Site icon Thumbsup

ไม่ต้อง #เกาะโต๊ะ ใคร “วรวุฒิ อุ่นใจ” แนะเทคนิคฟื้นฟูธุรกิจให้อยู่รอด

ในยุคที่ SME กำลังประสบปัญหาปรับตัวไม่ทัน จนไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ใหม่ เพื่อพยุงธุรกิจให้ไปรอดได้นั้น ปัญหาสำคัญของร้านโชห่วยหรือ SME ที่นอกจากเทคโนโลยีแล้ว ก็คือเรื่อง “การทำบัญชี” ที่ธุรกิจยุคดั้งเดิมสมัยปู่ย่าตายาย ไม่เคยทำอย่างชัดเจน รวมทั้งเรื่องการทำสต็อกสินค้า จนเกิดปัญหาใช้เงินอนาคตมากขึ้น และส่งผลให้รักษารายได้คงที่เป็นเรื่องยาก ยิ่งการขายสินค้าในอีคอมเมิร์ซเติบโต ลูกค้ายุคใหม่ไม่เดินเข้าร้านโชห่วยหรือหน้าร้านยิ่งเป็นปัญหาไม่สามารถหารายได้ใหม่ๆ ได้ ถ้าไม่ปรับตัว

ภาพรวมตลาดค้าปลีกไทย

ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกที่มีการเพิ่มขึ้นถึง 22.8 ล้านล้านเหรียญนั้น มีการเติบโตเฉลี่ย 3.8% ซึ่งมูลค่าธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย อันดับ 1 คือ จีน ที่มีตัวเลขยอดขายปี 2018 ถึง 4,660,053 ล้านเหรียญสหรัฐ รองมาคือ อินเดีย อยู่ที่ 1,764,468 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนไทยอยู่ที่อันดับ 10 มูลค่า 154,576 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ด้านยอดขายธุรกิจค้าปลีกของไทยมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งอินโดนีเซีย มียอดขายอยู่ที่ 639,172 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเฉลี่ย 9.4% ฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 180,847 ล้านเหรียญสหรัฐ โตเฉลี่ย 8.2% และไทย 154,576 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ เวียดนาม แม้จะมีเม็ดเงินโตเพียง 122,414 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 12.7% ถือว่ามีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น โดยในรอบ 8 ปีที่ผ่านมาไทยมีอัตราการโตเฉลี่ยเพียง 3.9% เท่านั้น ถือว่าเป็นตัวแรกที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

SME ไม่โตเพราะอะไร

ด้วยตัวเลขด้านบน ทำให้ต้องมาวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ต้องแก้ให้ธุรกิจ SME เติบโต ซึ่งมี 2 เหตุผลหลักคือ ทำอย่างไรถึงจะดึงเงินนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาไทยให้ได้เยอะๆ ซึ่งเหตุผลที่นักท่องเที่ยวที่มาไม่ชอบซื้อสินค้าราคาแพงในไทยเป็นเพราะระบบ VAT ที่ค่อนข้างแพงและการ Refund ก็ทำได้ยาก ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งคือ Duty Free ของไทยเป็นระบบผูกขาด เพียงรายเดียว ทำให้ไม่มีการแข่งขัน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เปิดกว้างและมีตัวเลือกมากกว่า

ทางด้านสัดส่วนผู้ประกอบการค้าปลีกในไทย แบ่งเป็น

ด้วยจำนวนผู้เล่นกลุ่ม SME ที่มีเยอะมาก หากไม่รู้จักการปรับตัว ก็มีโอกาสเสี่ยงในการปิดกิจการสูง เพราะเจอผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ใช้งานออนไลน์เป็นปัจจัยสำคัญ ยิ่งมีตัวอย่างในหลายประเทศ ที่เจอผลกระทบด้านอีคอมเมิร์ซเข้ามา Disrupt

สาเหตุที่ในต่างประเทศ E-commerce มีการเติบโต เช่น สภาพภูมิอากาศ ยิ่งประเทศที่มีอากาศหนาวมากๆ คนจะไม่อยากออกจากบ้าน ทำให้ออนไลน์โตมาก และอีกสาเหตุคือ มี Activity เยอะ เช่น ไปเดินเล่นที่สวน ไปออกกำลังกาย ไปดูการแข่งขันกีฬา ยิ่งมีกิจกรรมทางเลือกเยอะ คนจะยิ่งไม่ค่อยชอบเข้าห้างเพื่อช้อปปิ้ง

ลักษณะของค้าปลีกขนาดเล็กที่มีปัญหา

แนวทางพัฒนาและปรับปรุงค้าปลีกขนาดเล็ก

วรวุฒิ แนะนำว่า “เทคนิคการดีลกับคนรุ่นพ่อ ที่เริ่มต้นปูทางธุรกิจครอบครัวนั้น ต้องเริ่มจากการทำงานชิ้นเล็กๆ ก่อน อย่าเพิ่งคิดการณ์ใหญ่ เพราะคนรุ่นพ่อแม่ เค้าไม่มองว่าเราเป็นพนักงาน ยิ่งเป็นครอบครัวที่มีความใกล้ชิดกันมาก จะยิ่งทำให้เกิดการดูถูก เพราะเค้าเลี้ยงดูเรามา เค้าไม่สนใจและไม่รับรู้หรอกว่าเราเก่งหรือไม่ ดังนั้น การพัฒนาธุรกิจคืออย่าเปลี่ยนเยอะ  เพราะถ้าล้มเหลวจะยิ่งโดนดูถูกและบั่นทอนใจ ดังนั้น ต้องค่อยๆ เปลี่ยนจากสิ่งเล็กๆ และทำให้สำเร็จ เพื่อให้เขาไว้วางใจ” 

“ผมเข้าไปช่วยที่บ้าน เพื่อหนีปัญหาล้มละลาย พอเข้าไปจัดการเรื่องบัญชี สต็อก ต้นทุน ถึงรู้ว่าเรากำลังเจอปัญหาหนักมาก ต้องรีบแก้ไข ซึ่งเริ่มแรกคือ เราต้องมีใจอยากคิดเปลี่ยนแปลงก่อน”

“มองหาเทรนด์สินค้าใหม่ๆ แม้ธุรกิจที่บ้านจะเป็นร้านโชห่วย แต่ผมก็มองหาสินค้าใหม่ๆ ที่น่าจะเป็นกระแส ก็เลยเริ่มนำแผ่นดิสก์ แผ่นซีดี เข้ามาขาย จากนั้นก็ขายเทปพิมพ์ปริ้นเตอร์ กระดาษพิมพ์ จนตอนนี้ Officemate ขายกาแฟ และมียอดสั่งซื้อไม่แพ้ซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว ซึ่งเราต้องมองเรื่องความต้องการของลูกค้าให้ออก จะได้รู้ว่าควรนำสินค้าประเภทไหนมานำเสนอ หากคุณทำธุรกิจแบบเดิม ขายสินค้าแบบเดิมนาน 5-10 ปี เริ่มอันตรายแล้ว เพราะลูกค้าไม่รู้สึกแปลกใหม่ เค้าก็จะไม่เดินเข้าร้านคุณ เพราะมันไม่มี Magnet ดึงดูดเลยให้เกิดการจดจำเลย”

“หากคุณเป็นร้านค้ารายย่อย หรือธุรกิจใดก็ตามที่ต้องมีสินค้าคงคลัง ให้เริ่มทำบัญชีสต็อกสินค้าเข้าออกทันที เริ่มจากการทำทีละตู้ ทีละเชลฟ์ จะต้องมีการเช็คแบบสต็อกการ์ดคุมทุกร้าน คุณเป็นเจ้าของร้าน ขายอะไรออกไปต้องรู้ สินค้าหายต้องทราบ อาจต้องใช้เวลาทำนานหน่อยในช่วงแรก แต่ถ้ามีความพยายามจะสำเร็จได้ไม่ยาก หากยังไม่อยากลงทุนอะไรใหม่ๆ ก็เร่ิมจาก Manual ก่อน นับสต็อกด้วยมือซะ หรือหาเครื่องมือมาช่วย ถ้าไม่ทำ สินค้าคงคลัง (inventory)ในร้านตอนนี้ เหนื่อยแน่”

“ไม่มีใครแก่เกินเรียน ต้องเลิกปิดกั้นความคิดที่ว่า “ไม่มีเวลา” เพราะการที่คุณบอกไม่มีเวลา แต่ไปเที่ยวทะเล เดินห้าง ขับรถเที่ยวได้ แล้วทำไมถึงหาความรู้ไม่ได้ ค้นหาข้อมูลใหม่ๆ บน Google ฟังกลยุทธ์คนเก่งๆ จาก Youtube เข้าร่วมสัมมนาอัพเดทเทรนด์บ้าง คนเรามีช่องทางหาความรู้เยอะ อยู่ที่ว่า “ขยัน” หาความรู้ใส่ตัวหรือไม่”

สรุป ทางรอดของธุรกิจค้าปลีก คือ การหาพาร์ทเนอร์หรือที่ปรึกษามาช่วย คนในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ต้องรวมตัวกันสู้ อย่าอยู่คนเดียว เมื่อมีการรวมกันจะอยู่รอด และต้องขยันหาความรู้ใหม่ๆ เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก