เมื่อเขียนบทความถึงบริษัทชั้นนำด้านไอทีแห่งทศวรรษนี้ทีไร ส่วนใหญ่เรามักพูดถึงตลาดเพลง หนัง ทีวี ความบันเทิงต่างๆ ธุรกิจการชำระเงิน เป็นต้น ใช่ไหมคะ แต่ไม่ค่อยบ่อยนักที่เราจะพูดถึงแวดวงการศึกษา ทั้งๆ ที่ความจริงเป็นตลาดที่น่าจับตาไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะมีขนาดที่ใหญ่มาก (โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ) ประกอบไปด้วยธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ผลิตตำราเรียน, สถาบันการศึกษาที่มองหาเครื่องมือที่จะนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน และกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่เติบโตมาในยุคดิจิตอล พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆ รู้จักและใช้งาน เทคโนโลยีเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
เพื่อนๆ ที่ติดตามข่าว Apple เป็นประจำ (บางคนก็ชอบอดหลับอดนอนรอดูว่ามีอะไรใหม่:D) คงจะทราบดีว่าเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน Apple ได้มีการจัดงาน Apple Education Event ขึ้น และได้มีการปรับเปลี่ยนและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษารูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็น iTune U, iBook2 และ iBooks Author
แน่นอนว่าหลายคนคงจะเกิดคำถามว่าครั้งนี้ Apple จะเข้ามาเป็นผู้ปฏิวัติวงการศึกษาหรือไม่ หลังจากทำสำเร็จในภาคธุรกิจอื่่นๆ อย่างสมาร์ทโฟน วงการเพลง ไปแล้ว ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น เราลองมาดูสูตรสำเร็จของ Apple ในอดีตควบคู่กันไปด้วยดีกว่า
Jigsaw ตัวสำคัญอุปกรณ์ที่น่าหลงไหล
การสร้างความคลั่งไคล้ในตัวอุปกรณ์กลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของ Apple ไปแล้ว ด้วยการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะส่วน? User Interface ที่ยอดเยี่ยม จนคู่แข่งตามไม่ทัน นับตั้งแต่ iPod, iPhone และ iPad กลายเป็นช่องทางสำคัญของ Apple ที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างรูปแบบธุรกิจส่งคอนเทนต์และบริการต่างๆ ที่หลากหลายถึงมือผู้บริโภคได้โดยง่าย รูปแบบธุรกิจดังกล่าวคือการสร้างตัวเองเป็น Platform?..
Platform รูปแบบธุรกิจที่ Apple เชี่ยวชาญ
ย้อนกลับไปในปี 2001 ครั้งที่? Apple ปล่อย iPod สู่ตลาด อันเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจุเพลงจำนวนมากได้ แต่สิ่งที่ปฏิวัติวงการออนไลน์ครั้งสำคัญจริงๆ และกลายเป็นกลยุทธ์ต้นแบบให้กับ Apple ในเวลาต่อมาเกิดขึ้นในปี 2003 นั่นคือการเปิดตัว iTunes Music Store ที่เปิดให้คนสามารถซื้อ, ดาวน์โหลดเพลงได้ด้วยวิธีที่แสนสะดวก และนั่นถือเป็นครั้งแรกที่ Apple นำรูปแบบธุรกิจแบบ Multi-Sited Platform เชื่อมโยงระหว่างผู้สร้างคอนเทนต์และผู้ใช้งานทั่วไปเข้าด้วยกัน สร้างรายได้แหล่งใหม่ขึ้นมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมของการเป็นคนกลาง ไม่ใช่เพียงแค่ขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เท่านั้น
ในโลกแอพพลิเคชั่นบนโมบายก็เช่นเดียวกัน จากอดีตที่มีปัญหาเรื่องการแจกจ่ายแอพฯ และการชำระเงินที่กระจัดกระจาย ในเมื่อ Apple มี? iPhone ที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติมากมายอยู่แล้ว ในปี 2008 Apple จึงดำเนินกลยุทธ์แบบ Multi-Sited Platform อีกครั้งด้วย App Store เป็นศูนย์กลางกินรวบแก้ปัญหาช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีมาโดยตลอด Apple ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ Online Appstore ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และเมื่อ iPad อุปกรณ์ปฏิวัติวงการ Tablet มาถึง ก็จับเข้ามา plug เข้าสูระบบนี้ได้สบาย แถมยังเป็นอุปกรณ์ที่่ช่วยเพิ่มรูปแบบของคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย อาทิเช่น อินเตอร์แอคทีฟแมกกาซีน และนี่อาจเป็นอีกครั้งที่วงการศึกษาอาจใช้มันอย่างเต็มที่ จากเดิมซึ่งถูกมองเป็นของฟุ่มเฟือย (ปัจจุบันเครื่อง? iPad? กว่า 1.5ล้านเครื่องได้ถูกใช้ในวงการศึกษา)
การชู iTune U ซึ่งเดิมเป็นบริการ Podcast ภายใต้ iTune Store ขึ้นมา ให้? ณ บัดนี้คือ Platform อีกตัวของ Apple สำหรับการศึกษาครบวงจร ด้วย iTune U มันเสมือนเป็นห้องเรียนจำลองนอกสถานที่สามารถเข้าไปศึกษาหาข้อมูลจากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น Stanford, Yale, Oxford และ UC Berkeley เป็นต้น มีรูปแบบคอนเทนต์ที่หลากหลายทั้งตำราเรียน (เชื่อมโยงกับ iBookStore) , ไฟล์เสียง และวีดีโอ คุณครูสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างบทเรียน, ให้โจทย์การบ้าน และเมื่อมี assignment ใหม่ก็ส่งไปบอกนักเรียนด้วยอีกต่างหาก เป็นการเชื่อมโยงนักเรียน, คุณครู และผู้ผลิตคอนเทนต์เข้าไว้ด้วยกัน โดยวางแผนหารายได้จากการกินส่วนแบ่งผู้ทำคอนเทนต์อย่าง ผู้ผลิตตำราเรียนนั่นเอง
เสริมทัพระบบนิเวศ (ecosystem) ให้แข็งแรง
- การเปิดตัว iBooks 2 – ที่มาพร้อมตำราเรียนแบบอินเตอร์แอคทีฟ ไม่ทื่อๆ ด้านๆ? มีมัลติมีเดียคอนเทนต์ ทั้งเสียง วีดีโอ และภาพ 3 มิติที่สามารถสัมผัส และหมุนเพื่อดูรายละเอียดโดยรอบได้ (มีประโยชน์มากโดยเฉพาะวิชาที่ตอนเรียนมองภาพไม่ค่อยออกอย่าง พันธะเคมี หรือ วิชาชีววิทยา โครงสร้างต่างๆ ใน?ร่างกาย เป็นต้น) ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ใหม่ และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับนักเรียน นักศึกษาได้เป็นอย่างดี
- มาพร้อมพันธมิตร – แน่นอนว่าการเปิดตัวเป็น Platform หรือความสามารถหรูหราอะไรก็ตามแต่ แต่ถ้าขาดคอนเทนต์ก็แทบไม่มีความหมาย สิ่งเหล่านี้ Apple ย่อมรู้ดี นับตั้งแต่การเปิดตัว iTunes Music Store ที่ Apple ไปเชื้อเชิญค่ายเพลงต่างๆ มาร่วมด้วย สำหรับธุรกิจตำราเรียนก็เช่นกัน ได้ดึงผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Pearson, McGraw-Hill และ Houghton Mifflin Harcourt เข้ามาใน iBookstore ด้วย สำหรับระดับมัธยมแล้วราคาตกอยู่ที่ประมาณ 14.99 เหรียฐสหรัฐฯ หรือต่ำกว่านั้น และเปิดให้สถาบันศึกษาซื้อในรูปแบบของ Volume Purchase ได้ ข้อดีอีกอย่างที่เห็นได้ชัดของตำราเรียนในรูปแบบดิจิตอลกล่าวคือมี edition ใหม่ๆ ก็อัพเดตให้ได้เลย และหนังสือก็เป็นของใครของมันไม่ต้องยืมกันไปมามา หรือต้องมาคอยคืนห้องสมุด 😛
- เครื่องมือสำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ (ใครๆ ก็มีหนังสือตัวเองได้) – นึกภาพถึง iMovie และ Garageband ที่ทำให้ใครๆ ก็สามารถสร้างเสียงเพลงและหนังได้ iBooks Author ก็เช่นเดียวกันที่ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์สามารถสร้างตำราเรียนเองได้
Amazon ผู้ครองตลาดธุรกิจหนังสือ
เกมนี้ท้าทายและเข้าชนผู้อยู่ในธุรกิจหนังสือเดิมอย่าง Amazon โดยตรง หลังจากเจอศึกหนักครั้งนี้คงต้องดูว่า Amazon จะกลับมานำเสนออะไรเพิ่มเติมอีก ปัจจุบัน Amazon มี Kindle Direct Publishing (KDP) ที่เปิดให้ผู้ผลิตคอนเทนต์สามารถที่จะส่งหนังสือขึ้นไปขายยัง Kindle Store ได้ ข้อดีของ Store นี้คือการขายให้แก่ผู้ใช้ทั้ง Kindle, iOS, PC, Mac, Android และ Blackberry ซึ่งขยายไปในวงกว้างมากกว่า แต่ถ้าจะแข่งเชิงมัลติมีเดียคอนเทนต์ กับ Apple แล้วนั่นไม่ใช่จุดแข็งของ Amazon แน่นอน (และ Amazon ก็คงไม่ทำด้วย) นอกจากนี้ Amazon ยังมีรูปแบบธุรกิจเปิดให้เช่าตำราเรียนในชื่อว่า?Kindle e-Textbooks?ความที่เป็นคลังหนังสือคุณภาพขนาดใหญ่ และสไตร์ของ Amazon คือโฟกัสที่ภาค Commerce เป็นหลักและทำให้ดีไปเลยเป็นอย่างๆ เกมนี้ไม่จบง่ายๆ รับรองสนุกค่ะ 😀
Apple ผู้ปฎิวัติวงการศึกษา?
สำหรับ Apple แล้วเราต้องยกนิ้วให้กับการปฎิวัติวงการต่างๆ ที่ผ่านมาทั้งหมด?เพราะแก้ปัญหาได้ตรงจุดทั้งธุรกิจเพลง ตลาดสมาร์ทโฟน เป็นต้น แต่สำหรับวงการศึกษาหลายคนยังคงเกิดคำถามขึ้นในใจ ว่าการเดินเกมตามสูตรสำเร็จที่ผ่านมาจะตอบโจทย์กับธุรกิจนี้ด้วยหรือไม่ นักเขียนบางรายวิจารณ์ว่าปัญหาที่แท้จริงของวงการศึกษานั้นไม่ใช่การขาดซึ่งคอนเทนต์และต้องหาเครื่องมือมารวบรวมให้ ?แต่ปัญหาที่แท้จริง คือความสามารถที่ช่วยค้นหาคอนเทนต์ที่มีคุณภาพมากกว่า และสิ่งที่ Apple ทำขึ้นมาคราวนี้ยังเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่เพิ่มมาเพื่อสร้างและแบ่งปันคอนเทนต์ การหวังพึ่งพลังมวลชนในการช่วยค้นหาคอนเทนต์ดีๆ อาจใช้ได้กับกลุ่มของ เพลง และรูปแบบความบันเทิงอื่นๆ แต่สำหรับคอนเทนต์ที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางในการช่วยกลั่นกรองอย่างวงการการศึกษา รูปแบบของพลังมวลชนอาจใช้ไม่ได้เสมอไป
อีกประเด็นหนึ่งคือ แม้ iBook Author นั้นมีความโดดเด่นในตัวเพราะมี workflow การใช้งานที่ง่าย และสร้างคอนเทนต์ที่หวือหวาตื่นตาตื่นใจได้ตามแบบฉบับของ Apple (ซึ่งหลายๆ คนก็ชื่นชอบจริงๆ) แต่นี่เป็นการขายคอนเทนต์ผ่านทาง Apple iBookstore ที่เจาะเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ iOS เท่านั้น (อัพเดต 05/02/12 หมายถึงไฟล์ .ibook) และอาจเป็นเพียงบริการหนึ่งของ Apple ที่หวังเพิ่มมูลค่าให้กับอุปกรณ์ของตนและเจาะตลาดเพื่อขายอุปกรณ์ให้ได้มากขึ้นมากกว่าเดิม (iPad อุปกรณ์ในใจวัยรุ่นอยู่แล้ว :D) ซึ่งยังต่างกับจุดยืนของ Amazon คือธุรกิจการซื้อขายหนังสืออย่างจริงจังและต้องการเพิ่มปริมาณของสมาชิกไม่ว่าจะอยู่แพลตฟอร์มไหนก็ตาม
ครั้งนี้ Apple จะเป็นผู้ปฎิวัติวงการศึกษาได้จริงหรือไม่นั้น เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์อีกครั้ง คำปรามาสของนักวิเคราะห์หลายครั้งก็ผิดพลาดได้ อาทิเช่น คราว iPad ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จากเดิมที่มีคนติว่าคอนเทนต์แบบมัลติมีเดียก็แค่หวือหวา อย่างมากก็แค่สร้างกระแส แต่นานเข้าจะเบื่อไปเอง แต่สุดท้ายแล้วคอนเทนต์หลายอย่างบน iPad กลับทำให้คนติดได้ อาทิเช่น ถ้าต้องเสียเงินกับดิจิตอลแมกกาซีนที่ถูกกว่าฉบับจริง แถมมีคอนเทนต์ที่ดีกว่า (มอบประสบการณ์และคุณค่าที่เหนือระดับกว่า) หลายคนย่อมมีคำตอบอยู่ในใจ และเป็นคำตอบเดียวกันว่าการปฏิวัติวงการศึกษาโดย Apple นั้นอาจเป็นไปได้
ผลกระทบที่มีต่อบ้านเรา
แต่สำหรับผลกระทบของบริการนี้ที่มีต่อบ้านเราคงยังถือว่าน้อยมากๆ ถ้าในแง่การนำเทคโนโลยีมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพ ก่อนอื่นบ้านเราต้องเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตให้ได้มากกว่านี้เสียก่อนที่จะไปคิดถึงเรื่องบริการต่างๆ ที่จะตามมา แต่ถ้าพูดแบบนี้ก็ดูจะโหดร้ายเกินไป เพราะจริงๆ สถาบันการศึกษาชั้นนำในหัวเมืองต่างๆ ของไทยหลายแห่งก็มีความพร้อมพอสมควร นี่จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้เข้าถึงคอนเทนต์ชั้นนำจากต่างประเทศที่หาที่ไหนไม่ได้ง่ายๆ อีกทั้งสถาบันการศึกษา, ศูนย์วิจัย และสมาคมต่างๆ ?น่าจะนำเครื่องมือนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิตสื่อเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่วงกว้างของสังคมไทยด้วยเช่นกันค่ะ ไม่แน่เราอาจจะได้เห็นโครงการดีๆ จาก Software Park,? สวทช หรือ Nectec เร็วๆ นี้ก็เป็นได้
อัพเดต : 5/02/12 ?สำหรับผู้ใช้?iBooks Author นั้น ทาง Apple อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถขายไฟล์ epub และ pdf ผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Apple ไ้ด้นะคะ