การร่วมมือกันทางธุรกิจ เป็นวิธีที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่ยกระดับยอดขายของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่การร่วมมือกันทางธุรกิจที่ดีนั้น ต้องเป็นมากกว่าแค่กิจกรรมส่งเสริมการขายแบบทั่วไป เพราะการทำงานร่วมกับธุรกิจอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะช่วยสร้างความสัมพันธ์และยกระดับแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์หรือคุณค่าที่เพิ่มสูงมากขึ้น
การทำการตลาดร่วมกันคืออะไร
“การทำการตลาดร่วม” เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องระหว่างแบรนด์ที่เป็นพันธมิตรกัน เพื่อขยายการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ รวมทั้งสร้างการรับรู้ต่อผู้บริโภค ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นโอกาสการเข้าถึงรายได้ใหม่ๆ เพิ่มเติม
โดยปกติแล้ว บริษัทที่ทำแคมเปญการตลาดร่วมกันนั้น จะมีลักษณะการทำงานและลูกค้า อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน (แต่อาจจะไม่ใช่คู่แข่งกันโดยตรง)
แนวทางในการทำการตลาดร่วม มีอะไรบ้าง
1. การร่วมกันให้ความรู้แก่ผู้ชม
ไม่ว่าจะเป็น การให้ข้อมูลความรู้แบบตัวต่อตัว หรือผ่านกิจกรรมบนโลกออนไลน์ เช่น การสัมมนาผ่านเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย ต่างก็เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ชมรูปแบบหนึ่ง ถือว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำการตลาดร่วมกัน
ซึ่งกลุ่มธุรกิจประเภท B2B สามารถสร้างกระแสตอบรับได้เป็นอย่างดีเพราะลูกค้ามองว่ามีประโยชน์และให้คุณค่าต่อการนำไปใช้งานต่อ
2. จัดโปรโมชั่นและเปิดตัวสินค้าร่วมกัน
การทำการตลาดร่วมกัน เหมาะสำหรับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เพราะจะช่วยให้แบรนด์สร้างกระแสที่ต้องการได้มากที่สุด เช่น การแจกของรางวัลหรือการแข่งขันเพื่อชิงรางวัล ถือว่าเป็นแคมเปญยอดนิยม ที่ช่วยสร้างประโยชน์ได้ดี ในการดึงดูดผู้คน ถือว่าเป็นการโปรโมตแบรนด์ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3. การสร้างจุดแข็งใหม่ๆ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีร่วมกัน
แนวคิดที่ว่า ‘สองหัวดีกว่าหัวเดียว’ ในการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าแบรนด์ทั้งสองกลุ่ม ซึ่งแนวคิดนี้จะชี้ให้เห็นว่า แคมเปญการตลาดร่วมกัน สามารถเสริมจุดแข็งของทั้งสองแบรนด์ที่แตกต่างกันได้อย่างไร
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมแบบเดิมจะมีคู่แข่งแบบข้ามอุตสาหกรรมการร่วมมือกันจะเพิ่มความแข็งแกร่งของธุรกิจให้ไปต่อได้
ประโยชน์ของการทำการตลาดร่วมกัน
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ที่ไม่เคยเห็นแบรนด์เรามาก่อน
ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันเกิดขึ้นอย่างดุเดือดและความสนใจจากผู้ชมนั้นก็ยิ่งหายากมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งแบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ ได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นโอกาสที่ดีมากขึ้นเท่านั้น
2. สร้างความแข็งแรงให้แบรนด์มีความแตกต่าง
การเป็นพันธมิตรกับแบรนด์อื่นๆ จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังแสดงให้เห็นว่าแบรนด์ของเรามีความแตกต่างและเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม เป็นที่ควรค่าแก่การทำงานแบบ collab ด้วย สิ่งนี้จะทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่งเป็นอย่างมาก
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน
หนึ่งในข้อดีของการทำการตลาดร่วมที่ประเมินค่าไม่ได้ ก็คือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์อื่นๆ ที่มีไอเดียคล้ายกัน และการมีเครือข่ายที่สามารถสร้างและเสริมแบรนด์ให้ดีขึ้นได้
4. เปิดโอกาสเจาะตลาดใหม่ โดยไม่ต้องขยายช่องทางการทำตลาดเพิ่ม
การทำการตลาดร่วมกัน ถือเป็นโอกาสในการเจาะตลาดใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งแคมเปญการตลาด เป็นวิธีที่จะช่วยในการวิจัยตลาดและเรียนรู้พฤติกรรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้บริโภคที่เรากำลังมองหา
5. กระตุ้นการตัดสินใจซื้อดีขึ้น
นอกจากการทำให้แบรนด์เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางแล้ว การทำตลาดร่วมกันจะช่วยให้แบรนด์สามารถขยายเป้าหมายการตลาดใหม่ๆ กระตุ้นการเข้าชมและการเลือกซื้อของผู้บริโภค
ที่มา : sproutsocial.com