ตลาดเดลิเวอรี่โตมากกว่า 6 เท่าและ GET เข้ามาไทยเพียง 6 เดือน มีการเติบโตมากถึง 168% เรียกได้ว่าโอกาสในตลาดเดลิเวอรี่นั้น ยังมีโอกาสอีกมาก แม้ว่าคนรุ่นใหม่จะใช้งานบริการของ GET กันแล้ว แต่ยังมีร้านอาหารแบบออฟไลน์และคนอีกหลายกลุ่มที่ยังไม่รู้จัก GET ดีพอ
เน้นสื่อสารแบบออฟไลน์มากขึ้น
แม้ว่า GET จะทำตลาดออนไลน์อย่างต่อเนื่องจนเข้าไปถึงใจของคนรุ่นใหม่ที่ใช้งานออนไลน์แล้ว แต่เราก็ต้องพยายามสื่อสารให้คนที่ไม่ได้เข้าถึงออนไลน์แบบ 100% รู้จักแบรนด์ของเรามากขึ้น
นายก่อลาภ สุวัชรังกูร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด GET กล่าวว่า เราเปิดเผยเรื่องเม็ดเงินท่ีจะใช้งานไม่ได้ แต่บอกได้แค่ว่าจะเน้นสัดส่วนไปที่การทำตลาดผ่านสื่อนอกบ้าน หรือ Out of Home เพื่อเน้นเรื่องการสร้างการรับรู้แบรนด์ให้มากขึ้น รวมทั้งใช้สื่อวิทยุหรือพอดแคสต์ เพราะคนรุ่นใหม่เดินทางเยอะขึ้น และต้องการฟังคอนเทนต์ที่ตัวเองต้องการ เราจึงใช้กลยุทธ์นี้ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของเรา
นอกจากนี้ ก็เลือกใช้พรีเซนเตอร์อย่าง นนท์ ธนนท์ จำเริญ นักร้องหนุ่มที่มีเพลงฮิตติ
นายภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GET กล่าวถึงกระแสการเปิดบริการใหม่ของคู่แข่งอย่าง GRAB walk ว่า เราเห็นการเปิดใช้บริการฟีเจอร์นี้แล้ว คิดว่าเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจดี แต่การทำธุรกิจเดลิเวอรี่ของไทยยังมีต้นทุนสูงกว่าเพื่อนบ้าน 3 เท่า และเคยเป็นหนึ่งในแผนที่เราคิด แต่ร้านอาหารเดินไปหาลูกค้าไกลมากและดูจะลำบากเกินไป ก็เลยจะมีแผนบริการที่เชื่อมระหว่างการเดินกับการขนส่งรูปแบบอื่น ซึ่งจะเปิดให้บริการเร็วๆนี้
ทางด้านของความท้าทายในอุตสาหกรรมเดลิเวอรี่นั้น คือเราต้องการให้เซอร์วิสทุกอย่างนิ่งจึงต้องวิ่งให้เร็ว เพื่อทันกันความต้องการของผู้บริโภค ประสบการณ์ในการเข้าใช้งานต้องดี ทรานเซคชั่นในแต่ละบิลต้องจบได้ไว จับความต้องการเรื่องพฤติกรรมการกินอาหารได้ดีไม่แพ้แอพอื่นๆ และทำให้คนหันมาเปิดร้านอาหารเพื่อรองรับความต้องการของคนออนไลน์มากขึ้น
ในต่างประเทศ เคยมีเคสว่านักศึกษาจบใหม่ มีเงินทุนตั้งต้นเพียง 20,000 บาท ก็เปิดร้านอาหารได้แล้ว โดยเน้นที่การส่งขายออนไลน์อย่างเดียว ทำให้ต้นทุนเขาไม่สูงและบริหารจัดการระบบได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งเชื่อว่าในไทยเองเทรนด์นี้ก็คงตามมาในไม่ช้า
ตั้งแต่วันที่เข้ามาบุกตลาดไทย เพียง 6 เดือนก็โตกว่า 6 เท่าแล้ว เชื่อว่าหากเราสามารถสื่อสารให้คนออฟไลน์หรือหน้าร้านอาหารที่ไม่รองรับออนไลน์เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกเมนูสำหรับลูกค้าได้ ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว จึงเป็นเหตุผลให้ GET พยายามกระตุ้นให้ร้านค้าในระบบที่มี 20,000 ร้านค้า ทำรายได้ที่มั่นคงก่อนและไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีปริมาณร้านอาหารในระบบมากๆ แต่รายได้ไม่ดี
ส่วนบริการที่ GET จะเน้นหนักคือเรื่องของ GET PAY ที่จะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบเร็วๆ นี้หลังจากร่วมมือกับ SCB แล้ว เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของเราเน้นจ่ายเงินสด รวมทั้งจำนวนบัตรเครดิตก็ไม่ได้ครอบคลุมคนไทยทุกกลุ่ม การผลักดัน GET PAY ให้ใช้งานได้สะดวก น่าจะเป็นเรื่องที่สำเร็จได้ไม่ยาก ช่องทางการเติมเงินก็สะดวก จึงคาดว่าจะเข้าถึงคนท่ีมีและไม่มีบัตรเครดิตได้ทั้งนั้น แต่ก็มองเรื่องการตัดผ่านบัตรเครดิตเช่นกัน มีอยู่ในแผนที่วางไว้แต่ยังไม่ถือว่าเร่งด่วน
ให้ DATA ทำนายกัน
ทางด้านของเทคโนโลยี ที่ได้จากทาง GOJEK และนำมาใช้งานนั้น คือเรื่องของ DATA เพราะบริษัทด้านเทคโนโลยีทุกแห่งมองว่า การนำ DATA มาใช้ให้เกิดประโยชน์ คือการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด ทั้งเรื่อง User Experience และ User Interface คือใช้งานได้ง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างคุ้มค่า
วงศ์ทิพพา วิเศษเกษม ผู้อำนวยการธุรกิจ GET FOOD กล่าวว่า “นอกจากแคมเปญพิเศษนี้แล้ว ทีม GET FOOD เรายังให้ความสำคัญกับการพัฒนา User Experience หรือการใช้งานต่างๆ ให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยที่ผ่านมาเราได้เก็บข้อมู
ในไตรมาสนี้ เราพร้อมที่จะเปิดตัวฟีเจอร์
ด้วยพฤติกรรมของลูกค้ากว่า 58% ที่นิยมค้นหาเมนูต่างๆ ก่อน เพื่อดูว่าลูกค้าค้นหาอะไร เมนูไหนที่พวกเขาต้องการ โดย 3 เมนูยอดนิยมที่คนค้นหามากที่สุดคือ ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังและส้มตำ จากนั้น ก็จะค้นหาจากราคาที่เหมาะกับกำลังทรัพย์ในการจ่าย และเมนูเด็ดประจำวัน
นอกจากนี้ สิ่งที่ลูกค้ามองหามากที่สุดคือเรื่องของส่วนลดหรือโปรโมชั่น และบางครั้งลูกค้าอาจจะลืมกรอกส่วนลด ระบบของ GET จะดึงส่วนลดที่ลูกค้ามีและเคยเพิ่มเข้าไปในฐานข้อมูล หากสั่งแล้วลืมใส่โค้ด ระบบจะมีการคัดกรองส่วนลดที่ใกล้หมดอายุมาให้ใช้งานก่อน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน
การแข่งขันด้านเดลิเวอรี่กำลังร้อนแรง เรียกว่าเป็น 1 ใน 3 ของธุรกิจที่กำลังจะสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อรายได้เข้าสู่ประเทศ แน่นอนว่าผู้เล่นแต่ละรายที่เป็นรายใหญ่ต่างก็ต้องทุ่มสุดตัวเพื่อครองส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่ที่สุด