ด้วยการลงทุนเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสำหรับองค์กรต่างๆ ในปัจจุบัน แม้จะมีตัวเลขที่เติบโตแต่ก็ต้องยอมรับว่ากระจุกตัวอยู่แค่บางอุตสาหกรรม ทาง Adobe ได้เปิดตัวเครื่องมือสำหรับนักการตลาดชุดล่าสุดอย่าง Adobe Advertising Cloud ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Adobe Experience Cloud ที่ครอบคลุมถึง Advertising Cloud Creative ของ Adobe และการขยายการผนวกรวมเข้ากับ Adobe Analytics Cloud เป็นการช่วยให้นักการตลาดทำงานได้อย่างดีขึ้น
วี.อาร์. ศรีวัตสัน กรรมการผู้จัดการของอะโดบี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้สัมภาษณ์กลุ่มย่อยระหว่างงานสัมมนา Adobe Experience Forum Thailand ว่า พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ชอบที่จะซื้อสินค้าตามใจตนเองมากขึ้น ทำให้แบรนด์ต้องสร้างสรรค์โปรโมชั่นที่เหมาะกับแต่ละคนมากขึ้น เพื่อกระตุ้นความต้องการอยากซื้อสินค้า ยิ่งการเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐและไทยก็มีอัตราการเติบโตเป็นอันดับที่ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะติดกับการใช้งานโซเชียลมีเดียและมือถือ ทำให้แบรนด์ต้องมองหาโอกาสและรองรับความต้องการของคนกลุ่มนี้ได้ดีขึ้น
องค์กรชั้นนำส่วนใหญ่ต้องการจะลงทุนเทคโนโลยีแต่ยังเป็นเพียงลมปาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขายังไม่ได้เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีดีพอ หรือมีบุคคลากรที่เข้าใจเรื่องทักษะไอทีน้อยเกินไป ทำให้การผลักดันเป็นไปอย่างยากลำบาก
การที่ Adobe ออกแพลตฟอร์ม Advertising Cloud Creative ที่ให้บริการตนเอง (Self-Serve Platform) เพื่อขยายขีดความสามารถของ Dynamic Creative Optimization (DCO) ช่วยให้นักการตลาดสามารถควบคุมองค์ประกอบพื้นฐานในงานออกแบบ เช่น ข้อความโฆษณาและภาพที่ใช้ในโฆษณาดิสเพลย์ เพิ่มความรวดเร็วในการนำเสนอข้อความและดีไซน์โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการปรับเปลี่ยนหรือเริ่มต้นกระบวนการออกแบบใหม่ทั้งหมด
Access ด้านครีเอทีฟที่ได้รับการออกแบบใน Adobe Creative Cloud จะพร้อมใช้งานโดยอัตโนมัติใน Advertising Cloud Creative ดังนั้นนักการตลาดจึงสามารถดึงมาใช้งาน ปรับแต่งหรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายของงานโฆษณาดิสเพลย์ตามขนาดที่หลากหลายของโฆษณา และเพิ่มความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานโฆษณาด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องส่งงานกลับไปที่เอเจนซี่หรือเริ่มต้นกระบวนการทำงานใหม่
Adobe Advertising Cloud ยังเพิ่มความสามารถเชิงลึกมากขึ้น ด้วย Adobe Analytics Cloud ซึ่งจะทำให้โฆษณากลายเป็นประสบการณ์ที่มีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น (connected experience) เช่น การตรวจวัดผลในลักษณะที่สัมพันธ์กัน ความสามารถในการเชื่อมโยงโฆษณาที่ซื้อผ่าน Advertising Cloud เข้ากับผลลัพธ์ทางธุรกิจ เช่น การซื้อสินค้า ซึ่งตรวจวัดด้วย Adobe Analytics รวมถึงความสามารถในการใช้ดัชนีแบรนด์บนแพลตฟอร์มดีมานด์ (Demand-Side Platform – DSP) เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจซื้อสื่อโฆษณา
นอกจากนี้ Advertising Cloud ยังประกอบด้วยฟีเจอร์ใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย Adobe Sensei ซึ่งเป็นกรอบโครงสร้าง AI และ Machine Learning ที่ก้าวล้ำของอะโดบี ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความเกี่ยวข้อง และประสิทธิภาพของโฆษณาบนเครื่องมือค้นหา โฆษณาดิสเพลย์ และโฆษณาวิดีโอบนทุกหน้าจอ
ทางด้านของผลวิจัยจาก Forrester ในข้อมูลด้านบนที่บอกให้ทราบว่า แบรนด์ต้องมีความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเพราะการตัดสินใจของลูกค้าเร็วขึ้น ซึ่งธุรกิจที่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่ออนาคตต่างๆ ในไทยนั้น 3 กลุ่มอุตสาหกรรมอย่าง Travel, Retail, Banking มีการลงทุนด้านนวัตกรรมของ Adobe มากที่สุด เพราะลูกค้าของเขามีการตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น
ทำให้ทาง Adobe เองต้องเตรียมความพร้อมเรื่องของเครื่องมือและการจัดอบรมเพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าเหล่านี้ให้ดีขึ้น ซึ่งในไทยมีลูกค้ากลุ่มธนาคารอย่าง SCB ขึ้นมาให้ความรู้และแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ด้วย ซึ่งทาง Adobe มองว่าในอีก 3 ปี จะมีผู้บริหารองค์กรชั้นนำในไทยที่เข้าใจเครื่องมือนี้และขึ้นมาแสดงวิสัยทัศน์เช่นกัน
นายศิวา กาเนสชานาดาน ผู้อำนวยการ Adobe Experience Cloud ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวเสริมว่า พฤติกรรมของลูกค้าในวันนี้เน้นเรื่องความพอใจ เมื่อเขาสนใจและพอใจในวันนี้ก็ตัดสินใจเลย ไม่ต้องการรอ แม้ว่า Adobe จะพัฒนาออกมาเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้สำเร็จได้ธุรกิจโตได้ แต่ตัวธุรกิจเองก็ต้องมีความเข้าใจในสินค้าและบริการของตัวเองให้ได้ก่อน
วิธีการเริ่มเก็บข้อมูลของระบบ Adobe จะเริ่มจาก DATA ซึ่งในที่มีจะหมายความถึง การเข้าถึงเว็บไซต์, Cookies ที่เกิดขึ้นจากการท่องโลกออนไลน์ของแต่ละบุคคล ซึ่งบิ๊กดาต้าเหล่านี้แต่ละแบรนด์ต่างก็เก็บกันอย่างมีระเบียบ และจัดระบบงานให้นำออกมาใช้ จากนั้นแพลตฟอร์มของ Adobe จะนำมาวิเคราะห์ผ่าน Machine Learning และ AI มาช่วยวิเคราะห์ประสบการณ์และความต้องการของลูกค้าแต่ละคน จากนั้นจะดึง Content ขององค์กรที่อยากนำเสนอผลิตภัณฑ์ประเภทใดให้แก่ใคร ทำเป็น Workflow และส่งกลับมาที่ Machine Learning อีกครั้งเพื่อวิเคราะห์อีกรอบก่อนจะส่งเป็น Unified Profile หรือเป็น Action ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
ในยุคนี้ต้องยอมรับว่า ทักษะของนักการตลาดด้านการใช้เทคโนโลยียังมีไม่เยอะ ต้องอาศัยเครื่องมือและทีมไอทีเข้ามาช่วยวิเคราะห์และจัดสรรข้อมูลให้เหมาะสม ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญแต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีนักการตลาดที่เข้าใจเครื่องมือเหล่านี้มากขึ้น เพราะทีมงานของ Adobe พยายามที่จะผลักดันเครื่องมือเหล่านี้พร้อมฝึกอบรมผ่านคู่ค้าของเราให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ได้ใช้งานเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับเม็ดเงินลงทุนที่ใช้ไป