มีผลการวิจัยจาก Roubini ThoughtLab ร่วมกับ Visa ชิ้นหนึ่งชื่อว่า Cashless Cities: Realizing the Benefits of Digital Payments 2017 ที่ภายในเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาผลประโยชน์สุทธิที่เมืองต่างๆ จะได้รับหากก้าวไปสู่ “เมืองไร้เงินสดในระดับที่เป็นไปได้” พร้อมจำแนกสิทธิประโยชน์ที่แต่ละภาคส่วนจะได้รับทั้งภาคเอกชน รัฐบาล และผู้บริโภค ซึ่งในฐานะที่กรุงเทพมหานครถูกสำรวจด้วยและมีผลลัพธ์ที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เราจึงขอนำข้อมูลต่าง ๆ จากงานวิจัยชิ้นนี้มาฝากกันค่ะ
การศึกษาชิ้นนี้พบว่า มหานครอย่างกรุงเทพได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสดไปแล้ว 41% โดยสิ่งที่พบก็คือ ภาคธุรกิจ จะได้รับประโยชน์จากสังคมดิจิทัลนี้คิดเป็นมูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเหตุผลหลักจากการนำเอกสารภาษีอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาปรับใช้ ทำให้ลดเวลาในการบริหารจัดการ รวมถึงการทำงานด้านเอกสารลงได้อย่างมาก
ขณะที่ภาครัฐเองนั้น ก็จะสามารถดึงธุรกิจสีเทาให้ขึ้นมาตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้ได้สะดวกมากขึ้น และเมื่อสามารถติดตามยอดขายได้แล้ว ก็ย่อมหมายความถึงภาษีที่จะเก็บได้มากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ การใช้เงินสดน้อยลง ยังมีผลต่อสภาพสังคมโดยรวม ที่งานวิจัยเชื่อว่าจะทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมน้อยลงด้วยนั่นเอง จึงมีการประเมินออกมาเป็นตัวเลขว่าสังคมไร้เงินสดจะทำประโยชน์ให้ภาครัฐคิดเป็นมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในฟากของผู้บริโภค พบว่าแม้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่บ้างในการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอยู่บ้าง (ตัวเลขประมาณการจากผลการศึกษาดังกล่าวคือ 42 ล้านเหรียญสหรัฐ) แต่ผลดีที่จะเกิดกับผู้บริโภคก็คือ ลดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่อาจถูกโจรผู้ร้ายจ้องเล่นงานลงได้ ในอีกทางหนึ่งพบว่า การที่สามารถจ่ายเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้น จะช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมในการชำระเงินล่าช้าได้ด้วย
ในแง่ของความประหยัดเวลานั้นพบว่า ผู้บริโภคในเขตเมืองของกรุงเทพมหานครใช้เวลาไปกับการเข้าธนาคารถึง 32 ชั่วโมงต่อปี แต่หากเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสดแล้ว จะสามารถประหยัดเวลาได้เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว
นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว การวิจัยดังกล่าวยังได้ศึกษาตัวเลขของเมืองต่าง ๆ อีก 99 แห่งจากทุกทวีปทั่วโลกด้วย ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น เราขอนำสถิติของประเทศเพื่อนบ้านในการก้าวสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดมาฝากกันดังนี้
สิงคโปร์ 44%
กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย 35%
กรุงพนมเปญ กัมพูชา 31%
กรุงฮานอย เวียดนาม 31%
กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย 31%
กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ 31%
กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย 35%
กรุงพนมเปญ กัมพูชา 31%
กรุงฮานอย เวียดนาม 31%
กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย 31%
กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ 31%
โดยในส่วนของกัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้น รายงานฉบับนี้ระบุว่าเป็นเมืองที่ยังใช้เงินสดเป็นหลัก ส่วนเมืองที่เป็นผู้นำนั้น ได้แก่ เมืองแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย (78%) กรุงไทเป ไต้หวัน (70%) โอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ (68%) และกรุงโซล เกาหลีใต้ (58%)
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในภาพรวมของ 100 เมืองทั่วโลก พบว่า
- ผู้บริโภคใน 100 เมืองหลักสามารถได้รับผลประโยชน์สุทธิ 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากปัจจัยต่างๆ รวมถึงการช่วยประหยัดเวลา 3,200 ล้านชั่วโมงในการทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ห้างค้าปลีก และการขนส่ง รวมถึงการลดอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสดอีกด้วย
- ธุรกิจในหัวเมืองทั้ง 100 แห่งสามารถได้รับผลประโยชน์โดยตรงมากกว่า 3.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากปัจจัยต่างๆ รวมถึงการประหยัดเวลาในการประมวลผลการชำระเงินเข้าออกร่วมถึง 3,100 ล้านชั่วโมง และรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการขยายฐานลูกค้าออนไลน์และในร้านค้า
- การวิจัยยังพบอีกว่าการยอมรับเงินสดและเช็ค เพิ่มค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจถึง 7.1 เซ็นต์ของทุกเงินดอลลาร์สหรัฐที่ได้รับ เมื่อเทียบกับการเก็บเงินจากระบบดิจิทัลซึ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจเพียงแค่ 5 เซ็นต์ของทุกเงินดอลลาร์สหรัฐที่ได้รับ
รัฐบาลในทั้ง 100 เมืองหลักสามารถได้รับผลประโยชน์โดยตรงประมาณ 130,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ผลกระทบนี้จะมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น การประหยัดต้นทุนจากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการบริหาร และค่าใช้จ่ายด้านคดีอาญาลดลงเนื่องจากการลดอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสดนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Cashless Cities