เชื่อเหลือเกินว่าในปัจจุบันนี้ มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่มีแนวคิดที่จะออกมาประกอบกิจการของตัวเอง ยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มที่ให้ความสนใจกับด้านไอที หรือเทคโนโลยี ที่เรามักเรียกกันติดปากกันว่า “Tech Startup” ที่ thumbsup เองก็ให้การสนับสนุนกับกลุ่มคนกลุ่มนี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่หลายต่อหลายคนก็มักพบกับปัญหาว่าทำอย่างไร จึงจะเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือเติบโตแบบยั่งยืนได้…
ผู้ประกอบการหน้าใหม่จะประสบความสำเร็จได้มากเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงปัจจัยหลัก อย่างผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเท่านั้น หากแต่ “การมีพันธมิตรที่จะมาช่วยสนับสนุนทั้งองค์ความรู้ กำลังทุน และเครือข่ายทางธุรกิจ” รวมทั้ง “กลยุทธ์ด้านการพัฒนานวัตกรรม” ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน
ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวง Startup และได้แนวคิดที่น่าสนใจมาหลายแง่มุม ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงอยากมาแบ่งปันให้กับ Startup ทุกท่านได้ติดตามกัน โดยท่านแรกได้ช่วยให้ไอเดียในมุมมองของ “นักลงทุน” ที่จะเข้ามาสนับสนุนแหล่งทุน องค์ความรู้ และเครือข่ายพันธมิตรเพื่อต่อยอดความสำเร็จให้ธุรกิจ ส่วนอีกท่าน ได้ให้แนวคิดเด็ดๆ สำหรับการพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้แบบก้าวกระโดด
ในด้านการส่งเสริมแหล่งทุน คุณธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน บริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดูแลโครงการอินเว้นท์ (InVent) ซึ่งมุ่งสนับสนุนโอกาสในการเติบโตแก่ Startup ผ่านการร่วมทุนแบบเวนเจอร์ แคปปิตอล (Venture Capital) ให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่โครงการ InVent ของอินทัช ใช้ประกอบในการพิจารณาร่วมทุนเพื่อต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจว่า ปัจจัยที่โครงการ InVent ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ คือ “ความมุ่งมั่นสร้างสรรค์” ซึ่งสะท้อนชัดอยู่ในชื่อโครงการ InVent หมายถึง ภาพของธุรกิจที่มีความชัดเจน มีแนวคิดที่น่าสนใจในการพัฒนาและสร้างสรรค์บริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการสื่อสาร อีกประเด็นที่เรามองคือ “ศักยภาพ” ทั้งศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจ ศักยภาพในการแข่งขัน และความสามารถที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ
“อีกสิ่งหนึ่งที่ InVent พยายามผลักดันให้เกิดขึ้น คือ การสร้างพื้นที่และเปิดโอกาสให้ Startup ที่เป็นกลุ่มผู้พัฒนานวัตกรรมได้เข้าถึงความต้องการตลาดอย่างแท้จริง มีโอกาสพบปะกับลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ SMEs ซึ่งจะช่วยให้ได้มองเห็นความต้องการของลูกค้า อันจะนำไปสู่การคิดค้นและพัฒนาผลงานใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันทางกลุ่ม SMEs เองก็มีโอกาสได้พบกับ Startup ที่จะสามารถสานต่อความต้องการและช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์การใช้ IT เพื่อต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจให้เป็นรูปธรรม… เราหวังจะเห็น SMEs เติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่จะหนุนให้ Startup แข็งแรงขึ้นและเติบโตขึ้นไปพร้อมกันด้วย” คุณธนพงษ์กล่าวทิ้งท้ายประเด็นการสนทนา
อีกมุมมองที่น่าสนใจที่ผมนำมาฝาก เป็นแนวคิดของ Startup ที่ประสบความสำเร็จและได้รับการกล่าวขวัญถึงเสมอ ในแวดวงธุรกิจเกิดใหม่คุณวัชระ เอมวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทคอมพิวเตอร์โลจี จำกัด ซึ่งเขาให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาด้านนวัตกรรม” เป็นอย่างมาก โดยเขาเล่าว่า ที่คอมพิวเตอร์โลจี พวกเขามีการจัดตั้ง “Innovation team” และให้อิสระรวมถึงสนับสนุนการพัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะเขาเชื่อว่า “นวัตกรรม” เป็นกลยุทธ์หลักการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ทั้งพัฒนาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท รวมไปถึงการนำนวัตกรรมเหล่านั้น มาปรับใช้ในองค์กร เพื่อเพิ่มผลิตผลและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อีกด้วย
และนี่ก็คือสองผู้คลุกคลีในวงการ ซึ่งมุมมองของพวกเขา ก็น่าจะมีประโยชน์แก่เพื่อน Startup ไทยได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจจะไปติดตามแนวคิด และกลยุทธ์เพื่อเพิ่มโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดดกันแบบเจาะลึก ทั้งยังจะได้อัพเดท “IT Trend” และกลยุทธ์ด้านการใช้ IT ที่จะหนุนให้ Startup เติบโตอย่างแข็งแกร่ง พบกูรูดังที่มาเปิดกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความสำเร็จ และเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อต่อยอดดการเติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งในรูปแบบ Venture Capital และการก้าวสู่ความสำเร็จอีกขั้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ไปพบกันได้ในงานสัมมนา “Beyond SMEs Part II: Power of IT เพิ่มโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด” วันที่ 25 พฤศจิกายน นี้ เวลา 13.30-16.30 น. ที่หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ครับ งานนี้ทั้งตลาดหลักทรัพย์ mai และบริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมดีๆ นี้ การันตีความเข้มข้นและครบเครื่อง ทั้งกลยุทธ์เด็ดๆ และโอกาสต่อยอดทุน
โดยทั้งสองท่านที่มาให้มุมมองที่ดีวันนี้ก็จะไปอยู่บนเวทีเสวนานี้ด้วยเช่นกัน
หากใครสนใจ ก็สามารถเข้าไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานได้ >> ที่นี่ <<
แอบกระซิบกันมาว่า งานนี้รับเพียง 300 ที่นั่งเท่านั้นนะครับ…
บทความนี้เป็น advertorial