Site icon Thumbsup

2 ตารางไขข้อข้องใจ ทำไมแบรนด์จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อโอกาสทองบนแอปแชท

1_570_855_0_100_campaign-asia_content_messaging_apps_815x544

แม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกเปิดเผยตั้งแต่ปลายกันยายนที่ผ่านมา แต่ 2 ตารางนี้ของบริษัทวิจัย Forrester มีคุณค่ามากจนน่าเสียดายหากไม่ถูกหยิบมาพูดถึงบน thumbsup เพราะทั้ง 2 ตารางนี้สามารถชี้เหตุผลที่แบรนด์ควรรู้เพื่อลดความสงสัยในการทำตลาดบนแอปพลิเคชันแชตได้อย่างแจ่มชัดดูง่าย ซึ่งจะทำให้แบรนด์มีโอกาสสามารถเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกได้ในพริบตา

Forrester ระบุว่าทุกวันนี้ ผู้บริโภคกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกใช้เวลาระหว่างวันไปกับแอปพลิเคชันรับส่งข้อความหรือ messaging-app แถมบางคนในกลุ่มนี้ยังใช้แอพแชทมากกว่าหนึ่ง ตัวเลขนี้สะท้อนความจำเป็นของแบรนด์ที่จะต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถคว้าโอกาสทองที่รออยู่

Forrester ลงมือรวบรวมข้อมูลของแอพแชท 10 รายหลักของโลกในรูปตารางเรียบง่าย เรียงลำดับจากฐานผู้ใช้มากไปหาน้อย ขณะเดียวกันก็ให้รายละเอียดว่าชาวออนไลน์นิยมใช้งานแอปนั้นในพื้นที่ใด พร้อมกับประเมินข้อมูลในมิติการตลาดและโฆษณาบนแต่ละแอปได้อย่างเห็นภาพกว้าง

นอกจากแผนภาพนี้ ในรายงานเรื่อง “The Future of Messaging Apps” บริษัทวิจัย Forrester ยังระบุว่า 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้แอปพลิเคชันแชต กลายเป็นตลาดใหญ่คือ Facebook และแอปพลิเคชันเอเชีย เพราะ WeChat, LINE และ KakaoTalk ที่เน้นขยายตัวในรูปแบบแพลตฟอร์มการตลาดและอีคอมเมิร์ซ โดย Facebook เป็นรายเดียวที่สามารถแข่งขันได้ในมุมของฐานผู้ใช้มหาศาล

ดังนั้นเมื่อรวม WhatsApp และ Messenger เข้าด้วยกัน ผลคือ Facebook สามารถไล่ตามแอปเอเชียได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดตัว Messenger ในฐานะแพลตฟอร์มช่วงปี 2015 และการเปิดตัวระบบแชทอัตโนมัติหรือ bots on Messenger

Forrester ยังพยากรณ์ว่าในช่วง 18 ถึง 36 นับจากนี้ แอปพลิเคชันแชทจะขยายตัวจนผลักดันบริการประเภท smart contextual services ของแบรนด์ส่วนใหญ่ รวมถึงการใช้ชุดคำสั่ง API ในแบรนด์ที่จะมีมากขึ้น เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าและบริการ ก่อนจะชำระเงินได้ผ่านอุปกรณ์โมบายล์ หรือแม้แต่การเชื่อมต่อบริการเข้ากับเครื่องใช้ในบ้านที่ออนไลน์ได้ (กลุ่ม internet-of-things)

แนวทางนี้เกิดขึ้นแล้วกับ WeChat ที่ประเดิมบนจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งหมดนี้ทำให้ Forrester เชื่อว่าแอปแชทส่วนใหญ่จะพยายามสรรหาคุณสมบัติและบริการตามวงจรการบริโภคหรือ customer lifecycle ทั้งในช่วงซื้อหรือ acquisition phases (discover, explore และ buy) และช่วงหลังซื้อ retention phases (use, ask และ engage) ยิ่งขึ้น

ที่มา: Campaignasia