Site icon Thumbsup

แอปพลิเคชันจากธนาคาร VS บริการจ่ายเงินจาก Social Media ศึกครั้งนี้ใครคือตัวจริง

หากยังจำกันได้กับคำกล่าวของผู้ชายคนนี้ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เคยกล่าวไว้ว่า คู่แข่งของธนาคารในอนาคตไม่ใช่ธนาคารด้วยกันเองอีกต่อไปแล้ว แต่อาจหมายถึง “บริษัทเทคโนโลยี?” ที่จะก้าวขึ้นมาแข่งด้วยแทน แถมยังมาแข่งในเรื่องของ “บริการรับชำระเงิน” ที่เคยเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของ “ธนาคาร” และได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคมาโดยตลอดเสียด้วย

ดังนั้น ในช่วงต้นสัปดาห์ที่สองยักษ์ใหญ่อย่างธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว SCB Easy 3.0 ก่อนจะตามมาด้วยธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่ส่งแอปพลิเคชัน KMA มาให้ได้ยลโฉมกันพร้อมแถลงเกี่ยวกับ “Krungsri Digitalization and Innovation Roadmap” จึงนำไปสู่สถานการณ์ที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งเราขอพาไปชมกันอีกทีว่าแต่ละแอปพลิเคชันนั้นมีคุณสมบัติเด่นอย่างไรบ้าง

SCB Easy 3.0 สู่ Lifestyle Banking

โดยรวม SCB Easy 3.0 ชูความเป็นไลฟ์สไตล์แบงก์กิ้งที่ต้องการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคปัจจุบันที่มีพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟน จึงได้ยกระดับด้วยการลงทุนสร้างแพลตฟอร์มให้เข้มแข็งกว่า 4,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อ API กับพาร์ทเนอร์อื่น ๆ ในอนาคต

คุณสมบัติหลักที่ได้รับการพูดถึงก็คือ

KMA (Krungsri Mobile Application)

ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มาในคอนเซ็ปต์ “เรื่องเงินเรื่องง่าย” ด้วยการปรับโฉม Krungsri Mobile Application (KMA) แพลตฟอร์มโมบายแบงก์กิ้งที่ใช้งานง่ายขึ้น เร็วขึ้น และครบทุกผลิตภัณฑ์ พร้อมรองรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน อาทิ AI, Robo Advisor, Digital Lending และ Mobile Payment ที่จะทยอยนำเสนอภายในสิ้นปี 2560 นี้

โดยคุณสมบัติเด่นของ KMA ได้แก่

เรียกว่าเป็นการเปิดตัวที่กินกันไม่ลง และต่างฝ่ายต่างก็มีจุดแข็งของตัวเอง รวมถึงมีเสน่ห์ในความเป็นตัวเองกันทั้งคู่

อย่างไรก็ดี คู่แข่งตัวจริงอาจนั่งเงียบ ๆ และกำลังทยอยเก็บลูกค้าไปเรื่อย ๆ อยู่ก็ได้ ซึ่งคู่แข่งที่ว่านี้ก็คือ Facebook Messenger แพลตฟอร์มส่งข้อความที่คนไทยคุ้นเคยนั่นเอง

เพราะท่ามกลางความร้อนแรงของธุรกิจสถาบันการเงินที่เปิดตัวแอปพลิเคชันเวอร์ใหม่กันให้มากมายนั้น เจ้าพ่อ Social Media อย่าง Facebook เองออกมาประกาศว่า จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมของการชำระเงินค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต – เดบิตผ่านทาง “Facebook Messenger” ของเพจร้านค้าบนระบบนานถึง 3 เดือนเต็ม ๆ (ตั้งแต่ 15 สิงหาคม – 15 พฤศจิกายน)

ซึ่งก็ถือว่าใช้จุดแข็งอย่างได้ผล เพราะในวันที่ร้านค้ามาอยู่บนแพลตฟอร์ม Social Media กันมากขึ้นนี้ การมีบริการชำระเงินอยู่บนแพลตฟอร์มเลยก็ช่วยอำนวยความสะดวกได้ไม่น้อย ไม่ต้องออกไปอยู่บนแพลตฟอร์มอื่นเพื่อหาช่องทางการชำระเงิน แถมพอลดค่าธรรมเนียม ยิ่งดูดีเข้าไปใหญ่เลย

ที่สำคัญ ระบบของ Facebook Messenger เองก็ส่งใบแจ้งหนี้ได้เช่นกัน

ส่วนใครที่อาจพลาดไปไม่ทราบว่าสามารถจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตและเดบิตบน Messenger ได้แล้ว ก็ลองเข้ามาทำตามขั้นตอนนี้ได้เลยค่ะ โดยในการเริ่มต้นใช้งาน คุณควรสร้างส่วนร้านค้าเอาไว้เรียบร้อยก่อนแล้ว ให้เข้ามาเลือก “ส่งข้อความเพื่อสั่งซื้อ” เป็นวิธีการชำระเงิน และเลือกสกุลเงินเป็น “บาท” จากนั้นไปที่ “การตั้งค่า” จากหน้าเพจ และคลิก “การชำระเงิน”

หมายเหตุ :สามารถตั้งค่าการรับชำระเงินได้จากคอมพิวเตอร์เท่านั้น  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://fb.me/commercepayment

เรื่องการอำนวยความสะดวกให้จ่ายเงินบนแพลตฟอร์มได้เลยน่าจะเป็นจุดแข็งที่ดีของ Facebook แต่จุดอ่อนของ Facebook เองมีเหมือนกัน นั่นคือการไม่ใช่สถาบันการเงิน  ซึ่งต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา คนไทยหลายคนยังคงเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอยู่มาก ศึกครั้งนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต่างฝ่ายต่างก็มีจุดอ่อนจุดแข็งกันในตัวเอง ส่วนใครจะเป็นตัวจริงนั้น คงต้องรอดูกันยาว ๆ ค่ะ