นอกจากการขายสินค้าภายในประเทศแล้ว อีกช่องทางที่น่าสนใจคือการส่งขายออกนอกประเทศ Amazon เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสำหรับการขายสินค้าในสหรัฐอเมริการรายใหญ่มาก ที่แม้จะบุกตีตลาดประเทศอื่นๆ ไม่สำเร็จ แต่ถ้าเป็นตลาดภายในประเทศนั้น เรียกว่าครองส่วนแบ่งตลาดรายใหญ่ที่สุดและมีหลายธุรกิจที่อยากเข้าไปขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มนี้
เตรียมพร้อมเพื่อธุรกิจไทย
การจัดตั้งที
ทั้งนี้ อะเมซอนวางแผนตั้งทีมขึ้นมา เพื่อเน้นในเรื่องของการเทรนนิ่งภาคธุรกิจที่ต้องการขายผ่านแพลตฟอร์มของเราได้แบบฟรีๆ ในชื่อคอร์สว่า Jump Start เพื่อเอาเทคนิคการทำงานไปใช้ในการบริหารจัดการสินค้าได้เป็นประจำทุกเดือนที่ตึกสิงห์เอสเตท ย่านอโศก
ทางด้านของ 3 เหตุผลในการเข้ามาอย่างเป็นทางการในไทยนั้น เพราะมองเห็นว่าประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญและมาแรงติดอันดับท็อป 5 มีอัตราการเติบโตของสินค้าส่งออกอยู่ที่ 7.7% และการประกาศมาตรการรัฐด้านดิจิทัลอีโคโนมี
โดยทางอะเมซอนร่วมงานกับทาง Thaitrade ในการให้ความรู้และข้อมูลต่างๆ ส่วนจะมีการร่วมมือกับภาครัฐอีกหรือไม่นั้นต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของอนาคต
อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของอเมซอนนั้น เน้นการนำสินค้าไทยออกไปวางขายในต่างประเทศ เพราะมีสินค้า 5 กลุ่ม กำลังเป็นที่นิยมมาก ประกอบด้วย สินค้าแฟชั่น ของตกแต่งบ้าน สินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์กีฬาและของเล่นเด็ก
หากเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานผู้ผลิต แบรนด์สินค้า ธุรกิจเอสเอ็มอีที่สนใจ สามารถเลือกประเภทของแพคเกจในการให้บริการได้ โดยจะมีราคาเริ่มต้นที่ 39.9 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ที่เจ้าของธุรกิจจะสามารถมีคลังสินค้าในการจัดเก็บ โดยคิดค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 1.2 เหรียญต่อชิ้้นต่อประเภทสินค้า
“แม้เราจะมีบริษัทลอจิสติกส์ระดับโลกอย่าง DHL ช่วยจัดส่งสินค้า แต่ก็อยากให้สต็อกสินค้าส่งไปในปริมาณมากๆ ที่คลังสินค้าของอเมซอน จะช่วยประหยัดต้นทุนในการส่งออกมากกว่า รวมทั้งยังสร้างโอกาสขายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายย่อยได้เร็วกว่าเดิม ซึ่งทางอเมซอนจะช่วยบริหารจัดการส่วนนี้ให้”
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าที่สำคัญและรายได้จากการส่งออกสินค้าถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญมาก โดยในปัจจุบันมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย คิดเป็น 99.7% ของธุรกิจทั้งหมดและรัฐบาลมุ่งหวังที่จะสนับสนุนเอสเอ็มอีให้สามารถเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้น
อะเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ช่วยให้เจ้าของกิจการและเจ้าของสินค้าสามารถขยายธุรกิจและเข้าถึงลูกค้าของอะเมซอนทั่วโลกได้ไม่ว่าธุรกิจเหล่านี้จะมีฐานการผลิตอยู่ที่ใดก็ตาม บริษัทจะเป็นตัวกลางสำคัญที่เชื่อมโยงผู้ขายทั่วโลกเข้ากับลูกค้าของอะเมซอนที่มีอยู่กว่า 300 ล้านราย รวมถึงลูกค้าชั้นดีกว่า 100 ล้านรายที่มีการซื้อสินค้าเป็นประจำผ่านมาร์เก็ตเพลสของอะเมซอน
อีกทั้งยังให้โอกาสผู้ขายเข้าถึงผู้ซื้อสินค้าที่เป็นองค์กรในสหรัฐอเมริกายุโรป และญี่ปุ่นอีกด้วย ศูนย์จัดส่งสินค้า 175 แห่งทั่วโลกของอะเมซอนพร้อมที่จะนำสินค้าจากประเทศไทยไปสู่ลูกค้าใน 185 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอะเมซอน
ปัจจุบัน ธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าผ่านอเมซอนมาจากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก อะเมซอนระบุในจดหมายถึง ผู้ถือหุ้นในปี 2561 ว่าสัดส่วนยอดขายจากการขายสินค้าของธุรกิจเหล่านี้มีการเติบโตขึ้นจาก 3% ในปี 2542 เป็น 58% ในปี 2561 และเอสเอ็มอีกว่า 50,000 รายสร้างยอดขายบนอเมซอนได้รายละกว่า 500,000 ดอลล่าร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา ในขณะที่เอสเอ็มอีกว่า 200,000 รายสร้างยอดขายได้รายละกว่า 100,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
นอกจากนี้ จำนวนเอสเอ็มอีที่ทำยอดขายเกิน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐผ่านร้านค้าออนไลน์บนอเมซอนมีการเติบโตกว่า 20% ในปีที่ผ่านมา
จุดเด่นของอะเมซอน
- เครือข่ายและฐานลูกค้าทั่วโลก
อะเมซอนมีเว็บไซต์ใน 18 ประเทศ รองรับภาษาต่างๆ ถึง 27 ภาษา และมีสินค้าหลากหลายประเภทธุรกิจรายย่อยที่จำหน่ายสินค้าผ่าน อะเมซอนมาจากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก โดยผู้ขายที่จำหน่ายสินค้าผ่านอะเมซอน โกลบอล เซลลิ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงลูกค้ากว่า 300 ล้านรายของอะเมซอน รวมถึงลูกค้าชั้นดีกว่า 100 ล้านรายที่มีการซื้อสินค้าเป็นประจำผ่านมาร์เก็ตเพลสของอเมซอน อีกทั้งยังให้โอกาสผู้ขายเข้าถึงผู้ซื้อสินค้าที่เป็นองค์กรในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นอีกด้วย - ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ อเมซอนมีศูนย์จัดส่งสินค้า 175 แห่งทั่วโลกที่พร้อมจะนำสินค้าจากประเทศไทยไปสู่ลูกค้าใน 185 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ผู้ขายสามารถใช้บริการ Fulfillment by Amazon (FBA) ที่ให้บริการจัดการออร์เดอร์
และจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เช่นเดียวกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในแต่ละประเทศ
การเติบโตของอเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง
ในปี 2560 อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง มีการขยายตัวทั่วโลกกว่า 50%
ในปี 2561 ยอดขายสินค้าจากผู้ค้ารายย่อยต่างๆ คิดเป็น 58% ของยอดขายสินค้าทั้งหมดที่มีการซื้อขายผ่าน อะเมซอน
(จากรายงานถึงผู้ถือหุ้นประจำปี 2561)