Site icon Thumbsup

Allowlisting ฟีเจอร์บน Twitter ที่ช่วยต่อยอดบทสนทนาของนักรีวิว

Twitter เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีจำนวนคนรุ่นใหม่ใช้งานกันเยอะ เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางในการพูดคุย แชร์ข้อมูล ติดตามศิลปิน และรีวิวสินค้า ผ่านบทสนทนาและแฮชแท็กจนกลายเป็นกระแสสังคมได้มากมาย

เห็นได้จากกระแสแฮชแท็ก #รีวิว #ของมันต้องมี #ป้ายยา #ไว้รีวิวห้ามขายของโว๊ยยย ซึ่งแฮชแท็กเหล่านี้ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในจำนวนการสนทนาอันมหาศาลตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา บน Twitter ซึ่ง “บทสนทนา” เกี่ยวกับการรีวิวรวมกันแล้วมีจำนวนกว่า 38 ล้านการสนทนาเลยทีเดียว

ไม่ใช่แค่รีวิวเก่ง แต่ผู้คนบน Twitter ยังมีแนวโน้มจะ “ทดลองซื้อ” สินค้าและบริการใหม่ ๆ มากกว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไปถึง 19% อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักการตลาด นักโฆษณา และแบรนด์ ต้องการที่จะเข้าไปสร้างแบรนด์ และโปรโมทกิจกรรมทางการตลาดบน Twitter

สำหรับแบรนด์ที่หลงรักการรีวิวและอยากต่อยอดบทสนทนาเกี่ยวกับแบรนด์บน Twitter วันนี้ thumbsup จะมาแนะนำฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจ ชื่อว่า “Allowlisting” ให้นักการตลาดได้ทำความรู้จักกัน บอกเลยว่าฟีเจอร์นี้ “ตอบโจทย์” และช่วย “ต่อยอด” บทสนทนาของนักรีวิวได้อย่างดี!

ทำไมต้อง Allowlisting

“Allowlisting คือ ฟีเจอร์บน Twitter ที่เปิดโอกาสให้แบรนด์สร้างคุณค่าจากคำสนทนาที่ดีของผู้ใช้งาน”

แม้ว่านักการตลาดบางคนจะเคยใช้ Promoted Tweets ในการโฆษณาให้ลูกค้าเห็นแบรนด์ของเรากันมาบ้างแล้ว เพราะต้องการที่จะโปรโมทในรูปแบบของการสื่อสารผ่านทางแบรนด์โดยตรง แต่สำหรับ Allowlisting นั้น อาจเป็นฟีเจอร์ที่นักการตลาดยังไม่คุ้นเคยมากนัก

ฟีเจอร์นี้จะเป็นการนำทวีตของบัญชีผู้ใช้งานทั่วไปหรืออินฟลูเอนเซอร์ ที่กล่าวถึงสินค้าและบริการของแบรนด์มาโปรโมท ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสาร เรียกง่าย ๆ ว่า จะเป็นการผลักดันข้อความเชิงบวก หรือเพิ่มการมองเห็นข้อความประเภทแชร์ประสบการณ์จากการใช้งานจริง เกี่ยวกับสินค้าและบริการให้คนพบเห็นมากขึ้น

โดยแบรนด์สามารถเลือกข้อความสนทนาบน Twitter ของใครก็ได้ที่อาจไม่ใช่คนดังหรือเป็นผู้นำทางความคิดเสมอไป (แต่ต้องได้รับอนุญาตให้ทำโฆษณาจากผู้ใช้งานท่านนั้นก่อน) นักการตลาดจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน หากต้องการนำทวีตของเขาไปใช้ในแคมเปญของแบรนด์
การใช้ฟีเจอร์ Allowlisting นี้ สามารถช่วยเพิ่มการสนทนาเกี่ยวกับสินค้าและบริการในแง่ดีได้ โดยหากผู้ใช้งานทวิตเตอร์ได้เห็นคำสนทนาที่ดีต่อสินค้าและบริการ พวกเขามีแนวโน้มจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอีก 22% ได้เลย

GlobalWebIndex ยังบอกอีกด้วยว่า หากแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจ มีการใช้งานอินฟลูเอนเซอร์ในการช่วยโปรโมทสินค้าและบริการอยู่แล้ว การนำทวีตของอินฟลูเอนเซอร์ท่านนั้น ไปโปรโมทด้วยวิธี Allowlisting มีแนวโน้มช่วยเพิ่มความสนใจซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นถึง 29.7% ทีเดียว

แต่ถ้าไม่มีอินฟลูเอนเซอร์ช่วยโปรโมท นักการตลาดก็อาจจะใช้เครื่องมือประเภท Social Listening เพื่อค้นหาการพูดถึงแบรนด์ผ่านฟีเจอร์ Twitter Search ที่หน้า Explore ได้เช่นกัน

Allowlisting มีประโยชน์กับแบรนด์อย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่าสังคม Twitter ขับเคลื่อนด้วยการสนทนา โดยจำนวนของบทสนทนาใน Twitter เกี่ยวกับแบรนด์ในแต่ละกลุ่มธุรกิจนั้นมีเยอะมาก เช่น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม มีคำสนทนาถึง 384 ล้านครั้ง การเงินและธนาคาร 33 ล้านครั้ง รถยนต์ 47 ล้านครั้งและเครื่องสำอาง 43 ล้านครั้ง เป็นต้น เนื่องจากมีบทสนทนามากมายเกิดขึ้นบนโลกของ Twitter เรียกได้ว่า Allowlisting เหมาะกับทุกธุรกิจ

หากแบรนด์พบบทสนทนาที่ดีเกี่ยวกับแบรนด์ของตนก็สามารถนำข้อความเหล่านั้นกลับมาสร้างสีสันหรือทำแคมเปญบนทวิตเตอร์ได้อีกครั้งผ่านฟีเจอร์ Allowlisting

การใช้ข้อความหรือทวีตเข้ามากระตุ้นให้คนอยากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ หรือตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้นนั้น เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมองเห็นแบรนด์ของเราแก่ผู้ใช้งานทั่วไป ที่อาจจะยังไม่รู้จักเรามากนัก หรือยิงตรงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสารให้ได้รับทราบเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์เรามากขึ้น

 

ลงมือทำ Allowlisting

เนื่องจากนักการตลาดไม่สามารถใช้ฟีเจอร์ Allowlisting เองได้ ผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาการใช้ฟีเจอร์ Allowlisting และการทำการตลาดบน Twitter ได้ผ่านทาง MediaDonuts ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายโฆษณาของ Twitter ประจำประเทศไทยให้นักการตลาดเริ่มจากการเตรียมทวีตหรือคอนเทนต์ที่อยากจะโปรโมทก่อน อาจจะมองหาทวีตที่น่าสนใจ หรือบทสนทนาเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของแบรนด์ จากเทรนด์ หรือ แฮชแท็ก (#) ที่เกี่ยวข้อง

จากนั้นจึงติดต่อไปทาง MediaDonuts เพื่อขอแบบฟอร์มในการขออนุญาตใช้ข้อมูลจากบัญชีผู้ใช้งานแบบเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อทางเจ้าของทวีตเซ็นเอกสารยินยอมหรือข้อตกลงตามเงื่อนไขกลับมาให้ MediaDonuts เรียบร้อย แบรนด์จึงจะสามารถทำการโฆษณาข้อความนั้นออกไปได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักการตลาดสงสัยกันมากที่สุดคือ การทำ Allowlisting นั้น ใช้งบประมาณมากน้อยแค่ไหน ซึ่งงบประมาณในการใช้งานฟีเจอร์นี้ จะต้องขึ้นอยู่กับแต่ละแคมเปญ และวัตถุประสงค์ของแบรนด์ว่ามีความต้องการอย่างไรบ้าง จากนั้นทาง MediaDonuts จะให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาในแต่ละแคมเปญ

หากใครสนใจก็ติดต่อ ได้ที่ marketingSEA@mediadonuts.com

 

 

 

บทความนี้เป็น Advertorial