ขอนำเสนอบทสรุปของช่วงที่แซ่บที่สุดในงาน Creative Talk ครั้งที่ 5 เพราะ Speaker ทุกคนไม่ยอมนั่ง! แถมยังแข่งกันปล่อยมุกตลอด 1 ชั่วโมงเต็ม ได้ทั้งสาระและเสียงหัวเราะ มาดูกันเลยว่า 1 ชั่วโมงนี้เราได้อะไรกันมาบ้าง
- ปีที่แล้วเป็นปีแห่งวิดีโอ ทุกแบรนด์ทำวิดีโอ ใครๆ ก็ทำ แต่มีแพลตฟอร์มอยู่ไม่กี่อย่าง หลักๆ คือ Facebook ซึ่งไม่ว่าจะทำอัลกอรึธึ่มแบบไหนมาเราก็ต้องทำตาม พูดง่ายๆ คือ Facebook พาเราไปทางไหนเราก็ไปทางนั้น และปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งก็คือ Facebook ไม่ใช่ที่สำหรับแบรนด์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นของทุกคน จะเห็นว่าคอนเทนต์ดีๆ ที่แชร์กันเยอะๆ ก็มาจากคนทั่วๆ ไปนี่แหละที่สร้างขึ้นมา
- 3G 4G เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสร้างสิ่งที่เราเห็นในทุกวันนี้ การที่ทุกๆ Gen มาอยู่บนดิจิทัลก็เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ซึ่งที่ผ่านๆ มา ผู้ให้บริการเครือข่ายก็จะแข่งกันในเรื่องความเร็ว และมันก็มาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว สเต็ปต่อไปจะเป็นการแข่งขันด้วยคอนเทนต์
- โอกาสที่มีมากขึ้นจะเป็นตัวคัดกรองผู้ให้บริการ และจะไม่ได้แข่งกันเองในประเทศอีกแล้ว เพราะคู่แข่งจากทั้งอาเซียนและอีกหลายๆ ประเทศในโลกก็จะเข้ามา
- สำหรับปีนี้และปีต่อๆ ไป จะเป็นปีของ “ความจริง” เพราะคนต้องการอะไรที่จริงมากขึ้น เพราะโดนหลอกกันมาเยอะแล้วทั้งจากแบรนด์และจากพาดหัว Clickbait ในปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าฟีเจอร์ประเภท 360 องศาจากทั้ง Facebook และ YouTube หรืออะไรๆ ที่มันทำให้เห็นไปพร้อมๆ กันแบบสดๆ จะได้รับความนิยมมากขึ้น โจทย์ต่อไปจึงเป็น “เราจะถ่ายทอดความจริงของเราด้วยเครื่องมืออะไร และอย่างไร”
- คนผลิตคอนเทนต์ต้องคิดเรื่องความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องแรกๆ และเครื่องมือที่จะเอามาใช้ เราจะได้ยินเรื่อง Micro targeting มากขึ้น คือกลุ่มเป้าหมายอาจจะเล็กลง แต่ต้องเข้าถึงจริงๆ ประเด็นสำคัญๆ จะอยู่ที่เครื่องมือในการเข้าถึงและความน่าเชื่อถือ
- คอนเทนต์จะเริ่มเหนือกว่า Real-Time เพราะคนต้องการเสพคอนเทนต์แบบ In-The-Moment คือเห็นไปพร้อมๆ กันกับคนเล่าเรื่อง การรับชม Live บน Facebook เป็นประสบการณ์ใหม่ เช่น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทำ Live บน Facebook เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศการฉลองแชมป์ ให้คนดูตื่นเต้นไปพร้อมๆ กับคนถ่ายทอดสด เครื่องมือที่ใช้ก็มีแค่สมาร์ทโฟนเท่านั้น
- นอกจากนี้ ช่วงปลายปีที่ผ่านมาเราจะเห็น Infographic น้อยลง เพราะมันกลายเป็นเรื่องเล่าแบบ 20 รูป เป็นการปรับตัวของคอนเทนต์อีกแบบหนึ่ง เพราะบนออนไลน์ต้องทำอะไรสั้นๆ เร็วๆ และจะเห็นได้ว่าคอนเทนต์แบบนี้ถูกริเริ่มโดยคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่แบรนด์ แต่พอดังแล้วแบรนด์ก็ตามมา ดังนั้น ออนไลน์จึงเป็นที่ของคนทำงานเร็ว
- สำหรับวิดีโอบน Facebook ต้องระวังเรื่องการวัดผล ยอดวิวที่เห็นจะเฟ้อเกินจริง เพราะมันนับวิวให้ตั้งแต่ Auto play ดังนั้น การดูตัวเลขอย่างเดียวไม่พอ ต้องไปดูปลายทาง หรือ Conversion ที่เราต้องการ
- วิดีโอที่ถูกที่สุดคือวิดีโอที่มีคนแชร์เยอะ แต่วิดีโอที่แพงที่สุดคือวิดีโอที่ไม่มีคนแชร์
- โจทย์ของคนทำคอนเทนต์ไม่ใช่ทำยังไงให้ดัง แต่ควรจะเป็นทำยังไงให้ยั่งยืน เด็กสมัยนี้เป็น CEO กันได้หมด คือเป็น Chief Entertainment Officer ทำอะไรตลกๆ แล้วก็เกิดได้ แต่เกิดแค่แป้บเดียว ต้องคิดเรื่องคุณค่าที่ส่งมอบให้คนอ่าน คนฟัง หรือกลุ่มเป้าหมาย ถ้ามีคุณค่าจริงไม่ต้องกลัวว่าเครื่องมือมันจะเปลี่ยน
- ในแง่ของ Blogger หรือ Influencer ทุกวันนี้คนกลุ่มนี้มีพาวเวอร์ในการโน้มน้าวน้อยลง แต่เชื่อว่าเรากำลังจะกลับไปถึงจุดที่ Blogger มีอิทธิพลในการชวนเชื่ออีกครั้ง เนื่องจากมาร์เก็ตเตอร์เริ่มรู้มากขึ้น รู้ว่ามีการปั่นยอดไลค์ รู้หลุมพรางการปั้นแต่งตัวเลข ทำให้ความซับซ้อนในการเลือกใช้ Influencer มีมากขึ้น จุดนี้แหละที่จะทำให้เราย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นได้
- หน้าที่ของ Influencer จะไม่ใช่การสร้าง Awareness แต่จะต้อง Influence จริงๆ เพราะถ้า Influencer พยายามจะสร้าง Awareness เขาจะกลายเป็น Web portal คือเป็นจับฉ่าย แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตัวเองเลย
- ถ้าบล็อกเกอร์แสดงความเฉพาะด้านออกมา แบรนด์ก็จะเลือกได้ง่ายขึ้น พูดง่ายๆ คือบล็อกเกอร์ต้องมีแบรนด์ของตัวเอง แต่ทุกวันนี้ยังมีบล็อกเกอร์จำนวนมากที่ไม่รู้ว่าคนอ่านของตัวเองเป็นใคร แบรนด์เองก็อยากรู้ว่าบล็อกเกอร์แต่ละคนถือ reader กลุ่มไหนอยู่ เพราะจะเลือกใช้ได้ง่าย
บทสรุปสำหรับ Session Digital Marketing
รู้จักลูกค้าให้มากๆ เพื่อที่จะ…
- Make in personal: ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเรากำลังพูดกับเขาอยู่แค่คนเดียว
- Make it instant: เข้าถึงลูกค้าอย่างรวดเร็วเสมอ
- Make it connect ทำให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ได้ง่าย สำหรับธุรกิจใหญ่อาจจะหมายถึง Internet of things หรือเทคโนโลยีราคาแพง แต่สำหรับแบรนด์เล็กๆ อาจจะเป็นการสร้างกิมมิคที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษขึ้น
- Make experience: สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ และใช้ data ให้เป็นประโยชน์
นอกจากนี้ ในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป เราจะได้เห็นระบบอีคอมเมิร์ซที่มาผูกกับระบบ CRM และธุรกิจที่ให้บริการเก็บข้อมูลจะเกิดขึ้นตามมา
ที่สำคัญคือต้องไม่ลืมว่า Digital Marketing เป็นมากกว่า YouTube หรือ Facebook แต่คือทุกอย่างที่หลุดจากออนไลน์ไปหาออฟไลน์ และจากออฟไลน์มาหาออนไลน์
โซเชียลมีเดียจะไม่ใช่ที่ของการพักผ่อนหย่อนใจอีกต่อไป แต่จะกลายเป็น Google ที่ทุกคนจะเข้ามาค้นหาอะไรก็ได้ กลายเป็น Discovery tool แบบหนึ่ง โจทย์ของคนทำคอนเทนต์คือต้องทำให้คอนเทนต์อยู่ถูกที่ถูกเวลาที่คนต้องการมัน
พูดง่ายๆ คือ คอนเทนต์ก็เหมือนน้ำ (Content like water) ต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปตามภาชนะที่มันอยู่ คุณค่าและคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ (คุณและคุณเท่านั้น)
ขอปิดท้ายด้วยรูปเซลฟี่ในตำนานของ บก. Thumbsup 🙂
หมายเหตุ สำหรับ Speaker ในช่วง Digital Marketing ได้แก่ คุณชรัตน์ เพ็ชรธงไชย – Editor in chief บรรณาธิการ ThumbsUp คุณกสม วิชชุลดา – Marketing Communication Savoey Restaurant, Hotel’s Digital Consultant คุณสรรเสริญ สมัยสุต – หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการ