RainMaker ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการวัดยอดเอ็นเกจเมนต์ (Engagement) ของโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อให้นักการตลาดและแบรนด์สามารถวัดผลยอดไลก์ ยอดแชร์ คอมเมนต์และจำนวนผู้ติดตาม เพื่อทราบระดับของแบรนด์ตนเองในโลกโซเชียลมีเดีย เพื่อให้นำไปใช้ในการแผนกลยุทธ์ต่างๆ
ทั้งนี้ สูตรคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์ในโซเชียลมีเดียมีสูตรให้ใช้งานมากมาย เพราะยอดวัดมูลค่าของโพสต์ต่างๆ จะสร้างคุณค่าให้กับตลาดคอนเทนต์และรับรู้ได้ว่าชิ้นงานของตนเองสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างน้อยเราก็ต้องรู้มาตรฐานที่ใช้วัดยอดเอ็นเกจเมนต์นี้กันก่อนค่ะ
อย่างไรก็ตาม มาตรฐานที่ใช้วัดยอดเอ็นเกจเมนต์ จะประกอบด้วย
- Reactions
- Likes
- Comments
- Shares
- Saves
- Messengers
- Direct Messages
- Mentions (Tagged / Untagged)
- Click
- Profile Visits
- Retweets
- Replies
- Quote Tweets
- Sticker Taps
- Link Clicks
- Views
โดยรายละเอียดเหล่านี้ จะสามารถช่วยเปลี่ยนการรับรู้ระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการสร้างโอกาสเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตามแบรนด์และนักการตลาดจำเป็นต้องทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหลักของตนเองให้ดีเสียก่อน และควรรู้ไทม์ไลน์ที่เหมาะสมในการโพสต์ เช่น โพสต์เวลาไหนดี โพสต์ตอนไหนเอ็นเกจเมนต์จะดีที่สุด
และวันนี้ thumbsup จะมาแนะนำวิธีการคำนวณสูตรที่น่าสนใจมากถึง 6 สูตรมาฝากกันค่ะ
Rate by Reach (ERR) : คำนวณจากยอด Reach
เป็นสูตรยอดนิยมที่นำมาใช้ในการคำนวณเอ็นเกจเมนต์มากที่สุดเพราะสามารถวัดจากคนที่มีส่วนร่วมกับเราได้โดยตรงหลังเห็นคอนเทนต์แล้ว เหมาะใช้กับโพสต์เดี่ยวและคำนวณค่าเฉลี่ยของมัลติโพสต์
- ข้อดี : คำนวณยอด Reach ได้แม่นยำกว่าการคำนวณยอดจากผู้ติดตาม
- ข้อเสีย : ยอด Reach อาจมีการขึ้นลงจากหลายปัจจัย ทำให้ยากจะควบคุมได้
Rate by Posts (ER Post) : คำนวณจากยอดโพสต์
สูตรนี้คล้ายกับยอดการคำนวณจากยอด Reach เพียงแต่เปลี่ยนจากยอด Reach เป็นการคำนวณยอดจากผู้ติดตาม โดยจะบอกว่ามีผู้ติดตามกี่คน สร้างยอดเอ็นเกจเมนต์ให้กับคอนเทนต์ได้กี่คน
- ข้อดี : การคำนวณแบบ ERR เป็นวิธีที่ดีในการบอกจำนวนคนที่มองเห็นโพสต์ แต่สูตรนี้จะแทนที่ด้วยยอดการติดตามจากผู้ชม ซึ่งจะเป็นตัววัดที่แม่นยำกว่า
- ข้อเสีย : การคำนวณยอดด้วยสูตรนี้จะต้องอัปเดตอยู่เสมอ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนยอดผู้ติดตามที่เพิ่มหรือลด อาจทำให้การมีส่วนร่วมกับโพสต์ลดลงได้เช่นกัน
Rate by impressions (ER impressions) : คำนวณจากยอดการมองเห็น
ยอด Impression ทำให้รู้ว่ามีคนมองเห็นคอนเทนต์ของคุณเท่าไหร่แม้จะเป็นการกลับมาดูซ้ำก็ตาม เพราะการคำนวณด้วยสูตรนี้จะต้องนับยอดหรือความถี่ที่คนมองเห็นนั่นเอง
- ข้อดี : สูตรนี้เหมาะกับคอนเทนต์ที่จ่ายเพื่อเพิ่มการมองเห็น (Paid Content) และเป็นคอนเทนต์ที่เน้นการประเมินตามการแสดงผล
- ข้อเสีย : แม้สูตรนี้จะเป็นสูตรยืนพื้นที่ในการวัดผล Impression แต่อาจจะทำให้ได้ผลลัพท์ที่ต่ำกว่าการคำนวณแบบ ERR และ ER รวมกัน เพราะยอด Reach และ Impression มักจะไม่สอดคล้องกัน
Daily engagement Rate (Daily ER) : คำนวณจากยอดรายวัน
แม้ยอดเอ็นเกจเมนต์จะคำนวณตามยอดที่เรามองเห็น การคำนวณจากยอดผู้ติดตามที่เข้ามามีส่วนร่วมกับบัญชีผู้ใช้งานของเรา
- ข้อดี : สูตรนี้ไม่ได้คำนวณเฉพาะโพสต์ แต่เป็นการคำนวณจากยอดทั้งหมดรายวันของโซเชียลมีเดียผลลัพธ์จึงขึ้นอยู่กับโพสต์ใหม่และเก่ารวมกันได้เลย
- ข้อเสีย : ในสูตรไม่ได้คำนวณถึงเวลาที่ผู้ติดตามคนเดิมเข้ามามีส่วนร่วมกับโพสต์ซ้ำๆ
Rate by Views (ER View) : คำนวณจากยอดวิว
หากคุณทำคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มวีดีโอเป็นหลัก ควรเลือกใช้สูตรนี้ เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำในการคำนวณเอ็นเกจเมนต์ที่สุดแล้ว
- ข้อดี : เป็นสูตรที่เหมาะกับการคำนวณโพสต์หรือคอนเทนต์วีดีโอ ที่คุณต้องการเก็บยอดเอ็นเกจเมนต์
- ข้อเสีย : อาจเกิดมัลติวิวจากการรับชมสะสมทั้งยอดเก่าและใหม่ จากการดูหลายครั้ง
Factored Engagement Rate : คำนวณแบบแยกส่วน
การคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์แยกส่วนเหมาะกับแบรนด์ที่อยากคิดยอดแบบเจาะจงและให้น้ำหนักกับการประเมินบางประเภทมากกว่า
- ข้อดี : คำนวณได้แบบเจาะจงและนำไปต่อยอดได้
- ข้อเสีย : สูตรนี้อาจเพิ่มการมีส่วนร่วมของยอดเอ็นเกจเมนต์และทำให้เกิดความผิดพลาดในการคำนวณได้
สำหรับแบรนด์ที่ยังไม่เคยคำนวณยอดเอ็นเกจเมนต์มาก่อนและไม่รู้จะเริ่มจากจุดไหน ลองเอาสูตรเหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อเอาผลลัพธ์ที่ได้มาใช้เป็นแผนในกลยุทธ์การทำโซเชียลมีเดียในอนาคตของคุณกันค่ะ
ที่มา :