“สะเต็มศึกษา” อาจเคยถูกเข้าใจว่าเป็นศาสตร์การเรียนรู้ที่เหมาะกับสายวิทย์เท่านั้น แต่ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา โครงการ “Chevron Enjoy Science” ก็สามารถเปลี่ยนแนวคิดใหม่ได้สำเร็จ และเปลี่ยนให้สะเต็มศึกษากลายเป็นเรื่องของทุกคนในทุกอาชีพ ไม่ว่าจะมีพื้นฐานมาจากสายวิทย์ หรือศิลป์ก็ตาม
ซึ่งบทเรียนแห่งความสำเร็จทั้ง 8 ปี เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นที่ทำให้เชฟรอนได้มีก้าวสำคัญเพื่อมุ่งไปสู่การขยายโมเดลสะเต็มศึกษาให้กับอนาคตของประเทศไทย และสานต่อไปสู่ในทุก ๆ มิติของการศึกษา วันนี้ทาง Thumbsup เลยจะมาถอดสูตรโครงการที่สามารถเติมพื้นที่การศึกษาให้เป็นเรื่องของทุกคนกัน!
โลกสะเต็มศึกษาที่เข้าถึงได้ทุกคน
เน้นการต่อยอดจาก Evidence–based Study
“เราจะทำอย่างไรให้สะเต็มศึกษาเข้าถึงทุกคน” เป็นความท้าทายที่ ดร. กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการศูนย์ ใช้เพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาผ่านภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ด้วยโครงการ Chevron Enjoy Science ระยะที่ 2
ซึ่งทั้งศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ก็ได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างมิติคอยเชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วน ทั้งผู้เรียน ผู้สอน นักการศึกษา ไปจนถึงผู้กำกับนโยบาย ผลักดันให้เกิดความสำเร็จได้
โดยเน้นการต่อยอดจาก Evidence-based Study นำผลการศึกษาที่พิสูจน์แล้วว่าสำเร็จจริง ไปสกัดให้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อวางนโยบาย และพัฒนาการให้เหมาะสมกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
รวมแล้วตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ก็มีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้กว่า 3 ล้านคน พร้อมทั้งสถานศึกษาเข้าร่วม
โครงการฯ ถึง 724 แห่ง จากความร่วมมือของเครือข่ายพันธมิตรกว่า 152 องค์กร
เข้ามาพัฒนาเพื่อให้ตอบโจทย์สะเต็มศึกษาในหลากหลายมิติ ทั้งโครงการ STEM Professional Academy และ STEM Career Academies สามารถสร้างการรับรู้ถึงสาขาอาชีพสะเต็มศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายได้มากถึง 163,635 คน
STEM Professional Academy และ STEM Career Academies
เติมเต็มมิติสะเต็มศึกษาสู่โลกอาชีพยุคใหม่
ไม่ว่าจะเป็น STEM Professional Academy ที่เน้นการสร้าง “ครูต้นแบบสะเต็มศึกษา” และพัฒนาครู ไปจนถึงผู้มีอำนาจบริหารจัดการการศึกษา ให้กลายเป็น “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLCs)” ซึ่งได้สร้างเครือข่ายบุคลากรทางการศึกษารวมแล้วกว่า 6,500 คนด้วย
โดย ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการ คุรุสภา ตัวแทนองค์กรที่กำกับดูแลการพัฒนาวิชาชีพครูของประเทศได้ขับเคลื่อน และนำร่องในลักษณะ Sandbox ให้กับพื้นที่ต่าง ๆ จน้เสริมศักยภาพการจัดการเรียนการสอนให้เหล่าคุณครูไปแล้วกว่า 5,000 คน
ซึ่งครูกว่า 96% สามารถสร้างวิถี และวัฒนธรรมในการสอนใหม่ให้กับเด็ก ๆได้กล้าแสดงออก และกล้าที่จะถกประเด็นต่อยอดกันมากขึ้น ทำให้ PLCs กลายเป็นกระบวนการสำคัญที่ด้รับการบรรจุในหลักสูตรที่ครูต้องปฏิบัติ สร้างการต่อยอดในเชิงนโยบาย และใช้ประเมินครู ไปจนถึงผู้บริหารได้ด้วย
นอกจากนี้ยังมี STEM Career Academies ที่เน้นการสร้างแรงบันดาลใจและเพิ่มเส้นทางอาชีพให้กับเยาวชนทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 4,000 คน ไปจนถึงโครงการต้นแบบพัฒนาการศึกษาผ่านสื่อการสอนหนังสือภาพอย่าง Picture Books โครงการการใช้หนังสือภาพเพื่อเสริมสร้างความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการอ่านอย่างมีความหมาย เป็นต้น
โดย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มองว่าในอนาคต อาชีพของสาขาสะเต็มจะไม่ใช่แบบเดิมอีกต่อไป ทำให้ต้องเสริมทักษะแบบครอบคลุมอย่าง “STEM for Non-STEM Students” เพื่อสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาให้เกิดแรงบันดาลใจด้านสะเต็มให้เด็ก ๆ สามารถค้นหาตัวเองได้
ผ่านหลักสูตรฝึกอบรม 14 หลักสูตร และ 6 หลักสูตรระยะสั้นเพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนสำหรับสายอาชีพ ไปจนถึงร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อีกทั้งแผนขยายโครงการไปอีก 340 โรงเรียนทั่วประเทศด้วย
ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 33% ได้รับข้อเสนอเข้าทำงาน และอีก 67% ศึกษาต่อในด้านที่ตนเองสนใจต่อไปได้ เพราะเยาวชนได้มองเห็นเส้นทางของอาชีพสาขาสะเต็มที่กว้างขึ้น ต่อยอดเป็นทุนการศึกษาสำหรับการฝึกอบรมวิชาชีพอีกได้
งาน STEM Synergy for Transforming the Future of Education
ก้าวใหม่ของสะเต็มศึกษาที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
ความสำเร็จของโครงการ “Chevron Enjoy Science” ไม่ได้วัดได้เพียงแค่ตัวเลขเท่านั้น แต่ยังทำให้ได้เห็นความสำเร็จในระดับมหภาคที่ได้สร้างบุคลากรที่เปี่ยมไปด้วยทักษะด้านสะเต็มศึกษาและขยายเครือข่ายกว้างไกลยิ่งขึ้น
อย่างที่นายปฏิเวธ บุณยะผลึก รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มองเห็นผ่านงาน “STEM Synergy for Transforming the Future of Education” ว่าเป็นจุดเริ่มต้นก้าวใหม่ ที่จะช่วยให้สะเต็มศึกษายิ่งใหญ่กว่าเดิมได้
ด้วยระยะเวลาตลอด 8 ปีที่เชฟรอนได้ร่วมมือกับพันธมิตร และทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมทั้งหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งประเทศไทย และภูมิภาค ก็สามารถต่อยอดความสำเร็จจากโครงการสะเต็มศึกษาที่เข้ามาช่วยส่งเสริมนโยบายในอนาคตในระดับประเทศ และภูมิภาคได้มากขึ้น
ทั้งคุรุสภา และ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ต่างก็นำเอาโมเดลนี้มาปลดล็อก และยกระดับการผลิตครูมืออาชีพยุคใหม่ านต่อโมเดลสร้างอาชีพ รวมถึงมีรูปแบบวิจัยดวิดีโอการสอนเพื่อใช้ในการประเมินครูอีกด้วย
ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนขั้นบันไดการพัฒนาสะเต็มศึกษาในระดับมหภาค และขับเคลื่อนไปสู่โลกในวันข้างหน้าได้เป็นอย่างดี องค์กรไหนที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการได้ที่นี่