Site icon Thumbsup

[กรณีศึกษา] Cloud Service กับระบบ Workflow เพื่อลดความซับซ้อนในการทำงาน จาก Reflex Workflow

Reflex-azure

หนึ่งปัญหาที่ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในวงการไอทีคำนึงถึงเป็นเรื่องหลักก็คือ “ความปลอดภัย” ซึ่งแน่นอน ถ้าเพียงระบบที่ใช้งานเพิ่มเพียงแค่ความสะดวกสบายเพียงอย่างเดียว แต่ข้อมูลขององค์กรกลับไม่ปลอดภัยจากผู้บุกรุก ก็คงไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน วันนี้ผู้ประกอบการที่เลือกใช้ระบบ Cloud Service อย่าง “Reflex Workflow” จะมาพูดถึงการเลือกใช้บริการ Cloud ให้เราฟังครับ…

บริษัท Reflex ซึ่งเริ่มทำธุรกิจจากการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ให้กับวงการดำน้ำแบบสคูบาในประเทศไทย และผันตัวมาพัฒนาระบบให้โรงพยาบาลสิริโรจน์ โดยพัฒนาระบบที่ชื่อว่า Reflex Workflow ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านเวิร์กโฟลว์ใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ และพลิกโฉมรูปแบบการทำงานของธุรกิจ โดยโซลูชั่นนี้จะทำงานเหมือนระบบ CRM และเป็นระบบที่เชื่อมระหว่างลูกค้าและระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลไปพร้อมๆ กับเป็นเครื่องมือสำหรับวางแผนการทำงาน โดยการทำงานของโซลูชั่นเวิร์กโฟลว์นี้ เริ่มต้นตั้งแต่การติดต่อกับคนไข้เป็นครั้งแรก ไปถึงจนขั้นตอนการติดตามผลหลังการผ่าตัด

Jon Roberts ซึ่งเป็น CEO ของทาง Reflex อธิบายถึงการทำงานของ Reflex Workflow ว่า “ตอนนี้มีการใช้งาน Reflex Workflow ที่ศูนย์ศัลยกรรมความงามที่โรงพยาบาลสิริโรจน์ เพื่อช่วยจัดการเคสการผ่าตัดซึ่งมีประมาณ 200 เคสต่อเดือน ผู้ใช้งานระบบนี้ มีทั้งตัวแทนโรงพยาบาล 50 แห่งในหลายประเทศ และยังมีแพทย์ พนักงาน อีกกว่า 20 คนที่ต้องใช้ระบบนี้ เพื่อให้พวกเขาได้วางแผนและทำตารางนัดหมายการผ่าตัดกับแพทย์ วางแผนการเดินทางของคนไข้ และนัดหมายติดตามผล หลังการผ่าตัด นอกจากนี้ ยังมีการแจ้งเตือนแพทย์ หากวันที่ติดตามผลอยู่หลังจากวันที่คนไข้เดินทางออกนอกประเทศไทยแล้ว เพื่อที่โรงพยาบาลจะได้นัดหมายใหม่ และคนไข้ยังสามารถอัพโหลดรูปของตนเองขึ้นไป เพื่อปรึกษาแพทย์ และเพื่อที่แพทย์จะได้วางแผนการผ่าตัดล่วงหน้า โดยแพทย์สามารถใช้งานโปรแกรมได้ง่ายจากเครื่องแล็ปทอป เดสก์ทอป และแท็บเล็ต เมื่อเสร็จการวินิจฉัยแล้ว แพทย์สามารถแจ้งคนไข้เพื่อให้คนไข้เตรียมตัวและรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อมาถึงที่โรงพยาบาล ดังนั้นจึงเป็นการสร้างความสบายใจให้กับคนไข้

ระบบการจัดการเวิร์กโฟลว์นี้ยังช่วยลดปริมาณอีเมลที่โต้ตอบระหว่างคนไข้ ตัวแทนโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลลงไปได้ถึงร้อยละ 30 ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานโดยรวม นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้น และยังช่วยเหลือคนไข้ ตลอดกระบวนการได้ตั้งแต่เริ่มติดต่อกับโรงพยาบาลไปจนถึงการจัดการการเดินทาง การเข้ารับการผ่าตัด และการเดินทางกลับประเทศในภายหลัง

ก่อนหน้าที่จะเริ่มใช้งาน Reflex Workflow เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลฯ ต้องทำงานกับเอกสารจำนวนมาก ในการจัดการนัดหมายแพทย์ พนักงานต้องติดต่อกับคนไข้พร้อมๆ กับสำนักงานต่างประเทศทั่วโลกที่ต้องประสานงานการนัดหมายแพทย์ ผ่านทางอีเมล ซึ่งมีปริมาณ 600 – 700 ฉบับต่อวัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารกับคนไข้ ทางโรงพยาบาลฯ จึงต้องการระบบที่ช่วยจัดการเวิร์กโฟลว์และทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลเพื่อนัดหมาย จัดการตารางแพทย์ และนัดหมายติดตามผลหลังการผ่าตัดได้ดีขึ้น ระบบจัดการเวิร์กโฟลว์ต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับแต่งได้ง่าย เพื่อรองรับการรักษาแบบพิเศษ และยังจะต้องเก็บข้อมูลคนไข้ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งมีทั้งไฟล์ PDF ไฟล์ภาพ และไฟล์แนบอื่นๆ ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของความน่าเชื่อถือและปลอดภัยของระบบที่มากพอ เพราะต้องเก็บข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น ประวัติการรักษาและข้อมูลส่วนตัวของคนไข้ เป็นต้น

Reflex เลือกที่จะใช้บริการ Cloud Service แทนที่จะลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานเอง หรือจะใช้บริการบนคลาวด์แทน เพราะจากประสบการณ์ที่ Reflex มีในด้านการดูแลเว็บไซต์ ทำให้บริษัทฯ ตระหนักว่า การวางระบบไว้บนคลาวด์นั้น จะช่วยตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้ดีกว่าการลงทุนสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานเองอย่างมาก

Windows Azure มีมาตรการของระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทำให้ไมโครซอฟท์แตกต่างจากผู้ให้บริการคลาวด์
รายอื่นๆ ตรงที่ไมโครซอฟท์ไม่เคยมีประวัติของการโดนแฮ็ก ระบบต่างๆ ที่วางอยู่บน Windows Azure จะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ในการรักษาความปลอดภัยของระบบ ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจมาก

การเลือกใช้ Windows Azure ทำให้ Reflex สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เพราะไม่จำเป็นลงทุนซื้อเซิร์ฟเวอร์เอง ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการบำรุงรักษา รวมๆ แล้วสูงถึง 100,000 – 200,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 3-6 ล้านบาท) ต่อเดือน นอกจากนี้ ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนผู้ดูแลระบบ ระบบรักษาความปลอดภัย เนื้อที่สำหรับวางโฮสต์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระบบปรับอากาศ ทำให้มีค่าไฟฟ้าสูงมาก ดังนั้น Windows Azure จึงช่วย Reflex ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพราะไม่จำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถให้บริการระบบเวิร์กโฟลว์ได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากต้องลงทุนกับระบบโครงสร้างพื้นฐานเอง

นอกจากนี้ การโฮสต์ระบบไว้บนคลาวด์ยังจะช่วยลดปัญหาที่ Reflex ต้องเผชิญในหลายๆ ด้าน อย่างความต้องการมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทำให้ไมโครซอฟท์แตกต่างจาผู้ให้บริการคลาวด์รายอื่นๆ ความปลอดภัยของข้อมูล คือ ปัจจัยหลักๆ ในการออกแบบระบบ ซึ่ง Reflex รู้สึกวางใจมากที่ Windows Azure มีระบบการรักษาความปลอดภัยอยู่พร้อมแล้ว

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษา ที่ชี้ให้เห็นถึงข้อดีในการเลือกใช้ระบบ Cloud Service อย่าง Windows Azure ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่า หลังจากได้อ่านบทความไปแล้ว หลายท่านคงได้คำตอบในใจ กับการเลือกลงทุนในธุรกิจ ด้วยการเลือกใช้บริการ Cloud Service ใช่ไหมล่ะครับ…

บทความนี้เป็น advertorial

สำหรับใครที่ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Window Azure สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่