แม้ว่า สไมลีย์ หรือโลโก้หน้ายิ้ม จะเปิดให้ใช้งานกันฟรีอยู่แล้ว แต่ก็มีพ่อค้าแม่ค้าหัวใสนำไปใช้ในเชิงการค้ากันจำนวนมาก มาอย่างยาวนาน ซึ่งการเข้ามาร่วมมือกับ CPN ในการผลิตและประดับสินค้าสไมลีย์ในบริเวณต่างๆ ของห้างก็นับได้ว่าเป็นการประกาศชัดเจนว่าต่อไป หากพบว่าใครนำไปใช้งานเชิงการค้าอีก จะมีการฟ้องร้องแน่นอน
ทำความรู้จักสไมลี่ย์
สไมลีย์ ไม่ใช่แค่ไอคอนหรืออีโมติคอนส์ แต่เป็น ไลฟ์สไตล์แบรนด์ (lifestyle brand) เป็นแบรนด์ ที่มีภาพชัดเจนและเป็นแบรนด์แห่ง ความสุข แฮปปี้ ความคูล–เท่ และความยูนีค–ไม่ซ้ำใคร (happiness ,cool และunique) ที่ส่งอิทธิพลต่อสังคมในหลากหลายมิติ ทั้งต่องานดนตรีของคนมาหลายเจนเนอเรชัน วัฒนธรรมป๊อป ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และแนวคิดในการสร้างสุข ซึ่งเป็นแบรนด์ของสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
เกียรติยศของไอคอนยิ้มแฉ่ง Smiley กับ 46 ปี แห่งความรุ่งเรือง
ไอคอนรูป วงกลมสีเหลืองกับลายเส้นเป็นหน้ายิ้มแฉ่ง ที่เรารู้จักในชื่อ สไมลีย์ (Smiley) กำเนิดขึ้นในปี 1972 โดยการออกแบบของ แฟรงคลิน ลูฟรานี (Franklin Loufrani) นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ที่ทำไอคอนขึ้นมาใช้ในแคมเปญโปรโมชันของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้ “หาเวลามาแจกยิ้ม” กันบ้าง (Take Time to Smile) และไอคอนหน้ายิ้มก็กลายมาเป็น ธุรกิจของครอบครัวลูฟรานี ซึ่งตั้งบริษัท เดอะ สไมลีย์ คอมพานี ขึ้นมา และยึดเอา ความมุ่งหวังในการส่งต่อความรู้สึกดีๆ และรอยยิ้มแห่งความสุขเป็น หัวใจสำคัญของธุรกิจ ( core value) และสินค้าของทางบริษัท
ต่อมาในยุค 90s นิโกลาส์ ลูฟรานี ทายาทรุ่นสองของลูฟรานี ที่สืบทอดธุรกิจหน้ายิ้มของรุ่นพ่อ แฟรงคลิน ลูฟรานี ได้สังเกตเห็น การเติบโตในการใช้ asci emoticons ในยุคอินเตอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายและใช้ในการสื่อสารประจำวัน อีโมติคอนส์ที่แทนความรู้สึกด้วยเครื่องหมายคั่นต่างๆ (punctuation marks) ใน การส่งข้อความบนมือถือ แช็ตออนไลน์และทางอีเมล์
นิโกลาส์ ลูฟรานี จึงทดลองใช้ ไอคอนหน้ายิ้ม สไมลีย์ สื่อสารแทนความรู้สึก โดยการดัดแปลงไอคอนหน้ายิ้มเป็นใบหน้าแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ แทนข้อความ ก่อนที่จะมีการสร้างอิโมติคอนส์ในยุคต่อๆมา
ลูฟรานียังได้ตีพิมพ์สไมลีย์ ดิคชันนารี หรือ พจนานุกรมภาษาภาพหน้ายิ้ม ( Smiley Dictionary) เป็นคู่มืออธิบายความหมายของไอคอนสไมลีย์หน้าต่างๆ หลายพันไอคอน และเป็นไอคอนสไมลีย์รุ่นแรกของโลก ที่ต่อมาได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนา อิโมจิส์ (emojis) ไอคอนแทนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลากหลายแทนคำพูดในปัจจุบัน
ณ วันนี้ สไมลีย์ ไม่ใช่แค่ไอคอนหรืออีโมติคอนส์ แต่เป็น ไลฟ์สไตล์แบรนด์ (lifestyle brand) เป็นแบรนด์ ที่มีภาพชัดเจนและเป็นแบรนด์แห่ง ความสุข แฮปปี้ ความคูล–เท่ และความยูนีค–ไม่ซ้ำใคร (happiness ,cool และunique) ที่ส่งอิทธิพลต่อสังคมในหลากหลายมิติ ทั้งต่องานดนตรีของคนมาหลายเจนเนอเรชัน วัฒนธรรมป๊อป ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และแนวคิดในการสร้างสุข
ขยายธุรกิจมาถึงภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
ธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เดอะสไมลีย์ คอมพานี (The Smiley Company ) ได้ขยายไปทั่วโลก ยอดค้าปลีกหรือรีเทล เซลส์รวมกว่า 419.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 โตแซงหน้ายอดในปีที่ผ่านมาถึง 59 เปอร์เซ็นต์ ด้วยสินค้าต่างๆในแบรนด์กว่า 14 ประเภท การเติบโตของบริษัท เดอะ สไมลีย์ คอม มุ่งสู่อนาคตสดใสภายใต้ชื่อ 2 แบรนด์คือ Smiley (สไมลีย์) และ SmileyWorld (สไมลีย์เวิลด์)
สไมลีย์ ได้ลงลุยตลาดสายแฟชันซึ่งเป็นแรงหนุนให้ธุรกิจโตต่อเนื่อง ด้วยการ ร่วมมือ (collaboration) สินค้าในไลน์ลักซัวรีต่างๆ (luxury) ของแบรนด์ระดับไฮเอนด์แถวหน้าของโลก ไม่ว่าจะเป็น Anya Hindmarch, Chinatown Market, Gucci, Moncler, Joshua Sanders, Michiko Koshino และ Moschino, ซึ่งมีไลน์สินค้าร่วมกับสไมลีย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
การจับมือกับแบรนด์แฟชันไฮเอนด์เหล่านี้ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าสำหรับ แบรนด์สไมลีย์ ในฐานะหน่วยธุรกิจค้าปลีกที่ต้องการยกระดับโปรดักท์และแบรนด์ทั้งให้อยู่ในสถานะ แบรนด์เก่าแก่ต้นฉบับ มีความเป็นออเตนติก แต่ยังเน้นชูคุณภาพในแง่ผู้สร้างสรรค์สินค้าระดับเบสต์เซลลิง คอลเลคชัน จากความเชี่ยวชาญจากการมองตลาดอย่างทะลุทะลวงอีกด้วย
องค์ประกอบเหล่านี้เป็นปัจจัยที่กลายเป็น ออรา มงกุฎเพชรของแบรนด์สไมลีย์เด่นสะดุดตาบรรดาพาร์ตเนอร์ธุรกิจค้าปลีกรายอื่นๆ รวมถึง แบรนด์แฟชันระดับมวลชนอย่าง Zara, Bershka, Pull & Bear, Urban Outfitters, Lee Jeans และ Best Seller ซึ่งผลการร่วมมือยังคงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
ในส่วน การร่วมมือทำแคมเปญโปรโมชันกับสินค้าไลน์ต่างๆ ก็เติบโตไม่น้อยหน้า และไฮไลต์ DNA ของสไมลีย์ ในการเป็นสารสื่อความสุข ความเท่ ความพิเศษ ที่ทำให้ผู้บริโภคได้ประสบการณ์ในการชอปปิ้ง ซึ่งทางสไมลีย์ได้มุ่งมั่นอย่างแท้จริงในการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างคอนเทนท์และสินค้าที่มีสายสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้จริง
ดังที่ปรากฏในธุรกิจ ที่ร่วมมือใน การพัฒนาแอพพลิคชันเกมส์และเออาร์ (games apps and Augment Reality-AR) จนถึงการสร้างป๊อปอัพคอนเซปต์และโฟโต้บูธ ในแคมเปญโปรโมชันที่ไลน์สินค้าต่างๆมาเป็นพาร์ตเนอร์กับสไมลีย์
บุกเข้าไทยผ่าน CPN
วิธีการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ เป็นเหตุผลสำคัญในเปิดพาร์ตเนอร์ชิปกับกลุ่มบริษัทเซนทรัล พัฒนา หรือซีพีเอ็น (CPN) เจ้าของห้างสรรพสินค้าปลีกเซนทรัลซึ่งเป็นการร่วมมือทางธุรกิจของสไมลีย์กับพาร์ตเนอร์รายล่าสุดที่เมืองไทยและตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สไมลีย์ ได้สร้างสรรค์อีเวนต์ในห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของเอเชียตอนเหนือ อย่าง ฮุนได ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ที่เกาหลีใต้ (Hyundai Department Stores Korea) อินฟินิตุส มอลล์ เซี่ยงไฮ้ (Infinitus Mall Shanghai) วิเวียนนา มอลล์ มุมไบ –อินเดีย (Viviana Mall ,Mumbai) ห้างกาแลกซี่ มาเก๊า ( Galaxy, Macau)และ แลงแฮม เพลส มอลล์ ฮ่องกง ( Langham Place Mall,Hong Kong)
อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวพาร์ตเนอร์ชิปกับกลุ่มเซนทรัลพัฒนาฯ หรือ CPN ในครั้งนี้ จะเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสเกลที่ใหญ่ที่สุดของการร่วมมือธุรกิจระหว่างสไมลีย์กับห้างสรรพสินค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การจับมือทำโปรโมชันระหว่าง สไมลีย์กับพาร์ตเนอร์ รายอื่นๆที่ประสบความสำเร็จ ในปีที่ผ่านมา รวมถึง Nestle Waters กับสินค้าน้ำแร่ Vittel ติดไอคอนสไมลีย์ กว่า 130 ล้าน ขวด สินค้าหลากหลายในเครือยูนิลิเวอร์ และ Huawei ซึ่งใช้สไมลีย์ไปใช้ในแคมเปญการตลาดของการเปิดตัวสมาร์ทโฟน Huawei รุ่น Nova2 ด้วย
การสร้างสรรค์ที่กลมกลืนกับสินค้าของพาร์ตเนอร์ต่างๆ เป็นตัวผลักดันสำคัญที่ทำให้แบรนด์สไมลีย์เติบโตทั้งทางธุรกิจและสร้างสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นแฟนของหน้ายิ้มได้ด้วย
การขยายธุรกิจไปใน จีน ฮ่องกง เกาหลีและเอเชียตอนเหนือ ในช่วงหลายปีหลัง เป็นกลยุทธในปักธงแบรนด์สไมลีย์ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งความสำเร็จที่ผ่านมากลายเป็นรากฐานสำคัญของแบรนด์สไมลีย์ รวมถึงความสำเร็จในการร่วมมือกับรีเทลเลอร์สชั้นนำอย่าง Selected, Metersbonwe และ C&A China ในจีน เป็นสปริงบอร์ดขยายธุรกิจสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ล่าสุด ทางสไมลีย์ ได้แต่งตั้ง มารี คอปป์ (Marie Kopp) เป็นผู้อำนวยการจัดการทั่วไป(MD)เพื่อดูแลธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยพุ่งเป้ามาที่ประเทศไทย เพราะเล็งเห็นตลาดที่มีความหลากหลายและศักยภาพที่จะโตต่อเนื่อง จากผู้บริโภคที่สนใจในแฟชันและไลฟ์สไตล์ซึ่งจะเชื่อมติดกับสไมลีย์แบรนด์ได้อย่างแน่นอน