คุณเมธวิน และคุณภีศเดช เป็นผู้ก่อตั้ง BASE Workplace สถาบันพัฒนาทักษะการทำงาน และ BASE Playhouse สถาบันสอนทักษะการทำงานสำหรับเด็กยุคใหม่ ในรูปแบบของ Gamification พวกเขาออกแบบการเรียนการสอนด้วย ‘เกม’ ที่ช่วยพัฒนา Soft Skills ที่บอกว่าจะเป็นทักษะให้เราโดดเด่นในแวดวงการทำงานอย่างขาดไม่ได้ ลองไปดูกันว่าสถาบันที่พวกเขาสร้างขึ้นแตกต่างจากธุรกิจกวดวิชาทั่วไปในปัจจุบันอย่างไรบ้าง
ทำไมถึงมองว่า ‘การเรียนด้วยเกม’ ดีกว่า ‘เลคเชอร์ธรรมดา’ ?
เมธวิน&ภีศเดช:
เพราะเรามองว่า สุดท้ายแล้ว ‘ความสนุก’ มันต้องมาก่อนเสมอ มันถึงทำให้คนมาอยู่กับเราได้ทั้งวัน โดยเฉพาะคนที่เป็นวัยเด็ก แน่นอนว่าสมาธิของเขาไม่ได้เยอะขนาดนั้น เพราะงั้นเราก็ต้องใช้กลไกบางอย่างที่ทำให้เขาสนุกกับการเรียนรู้ไปด้วย เราเลยมองว่ามันเป็น Highlight หลักที่ต้องทำให้มันเกิดก่อน แล้วเราค่อยใส่การสอนเข้าไป ซึ่งมันท้าทายคือต้องออกแบบเกมที่ใช้ ให้มัน ‘ขับทักษะนั้น‘ ออกมา
อย่างตัวคอร์ส Leadership ก็ต้องอธิบายก่อนว่า Concept of Leadership คือการทำงานร่วมกันหลายๆ คน เพราะฉะนั้นลักษณะเกมที่ใช้จะต้องเป็นเกมที่ร่วมกันทำภารกิจร่วมกันหลายคน ฉะนั้นเกมที่ใช้เราเรียกว่า Class Game เป็นเกมที่เล่นทั้งคลาส 30 คน พร้อมกันในเกมเดียวกัน แล้วแข่งกัน ก็จะเป็นคลาสเกมที่แบ่งเป็นทีมและจะมีภารกิจโผล่ขึ้นมา บางเกมก็เริ่มตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงยาวไปถึง 3-4 ชั่วโมง คือบางทีเด็กก็ไม่ยอมจบ เพราะมันสนุก
เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง
สิ่งที่ BASE ทำอยู่ปัจจุบันนี้มีอะไรบ้าง ?
เมธวิน&ภีศเดช:
- คอร์ส Public
เปิดเป็นค่าย มีทั้งระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย มหาวิทยาลัย และระดับคนทำงานด้วย แต่เนื้อหาจะเป็น Skill บนคอนเซปต์ของ BASE Playhouse มันเป็นทักษะ Skill House Concept คือ ทักษะที่ต้องฝึกฝน เราจะจับแค่เฉพาะ Soft Skills คือตั้งแต่ ม.ต้น จนถึงวัยทำงานเนื้อหาก็จะเป็น Soft Skills ทั้งหมด แต่ว่าความลึกจะต่างกัน และกระบวนการที่ใช้ก็ออกแบบก็ต่างกัน
- คอร์ส Corporate
บริษัทก็จะติดต่อเราเรื่อง Soft Skills แล้วเขาก็บอกโจทย์เรา แล้วเราจะ Customize Learning Design ให้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน เพราะเราเชื่ออย่างหนึ่งว่าแต่ละองค์กรมีความเป็นอยู่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ถึงแม้จะเป็น Skill เดียวกัน แต่คอนเทนต์ก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น Corporate ก็จะเข้ามา เราก็จะ Customized ตามโจทย์ให้เขา หรือเขามีงบเท่าไหร่ มีโจทย์อะไร เราก็จะออกแบบให้
แม้กระทั่ง ‘การออกเดท’ ก็นำมาออกแบบคอร์สได้ ?
เมธวิน&ภีศเดช:
ไม่ว่าจะเป็น ‘ความเก่ง‘ อะไรก็ตามอย่างจีบเก่ง เรียนเก่ง หรือคิดเก่ง พูดเก่ง ทุกความเก่งมันมีส่วนที่เป็น Skill เพราะว่าหากจะแบ่งองค์ประกอบของการจีบเก่ง ก็จะประกอบด้วย วิธีการสื่อสาร วิธีการโน้มน้าวใจ มันคือการขาย แต่ไม่ใช่ขายของเราขายตัวเองแค่นั้นเอง
หรือมุมมองของการเข้าใจคน จิตวิทยาก็เป็น Skill เหมือนกัน จิตวิทยาในการอ่านคน ทำความเข้าใจได้ไหมว่าคนที่เราจะจีบ เขาชอบอะไร เราเข้าใจเขามากน้อยแค่ไหน แล้วเราสามารถปรับมาเป็นวิธีการขายตัวเราเอง ให้มันสอดคล้องกันกับการที่เราจะจีบเขาได้ไหม มันก็คือทักษะอย่างหนึ่ง ก็กลับมาที่ Soft Skills เดิม แต่ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นการจีบแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นถ้าเรามองให้ทุกอย่างเป็นแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเก่งเรื่องอะไรเราก็สามารถถอดองค์ประกอบได้หมด
เราเชื่อว่ามี Skill อีกมากมายบนโลกใบนี้ ที่ห้องเรียนไม่ได้สอน
ทำไมต้องให้ความสำคัญกับ Soft Skill ขนาดนั้น ?
เมธวิน&ภีศเดช: เราเชื่อว่ามี Skill อีกมากมายบนโลกใบนี้ ที่ห้องเรียนไม่ได้สอน และคนส่วนใหญ่แล้วไป(หรือไม่) รู้จักมัน หรือจะรู้จักในองค์กร ซึ่งถ้าใครที่โอกาสดีหน่อยเข้าไปในที่มีระบบ Training ที่ดี เขาก็จะได้เจอ Skill เหล่านั้นในการฝึกฝน แต่ถ้าเขาไม่ได้โชคดีถึงขนาดนั้นจะไม่ได้เจอ Skill พวกนี้เลย แล้วเขาจะต้องไปดั้นด้นเองตอนที่เขาออกไปในตลาดแรงงาน เราก็เลยรู้สึกว่า Skill พวกนี้ มันฝึกได้ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 6 เลยด้วยซ้ำ
และเราโฟกัสที่ Soft Skills เพราะ Hard Skills มันเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ แต่หลักของ Skill ที่เป็น Essential Skills เช่น Critical thinking Creativity Community Corporation มันคือ สิ่งที่ได้ใช้ในทุกบริบทของการทำงาน
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปด้วยบริบทไหนก็ตาม สุดท้ายแล้ว Skill เหล่านี้ยังคงต้องอยู่ แล้วใครที่หยิบใช้สิ่งเหล่านี้ได้ดี หรือมี Skill เหล่านี้ เขาก็จะ Outstanding มากกว่า
Skill ไหนบ้างที่คนทำงานในปัจจุบันควรจะมี ?
เมธวิน&ภีศเดช: มองว่าเป็น 5 Skills Set หลักเลย
- Critical thinking คือการคิดให้เป็นระบบ การสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้ามาในชีวิต แล้วก็การหยิบใช้มัน เชื่อมโยงองค์ประกอบ จัดลำดับความสำคัญแล้วก็สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตามหลักตรรกะและเหตุผล
- Creativity การคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ อันนี้เป็นบ่อเกิดหลักของนวัตกรรม สองอันนี้เป็น Thinking Skill Set ที่ใช้ในการคิด อีกสองตัวเป็น Doing Skill Set คือเมื่อเราคิดเสร็จแล้วก็ต้องลงมือทำร่วมกันกับคนอื่น
- Communication เราจะสื่อสารไอเดียหรือสิ่งที่เราคิดออกมาให้คนอื่นเข้าใจตรงกันกับเรายังไง ซึ่ง Communication ก็แตกเป็น การสื่อสารแบบตัวต่อตัว Individual Skill และการสื่อสารแบบพูดบนเวที
- Collaboration การทำงานร่วมกับผู้อื่น และต่อยอดไปถึง Leadership ซึ่งทำให้คุณสามารถร่วมมือกับคนอื่นได้
- Empathy หรือ Skill เห็นใจ การเห็นอกเห็นใจคนอื่น เพราะเราเห็นว่าเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่เริ่มขาด เพราะอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินไป มันทำให้ความเป็นมนุษย์ของคนเรามันลดลง
คุณพบว่าเด็กไทยยังขาดทักษะอะไร ?
เมธวิน&ภีศเดช: หลักๆ เลยคือ Communication ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นชัดมาก แล้วความน่ากลัวของมันก็คือเป็นสิ่งที่เห็นก่อน เพราะว่าเวลาเราปฏิสัมพันธ์กับคน สิ่งที่ตัดสินคนเวลาที่เขาเดินเข้ามาหาเรา เราจะดูว่าคนๆ นี้น่าคุยไหม น่าคบไหม เราดูจากจุดนี้ก่อน มันไม่แปลกเลยที่ตัวนี้จะเป็นสิ่งที่เด็กไทยขาด
เพราะว่า Communication Skill ถูกลดทอนลง ด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัล การที่เขาอยู่กับโลกส่วนตัวของเขามากขึ้น ยึดติดอยู่กับดิจิทัลมากขึ้น แปลว่ามันทำให้เขาสามารถแสดงออก หรือการแสดงออกของตัวเองผ่านช่องทางที่ไม่ต้องสื่อสารด้วยการพูด หรือการแสดงออกจริงๆ ได้ แล้ว Skill พวกนั้นจะค่อยๆ ตกลงไปซึ่งมันเห็นชัดมากเลยในเด็กไทย
การออกแบบ Gamification สำหรับองค์กรเป็นแบบไหน ?
เมธวิน&ภีศเดช:
เราออกแบบสื่อการสอนให้เขา หรือแม้กระทั่งออกแบบคอร์สให้เขา แล้วให้เขาส่งมาเรียนทีหลัง ก็เป็นอีก Model หนึ่งที่คุยกับเขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว Requirement ก็จะมาจากการทำงานเป็นหลัก เราก็จะเป็นเหมือนคนที่ช่วยออกแบบ Learning Part ให้กับเขา ไม่ว่าจะเป็นมุมแบบไหนก็ตาม เพราะบางที่เราก็เข้าไปเป็น Consult เพราะบางครั้งองค์กรเข้ามาแล้วบอกว่า อยากได้ Critical thinking เราก็จะถามว่าอยากจะแก้ปัญหาอะไรก่อน
แต่สิ่งที่เขาพูดมาไม่ใช่ Critical thinking เลย เราก็บอกว่าใจเย็นๆ ถ้าคุณมีโจทย์ประมาณนี้ ตัว Skill ที่คุณต้องมีคือแบบนี้ ไม่อย่างนั้นมันไม่ได้ผล เราก็เป็นเหมือนที่ปรึกษา แล้วออกแบบผ่านตัวเองให้เขาอีกที เราก็จะออกแบบสื่อการเรียนการสอนและวิธีการแก้ปัญหา และข้อดีอีกอย่างคือสามารถจำลองสถานการณ์จริงที่พนักงานอาจจะเจอ แม้จะไม่เหมือน 100% แต่ก็ทำให้ได้ฝึกการเตรียมพร้อมรับมือผ่านเกม
ทำไมถึงไม่เปิดคอร์สออนไลน์ ?
เมธวิน&ภีศเดช: เราโฟกัสที่ Soft Skills แบบนี้ และมองว่า ‘ทักษะต้องฝึก’ ไม่สามารถจัดการได้เพียงแค่ดูคอร์สออนไลน์อย่างเดียว ข้อดีของคอร์สออนไลน์คือ สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ สิ่งที่คอร์สออนไลน์ทำได้ดีมากๆ คือการแชร์ Knowledge ซึ่งเวลาเราออกแบบการเรียนรู้ มองว่าการเรียนรู้มันมี 3 แบบ Knowledge, Skill และ Mindset
โดย Knowledge คือสิ่งที่ง่ายที่สุดเรียนรู้ได้ทั้ง อ่านหนังสือ ฟังพอดแคสต์ เรียนคอร์สออนไลน์ แต่การที่มีความรู้ไม่ได้แปลว่าเราทำเป็น การทำเป็นต้องใช้เวลาและใช้การลงมือทำจริงในการฝึก ในอนาคตอาจจะมีคอร์สออนไลน์ แต่มันจะต้องไม่ใช่ทั้งหมดแน่นอน เพราะว่าในเมื่อถ้าเขาอยากจะฝึกจริงๆ หรือต้องการจะมี Skill จะต้องมา Take Course ที่นี่
อุปสรรคที่พบเจอระหว่างทางทำธุรกิจ ?
เมธวิน&ภีศเดช:
ความยากของมันก็คือ Scale ว่าเราจะทำยังไงให้มันสามารถจัดได้ถี่ขึ้น ทำยังไงให้มันสามารถ Scale ไปที่ต่างระดับได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องใช้คนๆ เดียวในการสอน
และมีคนที่ยังไม่รู้จะรู้สึกว่า อันนี้มันสำคัญจริงหรือเปล่า เช่น พ่อแม่เดินเข้ามาที่หน้าร้านแล้วไม่เข้าใจว่า ทำไปเพื่ออะไร อันนี้คืออะไร กว่าเราจะอธิบายได้ว่า Skill พวกนี้คืออะไร
ของเรามันคือการฝึก Soft skills ความสำคัญที่จะทำให้เขาเข้าใจว่ามันสำคัญยังไง ทำให้บางครั้ง Perception ของเรามันเป็น Produce ที่ไม่จำเป็นเท่าไหร่ แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่
สภาพแวดล้อมก็มีผลมากต่อการเรียนรู้ ?
เมธวิน&ภีศเดช:
เราเลือกสามย่านมิตรทาวน์ เพราะทำเล และสภาพแวดล้อมที่เป็นแสงธรรมชาติ เพราะจากงานวิจัยพบว่าแสงธรรมชาติจะส่งผลต่อการเรียนรู้เยอะมาก ก่อนหน้านี้เราเคยเช่าตึก หรืออาคารอื่นๆ แล้ว ซึ่งเราสังเกตว่า น้องที่มาเรียน ถ้าได้อยู่ในห้องที่มีแสงสว่าง น้องจะมีพลังงานเยอะกว่าเพื่อนๆ คนอื่น แล้วมันไม่ง่วง สามารถโฟกัสได้ดีกว่า
หรือถ้าสังเกตมันไม่ใช่แค่แสง แต่มีองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น อุณหภูมิห้อง แอร์ เสียง สีของไฟ แล้วก็อุปกรณ์ อย่างผนังที่เป็น Functional Wall ของจริง พวกนี้สามารถใช้ประกอบการ Workshop ได้หมด อย่างโต๊ะ หรือเก้าอี้ต่างๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการ บางทีเราต้องปรับบริบทห้องหรือพื้นที่ให้เหมาะสมกับการฝึกนั้นๆ เสมอ
สุดท้ายเขาบอกเราว่าการฝึก Soft Skills เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แล้วในอนาคตเทรนด์ของโลก สิ่งที่สำคัญมากคือ อย่าไปจำกัดมัน เพราะว่ามันอยู่ในทุกอย่าง แม้แต่เรื่องการจีบก็ตาม มันเกี่ยวข้องจริงๆ นะครับ มันทำให้คนๆ หนึ่ง สามารถทำอีกอย่างหนึ่งได้เก่งกว่าอีกคนหนึ่ง โดยที่เขาไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน
ไม่น่าเชื่อว่าการฝึกทักษะการเข้าสังคมนั้นกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้ อาจเพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันและเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่สามารถที่จะวางระบบชีวิตให้เหมาะสมกับการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ ซึ่งการเล่นเกมไม่ใช่เรื่องผิดแค่บาลานซ์เวลาให้เหมาะสม การติดโซเชียลไม่ใช่เรื่องไม่ดี หากรู้จักพอและหันมาสื่อสารกับคนรอบข้าง ดังนั้น อยากให้มองว่าคนข้างๆ ก็สำคัญไม่แพ้การสื่อสาร และการใช้ชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์จริงๆ ดีกว่าคุยกับหุ่นยนต์หรือคนบนโลกออนไลน์เพียงอย่างเดียว