เรื่องคนเป็นเรื่องสำคัญของทุกหน่วยงาน ลองมาดูวิธีการจัดการเรื่อง ‘คน’ ที่ใช้ผ่านประสบการณ์จริงของป้อม-ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ที่ได้พูดเอาไว้อย่างน่าสนใจ เราลองมาดูกันว่าเรื่องไหนที่น่ารู้บ้าง ทั้งหมดมีด้วยกัน 7 ข้อที่น่าสนใจ และสามารถนำไปประยุกต์กับธุรกิจได้
1. Re-skill? How about will?
ทุกวันนี้คนพูดเยอะมากว่า ต้อง Re-skill แต่ก่อนที่จะ Re-skill เราต้องถามเรื่อง ‘ความอยาก’ ก่อน ว่าคนๆ นั้นเขาอยากจะเปลี่ยนไหม? แล้วถ้าเขาอยากจะเปลี่ยน ทำไมถึงอยากจะเปลี่ยน? รวมไปถึง เขาเข้าใจไหมว่าทำไมถึงต้องเปลี่ยน?
สาเหตุเพราะคนบางคนไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปทำไม แต่ถ้าเราอธิบายได้ว่าถ้าเปลี่ยนแล้วมันจะเป็นอย่างนี้ เมื่อเขาเห็นชอบกับทิศทางของเราก็จะเดินตามมาในแนวทางนี้ แล้วเราก็จะสามารถทำการ Re-skill ได้ง่าย หรือถ้าเจอคนบางคนที่แชร์ vision ให้ฟัง แล้วเข้าใจแต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าอยากทำ ก็ให้มองว่าไม่เป็นไรให้ไปที่คนอื่นต่อ เพราะถ้าความอยากไม่มีก็เปลี่ยนไม่ได้
2. Collaboration – teaming up experts from different background.
ต้องเอาคนเก่งหลายฟังก์ชันมาทำงานด้วยกัน เพราะการทำงานแบบ Cross function (การนำเอาทีมข้ามที่มีความเชี่ยวชาญต่างกัน แต่มาร่วมกันทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน) จำเป็นสำหรับในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นความปวดหัวของผู้บริหาร เพราะสมัยก่อนคนทำงานฟังก์ชันใกล้ๆ กัน ก็มักจะมีทักษะที่ใกล้กัน รวมไปถึงพูดภาษาเหมือนๆ กัน
3. Communication matters, both word & style.
ต้องลงทุนปรับ หรือสอนในเรื่อง ‘การสื่อสารระหว่างกัน’ ทั้งในแง่คำพูด และคำศัพท์ที่ใช้ เพราะคนที่อยู่ในแต่ละฟังก์ชันนั้นมักใช้คำศัพท์เพื่อสื่อสารต่างกัน หรือแม้แต่เอเจนซีกับลูกค้า ที่ในบางครั้งก็ต้องเริ่มต้นด้วยการไปเรียนศัพท์ลูกค้าก่อน รวมไปถึงการเข้าไปเรียนรู้ ‘สไตล์’ ที่แตกต่างกันแต่ละบุคคลด้วย
ซึ่งถ้าสามารถทำข้อ 3 นี้ได้ดี สำหรับข้อ 2 ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายด้วย และเมื่อข้อ 2 เกิดขึ้นได้ง่าย ทางบริษัทเราก็จะได้เปรียบจากการนำความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันของคนมาผสมไปด้วยกัน
4. Make it efficient via collaborative tools.
การใช้ Tools ต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับธุรกิจของคุณร่วมกัน และเทคโนโลยีที่ดีก็นำมาสู่ความได้เปรียบ
5. Use data.
การนำ Data มาใช้ในหลายๆ โอกาส เพราะในอดีตเราอาจไม่ได้ใช้ Data แต่เป็นการพูดคุยและตัดสินใจกัน บนพื้นฐานของ ‘ความชอบ’ และสิ่งที่ผู้บริหารชอบมากก็คือ ‘ประสบการณ์’ โดยไม่ได้มีการพูดถึง Data ต่อมาในตอนนี้เราต้องเพิ่มทั้ง ความชอบ+ประสบการณ์+Ego เพื่อหันมาอ้างอิง Data
หากผู้บริหารเน้นทำในจุดนี้มากขึ้น ทางทีมงานก็จะเข้าใจเรื่องการใช้ Data ได้มากขึ้นเช่นกัน ต่างจากผู้บริหารบอกให้ทีมงานทำ Data แต่ไม่เคยใช้ Data ในการตัดสินใจเลย
6. Keep it flexible, be customer centric.
‘ควรจัดโครงสร้างองค์กรแบบไหน?’
ข้อนี้เป็นสิ่งที่หลายๆ คนมักถามกัน ซึ่งคำตอบง่ายมากคือ ‘จัดได้ทุกแบบ’ เพราะเราอาจมีทีมงานที่ไม่เหมือนกันเลย ในส่วนแผนกย่อยๆ ของเรา หรือคำถามว่า จัดแบบไหนให้ดีที่สุดสำหรับลูกค้า? ก็ต้องบอกว่าให้ดูลูกค้าก่อน ว่าจัดแบบนี้ไหนจะบริการลูกค้าได้ดีที่สุด
เพราะฉะนั้นคนทำงานจะต้องทำการ Q&A และให้เวลาประเมินในจุดนี้ ซึ่งเรื่อง structure นั้นก็เป็นแค่มายา ควรมองของจริงว่า เราทำไปทำไม? และ ทำไปแล้วแหมะสมกับธุรกิจไหม?
7. Commercial mindset.
กลับไปประเด็นแรกที่เราต้อง deliver ธุรกิจของเราให้ดี ซึ่งคนที่อยู่ในองค์กรต้องเข้าใจว่า ฟังก์ชันที่เขาทำงานอยู่ หรือสิ่งที่เขาทำอยู่ในปัจจุบันนั้น สุดท้ายมันเหมาะสมตอบโจทย์กับธุรกิจเราอย่างไรบ้างนั่นเอง
แน่นอนว่า ‘คน’ เป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร และมีความไม่หยุดนิ่ง แน่นอน และเรื่องที่องค์ต้องปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อหาวิธีการรับมือที่ดีที่สุด