ยุคนี้ใครๆ ก็อยากเป็นนายตัวเอง เราจึงพบเห็นภาพนักธุรกิจหน้าใหม่เยอะขึ้นเรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกันความเสี่ยงจากการทำธุรกิจก็ไม่ได้น้อยลงไปกว่าเดิม เพราะหลายคนก็ไม่ได้เรียนจบด้านนี้มาโดยตรง และไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน
แต่เราสามารถลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ ด้วยการเรียนรู้จากบทเรียนและประสบการณ์ตรงของผู้ประกอบการที่เคยผ่านความล้มเหลวมาแล้วมากมายจนมายืนอยู่ในจุดที่เรียกว่าประสบความสำเร็จ เพื่อไม่ให้นักธุรกิจหน้าใหม่ทุกคนทำผิดพลาดในสิ่งที่สามารถป้องกันได้
ในบทความนี้ Thumbsup จึงรวบรวม 7 บทเรียนจากผู้ประกอบการชั้นนำและผู้สอนจาก Cariber แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์พัฒนาตัวเอง สอนโดยผู้นำของทุกวงการ
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถสมัครและรับชมได้ที่นี่: https://page.cariber.co/entrepreneur
ตอบให้ได้ว่าต้องการจะขายใคร
คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านอาหาร Penguin Eat Shabu แนะนำว่า คำถามสำคัญที่ควรหาคำตอบให้ได้คือ “ต้องการจะขายใคร?” เพื่อให้สามารถทำการตลาดที่ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่เป็นลูกค้า การที่รู้ว่าจะขายใครและไม่ขายใครจึงเป็นสำคัญ
การแบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แบ่งจากข้อมูลประชากร (Demographic) คือ แบ่งจากอายุ เพศ และเงินเดือน แบ่งจากทำเลที่ตั้ง (Geographic) และแบ่งจากพฤติกรรม (Behavioral)
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะขายชาบูในราคา 400 บาท ก็ต้องรู้ว่าจะขายให้กับลูกค้ากลุ่มไหน หากไปขายให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักเรียนก็อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร เพราะนักเรียนยังมีรายได้ที่ไม่สูง เพราะฉะนั้นอาจจะขายให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานออฟฟิศที่มีเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปหรือกลุ่มคนที่พักอาศัยอยู่กับครอบครัวที่สามารถมารับประทานอาหารแบบเป็นครอบครัวได้
ถัดมาก็คือการสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า เช่น กลุ่มพนักงานออฟฟิศที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักมักนิยมมากินชาบูตอนเย็น ในขณะที่ร้านเปิดตั้งแต่ตอนเช้าจึงทำให้ตอนเช้าไม่มีลูกค้าสิ่งที่ต้องทำคือการหากลุ่มลูกค้ารอง โดยอาจจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่อาศัยอยู่แถวนั้นหรือคนที่สามารถมาทานตอนกลางวันได้ หรืออาจจะปรับรูปแบบเมนูหรือโปรโมชั่นให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าในตอนเช้ามากขึ้นเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามายังร้าน
เรียนรู้การจัดการและบริหารธุรกิจร้านอาหารอย่างมืออาชีพ ปิดโอกาสการเจ๊งและเปิดประตูสู่ความสำเร็จในธุรกิจไปกับคุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านอาหาร Penguin Eat Shabu ในคอร์ส The Secrets of Starting a Restaurant Business สูตรลับเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหาร
ได้ที่: https://www.cariber.co/course/thanapong-vongchinsri/
ขายในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
เนื่องจากสินค้าในปัจจุบันนั้นมีมากมายและหลากหลายประเภท การเลือกสินค้ามาขายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งคุณเจตน์ จรุงเจริญเวชช์ CMO และ Partner แห่ง N-Squared eCommerce อธิบายว่า ต้องอาศัยเทคนิคการเลือกสินค้าที่มีอยู่ 2 วิธีหลักๆ ได้แก่
- เลือกจากความชอบของตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบสำหรับการขายของออนไลน์ เพราะจะมีความรู้และความเชี่ยวชาญในสินค้าประเภทนั้นเป็นพิเศษ และสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดและพัฒนาในการสร้างอิทธิพลและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้
- การทำ Market Research หรือการสำรวจข้อมูลความต้องการในตลาด ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากแพลตฟอร์ม eCommerce ต่างๆ หรือ Google Trends ได้ ว่าสินค้าใดมียอดขายที่สูงและ สินค้าใดมีความต้องการในตลาด รวมถึงความเป็นไปได้ในการแข่งขันของสินค้านั้นๆ ก็สามารถดูได้เช่นกัน
การที่สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้าจะช่วยให้สามารถคำนวณความเป็นไปได้ในการนำสินค้ามาขาย ว่าสินค้านั้นจะสามารถแข่งขันกับเจ้าเดิมที่อยู่ในตลาดได้หรือไม่ รวมถึงสามารถคำนวณถึงความคุ้มค่าและกำไรจากสินค้าได้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคำนวณให้ดีและต้องทำก่อนที่จะลงมือขายจริง
เปิดสูตรลับขายของออนไลน์ให้มัดใจลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสสู่ความสำเร็จในสนามการค้าใหม่ ไปกับคุณเจตน์ จรุงเจริญเวชช์ CMO และ Partner แห่ง N-Squared eCommerce บริษัทผู้จัดจำหน่ายและบริหารช่องทางการขายอีคอมเมิร์ซครบวงจรในประเทศไทย ในคอร์ส How to Sell Well in eCommerce สูตรลับขายดีออนไลน์
ได้ที่: https://www.cariber.co/course/jed-charungcharoenvejj/
พาร์ตเนอร์ที่ดีคือพาร์ตเนอร์ที่เก่งคนละอย่าง แต่มีเป้าหมายเดียวกัน
คุณสุรนาม พานิชการ CEO และ Founder Tofusan เชื่อว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้คือพาร์ตเนอร์และเงินทุน แต่คนส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากการหาพาร์ตเนอร์ที่เป็นเพื่อน และหลายๆ ครั้งก็จบลงที่การเสียเพื่อนเช่นกัน
เพราะในช่วงที่ตัดสินใจเริ่มธุรกิจ ทั้งและเพื่อนต่างมีความสนใจที่เหมือนกัน จึงทำให้และเพื่อนมีความถนัดและเข้าใจในสิ่งที่คล้ายกัน เช่น และเพื่อนอาจเป็นนักการตลาดทั้งคู่ แต่การทำธุรกิจนั้นมีหลายอย่างที่ต้องทำ ทำให้คนใดคนหนึ่งต้องทำในสิ่งที่ไม่ถนัดและไม่ชอบ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ดังนั้นพาร์ตเนอร์ที่ดีจึงต้องเป็นคนที่เข้ามาเติมเต็มช่องว่างในธุรกิจได้
ยกตัวอย่างเรื่องราวของเชฟสองคนที่มีความถนัดในการทำอาหารเหมือนกันและตัดสินใจทำธุรกิจร่วมกัน ผลลัพธ์ที่ได้แม้จะมีเมนูอาหารที่สร้างสรรค์ แต่ธุรกิจนั้นอาจไปไม่รอด แต่หากเชฟที่เก่งด้านการทำอาหาร ไปหาพาร์ตเนอร์ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการร้านอาหาร ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะเป็นร้านที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะทั้งสองต่างเติมเต็มช่องว่างของกันและกัน เพราะฉะนั้นการหาพาร์ตเนอร์ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างในธุรกิจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
รู้จักมองหาโอกาสและก้าวข้ามความล้มเหลวสู่ความสำเร็จในธุรกิจ ไปกับคุณสุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัทโทฟุซัง ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม ‘Tofusan’ และผู้ปลุกปั้นธุรกิจน้ำเต้าหู้จากศูนย์สู่ยอดขายกว่า 500 ล้านบาท ในคอร์ส Entrepreneurial Mindset เป็นเจ้าของธุรกิจได้ แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัด
ได้ที่: https://www.cariber.co/course/suranam-panichakarn/
ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต้องมีวินัย
ในโลกของธุรกิจ SME ปัญหาที่พบไม่ต่างกันคือส่วนใหญ่ ‘เจ๊ง’ มากกว่า ‘รอด’ ซึ่งตามสถิติแล้วธุรกิจที่มีโอกาสเจ๊งมีมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ในปีแรกที่เริ่มธุรกิจ หมายความว่าธุรกิจที่รอดมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้นการทำธุรกิจจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักตกม้าตายตั้งแต่ช่วงแรกในการเริ่มต้นธุรกิจ โดยมีเหตุผลหลักๆ อยู่ 3 ข้อ คือ
- สินค้าไม่ดีพอแต่ยังพยายามจะขายต่อไป
- ระบบการทำงานที่ไม่ดี ทั้งการบริหารบัญชี การบริหารบุคลากร ระเบียบวิธีในการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพจนทำให้ผู้ประกอบการหลายคนไปไม่ถึงฝัน
- ตัวผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีวินัยมากพอซึ่งคุณวรวุฒิบอกว่าเมื่อไม่มีวินัยก็จะทำให้ไม่ขวนขวายและหยุดพัฒนา
คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO OfficeMate ย้ำว่า หากเจ้าของธุรกิจไม่พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจก็จะไม่พัฒนาตามไปด้วย ธุรกิจจึงไม่ต่างอะไรกับภาพสะท้อนตัวตนของเจ้าของ ดังนั้น Mindset ในการเป็นหัวหน้าและเจ้านายที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสะท้อนภาพองค์กรธุรกิจว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
ถอดสูตรการขยายธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนเติบโตเป็นบริษัทขนาดใหญ่รายได้หมื่นล้าน พร้อมบริหารอย่างไรไม่ให้เจ๊ง ไปกับคุณวรวุฒิ อุ่นใจ ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของ OfficeMate แบรนด์ธุรกิจค้าปลีกเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงานที่เริ่มจากตึกแถว 2 ห้อง สู่บริษัทมหาชนรายได้หลักหมื่นล้าน ในคอร์ส Decoding SME Success ถอดรหัส SME สู่ธุรกิจหมื่นล้าน
ได้ที่: https://www.cariber.co/course/worawoot-ounjai/
สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าด้วย Service Mind
ในยุคที่สินค้ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน หลายบริษัทก็มีการพัฒนาเรื่องแบรนดิ้งและการตลาดมากขึ้น ‘Customer Service’ หรือการบริการทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการขายจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ลูกค้าหลายคนตัดสินใจเลือกซื้อและใช้สินค้านั้นๆ
คุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO ศรีจันทร์ และ Mission to the Moon ยกตัวอย่างว่า ที่ศรีจันทร์ให้ความสำคัญกับเรื่อง Customer Service มาก โดยเมื่อลูกค้าเข้าไปในเว็บไซต์ ก็จะมีการส่งคูปองลดราคาไปให้ หรือในช่วงโควิดที่ทุกคนไม่ได้ออกจากบ้าน ศรีจันทร์ในฐานะแบรนด์ที่ยังอยากให้ลูกค้านึกถึงก็จะส่ง Care Package เครื่องสำอางไปให้ลูกค้า พร้อมแนบโน้ตแสดงความห่วงใยให้ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอยู่ตลอด เนื่องจากไม่มีอะไรสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ไปกว่าความใส่ใจ
ไขความลับ ‘ศิลปะแห่งการขาย’ ที่จะทำให้เข้าใจว่าการขายและการโน้มน้าวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด ไปกับ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO เครื่องสำอางแบรนด์ศรีจันทร์ (Srichand) และเจ้าของเพจและพอดแคสต์ธุรกิจชื่อดัง “Mission To The Moon” ในคอร์ส The Art of Sales and Persuasion ศิลปะแห่งการขายและโน้มน้าวใจ
ได้ที่: https://www.cariber.co/course/rawit-hanutsaha/
อย่าลืมให้ความสำคัญกับการสร้าง Brand
เสื้อขาวตัวหนึ่งมีราคาไล่ตั้งแต่สองสามร้อยบาทจนถึงหมื่นกว่าบาทที่เป็นซุปเปอร์แบรนด์ แล้วทำไมเสื้อขาวราคาแพงของซุปเปอร์แบรนด์ยังขายได้อยู่?
คำตอบคือเพราะแบรนด์เหล่านี้ไม่ได้ขายเพียงเสื้อสีขาว แต่ยังขายความรู้สึก ความภูมิใจ ตั้งแต่ถือถุงออกไปจากร้าน หรือพูดง่ายๆ ก็คือขายความเป็น “แบรนด์” นั่นเอง
คุณภาณุ อิงคะวัต ผู้ร่วมก่อตั้ง Greyhound บอกไว้ว่า การที่แบรนด์จะเกิดขึ้นมาได้ต้องมี Brand Purpose หรือจุดมุ่งหมายของแบรนด์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงรูปลักษณ์หรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีอีกส่วนที่สำคัญคือเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกที่ทำให้คน ‘ตกหลุมรัก’ ในความเป็นแบรนด์ของแบรนด์ๆ หนึ่ง ตัวอย่างเช่น ความเชื่อหรือ Brand Purpose ของ Greyhound คือ “Basic with a twist” หรือความเรียบง่ายที่มีลูกเล่นซ่อนอยู่ในสินค้าต่างๆ ของแบรนด์ เช่น ปกติคนทำงานมักจะต้องใส่เชิ้ตขาวจำเจ แต่เสื้อผ้าของ Greyhound จะมีลูกเล่นและคัทติ้งที่แตกต่าง มีความสนุกในรายละเอียดของเสื้อผ้า หรือการเดินเข้าไปทานเมนูง่ายๆ ที่ร้านอาหารของ Greyhound แต่ก็มีความสนุกในการกิน
เพราะคนซื้อแบรนด์ไม่ได้ซื้อแค่ของ เรียนรู้สูตรการสร้างแบรนด์จากเจ้าของแบรนด์ไทยในตลาดโลกไปกับ คุณภาณุ อิงคะวัต Co-Founder ของ Greyhound แบรนด์ไลฟ์สไตล์ไทยในเวทีโลกที่อยู่เหนือกาลเวลาตลอด 40 ปี ในคอร์ส Branding Formula สูตรลับในการสร้างแบรนด์
ได้ที่: https://www.cariber.co/course/bhanu-inkawat/
การปรับธุรกิจให้ร่วมสมัย
คุณธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์ ทายาทรุ่นที่ 2 ของแบรนด์เครื่องหนัง VIERA by Ragazze กล่าวไว้ว่า ธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันกับความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นธุรกิจจึงไม่สามารถยึดติดอยู่กับกลุ่มลูกค้าเดิมได้ตลอดไป
สำหรับหน้าที่ของผู้รับช่วงต่อธุรกิจ หรือบริหารธุรกิจของตัวเองแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานแล้วจึงเป็นการมองหากลุ่มลูกค้าลักษณะเดิมที่อยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มลูกค้าลักษณะเดิมนั้นอาจไม่ใช่ลูกค้าคนเดิมในยุคก่อน ยกตัวอย่างเช่น หากกลุ่มลูกค้าของแบรนด์คือผู้หญิงวัยทำงาน บุคคลที่รักการแต่งตัว ฯลฯ ก็จะต้องหาบุคคลลักษณะนี้ในยุคปัจจุบัน และเมื่อรู้กลุ่มลูกค้าแล้ว ธุรกิจจึงจะสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ตอบโจทย์กับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นได้
เรียนรู้การบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือและจัดการกับปัญหาอย่างตรงจุด ไปกับคุณธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ นักเขียนเจ้าของหนังสือ “วิชาธุรกิจที่ชีวิตจริงเป็นคนสอน” ทายาทรุ่นที่สองของธุรกิจแบรนด์เครื่องหนัง ‘VIERA by Ragazze’ ในคอร์ส Family Business Management – บริหารธุรกิจครอบครัว บริหารความสัมพันธ์
ได้ที่: https://www.cariber.co/course/dhazzaphak-lertsavetpong/