Site icon Thumbsup

เมื่อธุรกิจบัตรสะสมแต้มถึงจุดร้อนแรง พบกับบทสัมภาษณ์ BOXBOX.me กับการสร้างจุดต่าง

ในยุคที่ธุรกิจจะสนใจเพียงแค่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่เพียงพอเสียแล้ว การที่จะสร้างความแตกต่างได้หนึ่งในนั้นคือต้องมุ่งไปที่ตัวผู้บริโภคด้วย เราจึงเห็นธุรกิจต่างๆ หันมาสนใจกลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (CRM) และเครื่องมือที่มักนำมาใช้กันก็คือบรรดา Loyalty program ทั้งหลาย

และช่วงนี้ถ้าใครสังเกตให้ดี เราจะได้เห็นบริการ ในลักษณะของบัตรสะสมแต้มร้านค้าต่างๆ ผุดขึ้นมามากมาย ?และหนึ่งในนั้นคือทีมงาน BOXBOX.me?วันนี้กองบก. ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 3 ท่าน
ดร. วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ Techie Co-Founder & Managing Director
เบย์ ? วิณณ์ ผาณิตวงศ์ Strategy Co-Founder
เมย์ ? ธัญสุดา ลิ้มศิริโพธิ์ทอง Marketing Co-Founder
ลองไปดูกันว่า BOXBOX.me จะสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่งได้อย่างไร

thumbsup: ?ทีมงานผู้ก่อตั้งทั้ง 3 ท่านมาเริ่มต้นโครงการนี้ด้วยกันได้อย่างไร
เบย์:เริ่มจากเบย์กับเมย์มีปัญหาส่วนตัวเพราะไม่เคยได้ใช้บัตรสะสมแต้มของร้านอาหารใดครบเลย เคยเปิดลิ้นชักมาเจอบัตรสะสมแต้มของร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง 4 ใบและสะสมไม่ครบเลยซักใบ เพราะไม่อยากพกให้กระเป๋ามันบวม ก็เลยคิดว่าถ้ามีบัตรสะสมแต้มในรูปแบบออนไลน์ก็คงจะดี ประกอบกับได้รู้จักกับพี่ดิ๊งที่กำลังมองหาทางขยายฟีเจอร์ของ eventpro.in.th?อยู่ คุยกันไปคุยกันมาถูกคอ เลย spin ออกมาเป็นโปรเจคใหม่ที่โฟกัสเฉพาะเรื่อง Loyalty Program ครับ เรามองว่าสิ่งนี้จะช่วยแก้ปัญหาทั้งกับผู้บริโภค และช่วยร้านค้า SME?ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ครับ

thumbsup: ช่วยเล่ารายละเอียดของบริการ BOXBOX.me คร่าวๆ กลุ่มเป้าหมาย
เบย์: BOXBOX.me คือ บัตรออนไลน์ ครับ เราพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองกับคอนเซ็ปต์เรื่อง Loyalty program ต้องบอกว่ากลุ่มเป้าหมายเราถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ เพราะเราเป็น 2-sided platform ได้แก่
1. consumer (user): คือผู้ใช้ทั่วไปครับ
ขอแค่มีเบอร์โทรศัพท์ของตัวเองก็สามารถใช้บริการเราจากร้านค้าที่ให้บริการได้?และถ้าหากมี smartphone ด้วย ไม่ว่าจะเป็น iPhone 4, iPhone 5 หรือ?Android ทั้งหลาย ก็จะยิ่งสนุกกับการสะสมแต้ม พร้อมแบดจ์ต่างๆ แบบไม่ต้องพกบัตรให้หนักกระเป๋าครับ
2. merchant: คือร้านค้าที่ BOXBOX.me
เข้าไปอำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลลูกค้า ซึ่งเรามีความตั้งใจจะเป็นเครื่องมือให้กับ SME ไทยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ทำให้ธุรกิจเล็กๆ สามารถเติบโต และอยู่รอดได้ จากการรู้จักลูกค้าของตัวเอง ดังนั้นช่วงนี้ทีมงานกำลังคุยและพยายามเก็บข้อมูลเพื่อช่วยเหลือร้านค้าต่างๆ ว่าแต่ละที่ต้องการอะไร แล้วเราสามารถทำอะไรตอบสนองเพิ่มให้ได้บ้าง

thumbsup: รูปแบบการหารายได้หลักเป็นอย่างไร และตั้งแต่เปิดมาใช้โมเดลนี้แล้ว work ไหม คิดว่าควรปรับอะไรเพิ่มอีกหรือไม่
ดิ๊ง: โมเดลธุรกิจหลักของ BOXBOX.me คือ Subscription-based ครับ?เราเก็บค่าบริการสมาชิกเป็นรายเดือน โดยเริ่มจากฟรีก่อนเลย ถ้าจำนวนลูกค้ายังน้อยอยู่?จากนั้นหากลูกค้าของคุณลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ค่อยมาจ่ายเงินเราครับ?ไม่ได้คิดแพงอะไร แต่กำลังคิดว่าเก็บเป็นรายปีน่าจะดีกว่าครับ เพราะการเป็น startup กำลังคน เรามีไม่เยอะ ถ้าสามารถลดภาระของน้องๆ ในทีมได้ ก็คงจะดีขึ้นครับ

thumbsup: แผนการตลาด การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รับรู้ในปัจจุบันทำอย่างไรบ้าง
เมย์: ช่วงแรกเพราะต้องการขยายการรับรู้ถึงแบรนด์เราจึงเน้นหนักที่ facebook?เป็นหลักค่ะ ซึ่งตอนนี้?www.facebook.com/iamboxbox?มีแฟนกว่า 45,000?คนแล้ว ก็มีทั้งที่เป็นผู้ใช้ทั่วไปและร้านค้าค่ะ
ดิ๊ง: ตอนนี้ถึงเวลาทำงานด้วยแบบคลุกวงในครับ เราจะเดินหาลูกค้ามากขึ้น?จะเริ่มออกงานต่างๆ เริ่มการประชาสัมพันธ์ทั้งสื่อออนไลน์และออฟไลน์ประสานกัน?ดังนั้นถ้าใครเจอ เจ้าหมูกรอบ (mascot ของ BOXBOX.me)?อย่าลืมถ่ายรูปมาแชร์กันด้วยนะครับ

thumbsup: กลยุทธ์อะไรที่ถือเป็นจุดต่างที่ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งด้าน?Loyalty program และถือเป็น barrier to entry
เบย์: BOXBOX.me คือ Design ครับ เราระดมความคิดสร้างสรรค์ของทุกคนในทีมเข้าด้วยกัน ทุกอย่างถูกออกแบบทีละนิดทีละหน่อย customize เพื่อให้เข้ากับคนไทยและสังคมไทย โดยเน้นที่ความง่ายของการใช้งาน พยายามให้ทุกฟังก์ชั่นตอบโจทย์ SME บ้านเราเป็นหลัก?อย่างการใช้เบอร์มือถือในการระบุตัวตน ก็คิดดีแล้วว่า ทุกคนในประเทศไทยยังไม่ได้มีสมาร์ทโฟน การใช้แอพฯ อย่างเดียวจะทำให้ร้านค้าไม่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้ครบทุกคน ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อของลูกค้าได้เที่ยงตรง
สาเหตุที่เราใช้สีเหลือง เพราะเราเปิดแอพฯ มาดูแล้วพบว่ามีแต่คนใช้สีฟ้า สีเขียว ไม่ต่าง ไม่เด่น แต่สำหรับเราไอคอนเราโดดเด่นขึ้นมาทันทีครับ ลองเข้า AppStore หรือ Play store แล้ว search คำว่า “boxbox.me” ดูนะครับ
สุดท้ายเราหวังว่า?BOXBOX.me และเจ้าหมูกรอบจะ เป็นที่รักของทุกคนที่พบเห็นครับ?และจะไม่ทำให้ผู้ที่รักเราด้วยผิดหวัง

thumbsup: ในแง่โครงสร้างองค์การแบ่งทีมงานออกเป็นส่วนงานใดบ้าง
เบย์: หลักๆ เราแบ่งการทำงานออกเป็นสองด้าน คือ ด้านการตลาดและด้านเทคนิค?โดยทางเทคนิคเริ่มตั้งแต่การสร้างระบบ ทำเว็บไซต์ ทำแอพฯ และคอยมอนิเตอร์ส่วนประกอบต่างๆ ให้ทำงานถูกต้องอยู่เสมอ ส่วนทางด้านการตลาดเป็นงานด้านการบริหารดูแลลูกค้า ตั้งแต่วางแผนการประชาสัมพันธ์ การเข้าพบพูดคุยลูกค้า และการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าทั้งหมด ซึ่งเรากำลังขยายทีมขึ้นเรื่อยๆ ถ้าหากใครสนใจอยากจะร่วมเดินทางไปด้วยกัน?ก็สามารถส่ง resume มาได้เลยที่?job@boxbox.me?ครับ

thumsup: ตั้งแต่ทําธุรกิจนี้มาอะไรเป็นอุปสรรคและปัญหาสําคัญที่สุด และทีมงานแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร
เบย์: สิ่งที่ยากที่สุดคือการชักชวน merchant ให้มาใช้บริการเราครับ เพราะสิ่งที่เรากำลังขายอยู่เป็นสิ่งที่แม้แต่ลูกค้าเองก็ไม่รู้ว่าเค้าต้องการใช้ ดังนั้นเราจึงต้องพยายามชี้ให้เค้าเห็นถึงประโยชน์ที่เค้าจะได้รับในระยะยาว แน่นอนว่า merchant ต้องทำงานเพิ่มขึ้นในแง่การขอข้อมูลลูกค้า แต่งานที่เพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลให้ธุรกิจเค้าดีขึ้นในระยะยาวแน่นอนครับ เพราะเค้ารู้แล้วว่าลูกค้าจริงๆของเค้าคือคนกลุ่มใด BOXBOX.me สามารถบอกได้เลยว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของเค้าคือใคร เช่น ผู้ชาย อายุ 20 – 35?ปี แค่บอกครั้งเดียวบางที บางคนไม่เชื่อ ก็ต้องคอยบอกหลายครั้ง พยายามมั่นเข้าหาลูกค้าให้มากๆ ดังนั้นสำหรับร้านค้าที่สนใจ ต้องลองนะครับ สมัครฟรีได้เลยที่ www.boxbox.me/merchant

thumbsup: อะไรที่คิดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดได้จริง
ดิ๊ง: เราเชื่อในหลักการของ Long tail ครับ ยังมี SME อีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้มีทุนทรัพย์ในการซื้ออุปกรณ์ราคาแพง การใช้ BOXBOX.me สำหรับร้านค้าก็ขอเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น?ไม่ได้ยุ่งยากอะไร สามารถเรียนรู้ได้เอง ดังนั้นเมื่อระบบเรามีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น?เราจะเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นเพื่อให้คนรับรู้มากขึ้นครับ
เบย์: ผมมองว่า BOXBOX.me ก็คล้ายๆ eBay ถ้ามี merchant เยอะ user เยอะ?คนก็ไม่อยากใช้เจ้าอื่น เพราะเจ้าเดียวก็เพียงพอแล้ว เราจึงเน้นการสร้าง?Ecosystem ของเราให้แข็งแรงที่สุดครับ

thumbsup: มองทิศทางของธุรกิจนี้ในไทยระยะยาวไว้อย่างไร จะเหลือผู้เล่นหลักๆ จริงๆ ไม่กี่รายหรือไม่ (อย่างเช่น Deal)
เบย์: ตลาดของเราจะต่างกับดีลอย่างมากเพราะเราเหมือนเป็นเครื่องมือช่วยให้ร้านค้าสามารถรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ในระยะยาวมากกว่า ในขณะที่ deal เน้นแค่หาคนเข้าร้านทีเดียวแล้วจบไป จุดเด่นของเราจะช่วยให้การใช้เงินลงทุนด้านการตลาดของร้านค้าคุ้มค่ายิ่งขึ้น?เราช่วยให้ร้านค้าเก็บข้อมูลลูกค้าเหล่านั้นไว้และทำการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เค้ากลับมาใช้บริการอีก?ส่วนเรื่องจำนวนผู้เล่นหลักในระยะยาวเรามองว่าจะเหลือผู้เล่นหลักๆไม่กี่ราย และที่น่ากลัวซึ่งกำลังจะเข้ามาคือ Passbook ของ Apple แต่ก็คงจะเป็นตลาดคนละ segment กับ BOXBOX.me ครับ

thumbsup: ช่วยแชร์เรื่องของเงินลงทุน
เบย์: ?เราได้ทุนสนับสนุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ในโครงการซอฟต์แวร์ดีมีนวัตกรรม และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA?ในโครงการ 84 โครงการ 84 พรรษา มหาราชันย์ ครับ?ถือเป็นจังหวะที่ดีที่มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนในช่วงที่เราพัฒนาโปรแกรม?นอกเหนือจากนี้ก็เป็นเงิน bootstrap จาก Co-founder ทั้ง 3 ครับ ซึ่งถ้าหากมี VC ท่านไหนสนใจอยากจะร่วมลงทุนเพิ่ม ก็สามารถคุยกันได้ครับ

thumsup: มีแผนขยายธุรกิจในอีก 3 – 4 ปีข้างหน้าไว้อย่างไร
เบย์: ?แน่นอนว่าเราจะเน้นตลาด SME ในประเทศเป็นหลักเพราะเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมานี้ “โดยคนไทยเพื่อ SME ไทย” เราอยากให้ SME ไทยได้ใช้ข้อมูลในการทำธุรกิจมากขึ้น เพราะการใช้ BOXBOX.me จะทำให้ไม่ต้องมานั่งเดาว่ากลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นใครกันแน่ เราเก็บข้อมูลให้หมดที่เหลือก็แค่คุยกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเท่านั้นเองครับ

thumsup: ฝากอะไรทิ้งท้ายให้กับ Startup ไทย
เบย์: ไอเดียมันเป็นแค่ไอเดียครับ ทุกอย่างอยู่ที่การปฎิบัติ อย่าไปกลัวคนอื่นลอก ลงมือทำอย่างเดียวสำคัญที่สุด
ดิ๊ง: Blue ocean มีอยู่ไม่นานครับ ถ้าไอเดียเราดี เราทำได้ แป็บเดียวก็ Red?เราคิดได้ คนอื่นก็คิดได้ สุดท้ายคนทำได้สำเร็จ คือคนที่มีความมุ่งมั่น?และพร้อมจะสู้กับอุปสรรคที่เข้ามาครับ