Site icon Thumbsup

จุฬาฯ เปิดตัว 8 นวัตกรรมสู้ COVID-19 มั่นใจ Innovations ของคนไทยทัดเทียมต่างชาติได้

จากภาวะวิกฤต COVId-19 ทั้งไทยและต่างประเทศก็มีความกังวลในเรื่องของการรักษาและดูแลเรื่องความเจ็บป่วย ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองก็ได้พัฒนานวัตกรรมให้ทันสมัยเพื่อให้ศิษย์ทั้งรุ่นเก่าและปัจจุบันมั่นใจในศักยภาพของมหาวิทยาลัย และการพัฒนาความรู้ความสามารถของคนรุ่นใหม่ได้ทัดเทียมกับนานาชาติ

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาฯ ได้กล่าวเปิดงาน “อธิการบดีชวนสื่อจิบน้ำชายามบ่าย” ที่เรือนจุฬาฯ นฤมิต ว่า ทางมหาวิทยาลัยมีความภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของคนไทยในการก้าวขึ้นสู่ Top 100 ของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการ จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดย QS World University Ranking 2021 พิจารณาจากการชี้วัด 6 ด้าน ประกอบด้วย ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (40%) การเป็นที่ยอมรับจากนายจ้าง (10%) สัดส่วนของอาจารย์ต่อนิสิต (20%) ผลงานวิชาการต่ออาจารย์ (20%) สัดส่วนของอาจารย์ชาวต่างชาติ (5%) และสัดส่วนของนิสิตชาวต่างชาติ (5%)

โดยความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย และทางจุฬาเป็นอันดับที่ 96 ของทั่วโลก และยังครองอันดับการเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับเป็นปีที่ 12 ติดต่อกัน โดยจุฬาฯ ได้อันดับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีที่แล้วถึง 39 อันดับ

นอกจากนี้ การพัฒนานวัตกรรมที่ดีอย่างต่อเนื่องต้องขายได้ในเชิงธุรกิจด้วย ซึ่งจุฬาฯ มั่นใจในการเป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม ซึ่งประกอบด้วย 3 แกนหลัก ที่จุฬาฯ มุ่งผลักดันพัฒนามากที่สุด คือ คน นวัตกรรม และความยั่งยืนทางสังคม

การพัฒนาคน ถือว่าเป็นเรื่องแรกที่จุฬาฯ ให้ความสำคัญ เพราะคนคือปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความพร้อมเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลกด้านวิชาการและทักษะที่ทันสมัยของศตวรรษที่ 21

การสร้างสรรค์นวัตกรรม ความรู้ งานวิจัยและสังคมความรู้ องค์ความรู้ที่มุ่งเน้นเรื่องความรู้ ให้นำออกมาใช้สร้างประโยชน์ได้ การทำงานสร้างความรู้มากมายของจุฬา มีการปรับเปลี่ยนในเรื่องของการมุ่งเน้นการนำความรู้สู่การรับใช้สังคมและมีการเปลี่ยนโมเดลงานวิจัย มีการตั้ง CU Innovation Hub ให้เป็นเวทีสร้างสรรค์แก่คนที่มีไอเดียพบกับคนที่มี i do

น้ำยาพ่นหน้ากากเพื่อทำความสะอาด อันนี้น่าสนใจมากเลย

จากการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Boosting innovations and knowledge) นวัตกรรมของจุฬาฯ จะไม่เป็นเพียงแค่สิ่งประดิษฐ์ในห้องเรียน แต่นวัตกรรมของจุฬาฯ จะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ แก้ปัญหาจริง เป็นที่นิยมของผู้ใช้งาน และที่สำคัญคือ ขายได้ หรือมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ด้วย ผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมของจุฬาฯ เช่น การพัฒนาต้นแบบ “วัคซีน COVID-19” โดยทดลองในลิงเป็นแห่งแรกในประเทศไทย จุฬาฯ

ผนึกกำลังพันธมิตรเปิดตัว“ปัตตานีโมเดล”ด้วยการปูพรมตรวจภูมิคุ้มกัน ก่อนคลายล็อกดาวน์ให้ชาวปัตตานีนับหมื่นรายด้วยชุดตรวจว่องไว “Chula Baiya Strip Test” จุฬาฯ สร้างรากฐานนวัตกรไทยด้วยการเปิดพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ SID หรือ Siam Innovation District ให้เป็นศูนย์รวมการประยุกต์ใช้
องค์ความรู้และนวัตกรรมของประเทศ และเป็นพื้นที่สำหรับการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าได้อย่างแท้จริง

“การสร้างนวัตกรรมที่จับต้องและสร้างประโยชน์ได้ เช่น หุ่นยนต์กระจก น้ำยาพ่นหน้ากากผ้า ที่มีการวิจัยแล้วว่า มีการฆ่าเชื้อได้ ไม่น้อยกว่า 90% เพื่อให้หน้ากากสามารถใช้งานซ้ำได้ 1 เดือน จากที่เราใช้แค่วันละ 1-2 วันทิ้ง ก็ลดปัญหาขยะได้กว่า 10 เท่า และเป็นเป้าหมายที่มุ่งเน้นต่อจากการพัฒนาคน”

 

ไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วย ก็ตรวจเช็คอาการเบื้องต้นได้

 

นอกจากนี้ จุฬาฯ ต้องการเป็นผู้นำที่คนหันมามอง ถาม และดูทิศทางการนำจากจุฬาฯว่าการอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และพัฒนาสังคมไทย สิ่งที่ทางมหาวิทยาลัยพยายามทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้จุฬาฯ กลายเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม และพยายามนำความรู้สร้างประโยชน์เพื่อสังคม และสิ่งที่เราทำมาเป็นระยะเวลานานไม่ได้เป็นที่ชื่นชมแค่ภายในประเทศ แต่ได้รับการยอมรับจากสังคมนานาชาติทั่วโลก ซึ่งพวกเราเชื่อมั่นว่าจะเป็นใบเบิกทางให้มหาลัยอื่นๆ ก็ได้รับการยอมรับจากต่างชาติเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องของ Innovations นั้น ต้องเติม S เพราะเป็นการรวมความสามารถของคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมาทำงานร่วมกัน และปักธงชัดเจนว่าเป็นอินโนเวชั่นเพื่อสังคมนี้ดีขึ้นไปด้วยกัน

เรื่องของการพัฒนา Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งเป็นหลักคิดในการดำเนินนโยบายของมหาวิทยาลัยตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา เราไม่เพียงยกระดับการบริหารงานมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลเท่านั้น แต่จุฬาฯ คิดได้ไกลขึ้น ไม่ใช่แค่ 5 ปี หรือ 10 ปี แต่มองไกลถึงคุณภาพชีวิตของประชาคมจุฬาฯ ชุมชนโดยรวม รวมไปถึงคนรุ่นลูกรุ่นหลานอีกด้วย

โดยจุฬาฯ ได้เริ่มต้นการพัฒนาอย่างยั่นยืนด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมสาธารณูปโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและได้ขยายขอบเขตการทำงานไปสู่การยกระดับงานวิจัยให้สอดคล้องกับหลัก SDGs อีกทั้งยังทำงานในเชิงโครงสร้างนโยบายของมหาวิทยาลัยด้วย โดยเฉพาะในด้านเมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (SDG 11)

มหาวิทยาลัยได้มอบอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เพื่อเป็นปอดกลางกรุงแก่ชุมชน อีกทั้งยังปลูกจิตสำนึกด้านการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (SDG 12) ให้เกิดขึ้นในหัวใจของประชาคมจุฬาฯ ทุกคน ผ่านโครงการ Chula Zero Waste ซึ่งผลการรณรงค์ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาสามารถช่วยลดการเกิดขยะไปแล้วกว่า 100 ตัน

“คณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ได้สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ ที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประเทศ สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤตจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) นวัตกรรมต่างๆ ล้วนเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติตอบสนองบทบาทของจุฬาฯ ในการเป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม”