARCH CENTER จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้รถยนต์สามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้คนขับ ผ่านการใช้งานเครือข่าย 5G  และสาธิตการใช้ VDO call บนเครือข่าย 5G ครั้งแรกในประเทศไทย

 

เดือน ต.ค. 2562 ผนึกกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก จัดแสดง 5G โชว์เคสด้านเทคโนโลยีมากมาย ในงานมหกรรม Digital Thailand Big Bang 2019 ที่ผ่านมา อาทิ จำลองซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคตที่มีการใช้มือหุ่นยนต์หยิบสินค้าจากการสั่งงานผ่านแท็บเลต ที่เรียกว่าจะเป็นการปฏิวัติธุรกิจค้าปลีกได้อย่างน่าสนใจ 

ทั้งนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทดลองใช้งานโทร 5G VDO Conference Call ข้ามภูมิภาค จากกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ – หาดใหญ่ เป็นครั้งแรกของไทย ผ่านเครือข่าย 5G ด้วยสมาร์ทโฟนที่รองรับ 5G ซึ่งภาพจะมีความละเอียดสูงระดับ Full HD – 4K และสัญญาณเสียงที่คมชัดระดับ Ultra HD voice

 

ภาคใต้ 

เดือน ส.ค. 62 ลงพื้นที่ภาคใต้ ผนึกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกสทช. เปิดตัวและสาธิตนวัตกรรมต้นแบบจากเทคโนโลยี 5G ครั้งแรกของไทย โดยการโชว์ไลฟ์บรอดแคสต์ 5G Remote Control Vehicle ข้ามภูมิภาค ระหว่างกรุงเทพฯ และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พร้อมสาธิตระบบการสื่อสารระหว่างรถต่อรถ ผ่าน 5G เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่จะนำไปใช้ช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัย เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของชุมชน และพี่น้องชาวใต้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย 

 

ภาคอีสาน 

เดือน พ.ย. 62 AIS บุกถิ่นอีสาน ติดตั้ง 5G Live NetworkAIS Contact Center Development & Training Arena จ.นครราชสีมา โดยเปิดพื้นที่ให้เหล่านักพัฒนา สถาบันการศึกษา และพันธมิตรในภาคอีสาน ที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ได้เข้ามาร่วมพัฒนาและทดลองทดสอบยูสเคส 5G บนสภาพแวดล้อมจริง ร่วมกับเอไอเอส

 

ภาคเหนือ

เดือน พ.ย. 62 เคลื่อนทัพขึ้นเหนือ จับมือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โชว์สาธิตบังคับโดรน ข้ามภูมิภาค ระหว่างเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ผ่านเครือข่าย 5G บน Live Network ครั้งแรกในไทย แสดงแนวคิดการใช้งานโดรนในยุค 5G ที่สามารถนำไปประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย

ทั้งด้านการขนส่งและโลจิสติกส์, การเกษตร, ความปลอดภัยสาธารณะ, การกู้ภัย รวมถึงการนำไปใช้ควบคุมโดรนภายในเมืองอัจฉริยะ เพื่อใช้ในการเข้าไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ พร้อมขนทัพนวัตกรรมสุดล้ำแห่งยุคมาให้เหล่านักศึกษา นักพัฒนา และผู้ประกอบการในภาคเหนือ ได้ร่วมเรียนรู้และสัมผัสนวัตกรรม 5G บนสภาพแวดล้อมจริง เพื่อยกระดับภาคเหนือและประเทศไทย

 พร้อมกันนี้  AIS ยังได้เปิด AIS Playground @ CMU Learning Space แหล่งรวมดิจิทัลครีเอเตอร์สายเทคฯ ที่จะเป็นพื้นที่ให้ผู้สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G และ IoT ได้เข้ามาทดลองพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับเอไอเอส เพื่อเตรียมความพร้อมรับเทคโนโลยี 5G ที่จะมาถึง ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภูมิภาค 

 

5G เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

หลายคนคงเคยสงสัยว่า 5G จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไรในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของประเทศไทยได้บ้าง ทีมงาน thumbsup ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ในประเด็นการพัฒนา 5G และแนวทางในอนาคตของ 5G ประเทศไทย และนี่คือ 3 คุณสมบัติหลัก ของ 5G ที่น่าสนใจ

1.Speed (ความเร็ว) : หากพูดถึงความต่างของ 4G และ 5G ข้อแรกเลยคงหนีไม่พ้นเรื่องของความเร็ว ซึ่งความเร็วของ 5G นั้น เรียกได้ว่าเร็วกว่า 4G มากถึง 1020 เท่า ถ้าหากอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้การส่งต่อข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผลเป็นไปได้เร็วขึ้นเท่านั้น เรื่องของความเร็วที่เพิ่มขึ้นของ 5G จึงเป็นปัจจัยแรกที่สำคัญมาก ๆ 

2.Network Latency (ความหน่วงของสัญญาณ) : การรับส่งข้อมูลของ 5G จึงจำเป็นต้องทำให้ความหน่วงของสัญญาณลดลงถึง 10 เท่า ค่า Letancy หรือความหน่วงของสัญญาณจึงมีผลต่อการส่งผ่านข้อมูลแบบ Real Time ช่วยให้การสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลเป็นไปได้อย่างราบรื่น  ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเทคโนโลยี AR และ VR อีกส่วนหนึ่งคือปัญหาความหน่วงของสัญญาณที่ลดลงเกือบจะเสมือนจริง จะช่วยให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อีกมากมาย 

3.Internet of Things (IoT) : โดยปกติแล้วคลื่นความถี่ 4G จะสามารถรองรับการทำงานของอุปกรณ์ IoT ได้ประมาณ 1 แสนตัวต่อ 1 ตารางกิโลเมตร แต่การมาถึงของ 5G ทำให้เราสามารถรองรับและใช้งานอุปกรณ์ IoT ได้มากถึง 1 ล้านตัวต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจำนวนอุปกรณ์ที่มากขนาดนั้นในอนาคต อาจจะทำให้เราได้เห็น Smart City เกิดขึ้นจริงก็เป็นไปได้

นอกจากนี้ คุณวสิษฐ์ ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า คลื่นที่เหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ที่น่าสนใจนั่นคือ คลื่น 2600 MHz เพราะเป็นคลื่นที่กระจายในพื้นที่วงกว้างได้ดีกว่า ส่วนคลื่น 26 GHz ก็สามารถกระจายในพื้นที่เล็กและรองรับอุปกรณ์ได้มากกว่า แต่สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอนหลังการเปิดใช้งาน 5G อย่างเป็นทางการนั่นคือโทรศัพท์มือถือและซิมการ์ดของผู้ใช้งาน เพื่อให้รองรับการทำงานของเครือข่ายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

ภาคธุรกิจของไทยควรปรับตัวอย่างไรเมื่อ 5G เข้ามาถึง

คุณวสิษฐ์ เล่าเสริมว่า 5G เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจมากกว่าการใช้งานแบบทั่วไปแบบเครือข่ายที่ผ่านมา

ดังนั้น การเข้ามาของ 5G จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยเช่นกัน เพราะเราจะไม่เป็นเพียงผู้ที่รอซื้อเทคโนโลยี 5G แต่จะเดินหน้าสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีนี้ร่วมกับประเทศอื่นๆ หากผู้ประกอบการชาวไทยพร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัวไปด้วยกัน ก็ยิ่งเป็นโอกาสสำคัญในการพลิกประเทศไทย ให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมได้เช่นกัน

เพราะปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา Solution เพื่อนำมาปรับใช้กับ 5G อย่างเหมาะสม ทาง AIS จึงคาดหวังว่า หากผู้ประกอบการไทยรายใดให้ความสนใจเทคโนโลยีใหม่นี้มากพอ ก็อาจช่วยให้อุตสาหกรรมของไทยมีโอกาสพัฒนาและแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ หากเราช้าคนอื่นก็จะแซงหน้าไปมากขึ้น และเราก็จะเสียโอกาสทางรายได้ไปอีกมาก

 

 บทความนี้เป็น Advertorial