“คำคม” คอนเทนต์ที่ไม่มีใครรู้ว่ามันถูกแจ้งเกิดอย่างเป็นทางการเมื่อไร แต่รู้ตัวอีกทีมันก็แพร่พันธุ์จนเต็มโลกโซเชียล ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเรียก Engagement จากแฟนๆ ได้มาก แต่รู้หมือไร่? ใช่ว่าคำคมทุกอันจะเป็นข้อเท็จจริง และส่วนมากมันคือตรรกะวิบัติที่ทำให้เราละเลยการใช้เหตุและผลจริงๆ โดยไม่รู้ตัว
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เอียนกับคำคมในโลกไซเบอร์ ขออันเชิญให้มาสิงสถิตย์ในเพจ “ลองวิเคราะห์ดู” เพจที่สร้างคอนเทนต์ของตัวเองด้วยการหยิบคำคมมาชำแหละแบบคำต่อคำ เพื่อให้เห็นตรรกะวิบัติอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
เหตุผลที่ต้องหยิบมาเขียนถึงก็เป็นเพราะว่า เราอยู่ในยุคที่คนบางส่วนเชื่อว่าจะพิมพ์อะไรก็ได้เมื่ออยู่หลังคีย์บอร์ด และมันคงจะดีมากถ้าสิทธิอันนี้มาพร้อมกับความรับผิดชอบทั้งก่อนและหลังพิมพ์ลงไป เพราะเราไม่รู้หรอกว่าถ้อยคำที่เราเขียนอาจสร้างความเชื่อผิดๆ ให้คนอ่านได้มากน้อยแค่ไหน
จริงอยู่ที่คนอ่านก็ต้องรับผิดชอบตัวเองด้วยการกลั่นกรองเนื้อหาที่อ่าน แต่จะดีกว่าไหมถ้าคนเขียนได้ตรวจสอบเหตุและผล รวมถึงความถูกต้องของสิ่งที่ตัวเองจะเขียนก่อนกดโพสต์
จริงๆ แล้วการสร้างคอนเทนต์คำคม หรือประโยคเท่ๆ ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้ามันมาพร้อมกับความเชื่อผิดๆ มันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูก
จนถึงตอนนี้ “ลองวิเคราะห์ดู” มีแฟนเพจเกิน 2 แสนไปแล้ว (มารอดูกันว่าแบรนด์ไหนจะเข้าไปซื้อโฆษณาก่อน) สภาพปัจจุบันคือเป็นแหล่งรวมคนเบื่อตรรกะวิบัติบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่คำคมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประโยค ข่าว หรือรูปที่แชร์กันทั้งในและนอกโซเชียล
ที่ประทับใจเป็นการส่วนตัวคือมีการแก้คำผิดให้ด้วย และจริงๆ แล้ว ด้วยวิธีการของเพจนี้มันแทบไม่ต่างจากการท้าไฟท์กับคนอื่น แต่แนวทางที่ทำออกมาก็ไม่ได้ดูคุกคามอะไรขนาดนั้น แถมบางอันยังทำให้เราขำดังมาก
ไปกด Like แล้วฝึกใช้เหตุผลกันเถอะ