ยุคที่โลกทั้งใบเชื่อมโยงกันเพียงปลายนิ้วสัมผัสอย่างไร้พรมแดน เราสามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลได้ตลอดเวลาบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ จนไม่อาจปฎิเสธได้ว่าโลกออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญกับชีวิต แม้แต่ในสนามของการทำธุรกิจก็ตามที
คำว่า “Digital Marketing” จึงกลายเป็นคำสำคัญในแวดวงธุรกิจที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะพากันพูดถึงให้ทั่ว เราจะมาเจาะลึกการตลาดแขนงนี้ เพื่อทะยานสู่ความสำเร็จในโลกยุคดิจิทัลไปด้วยกัน
รู้จัก Digital Marketing
Digital Marketing คือการใช้ช่องทางดิจิทัลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อโปรโมตสินค้าหรือบริการให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อดึงดูดลูกค้าและสร้างความสัมพันธ์ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายต่อไปในอนาคต
ซึ่งจุดแข็งหลักๆ ของ Digital Marketing คือ การสื่อสารแบบสองช่องทาง กล่าวคือทางด้านของแบรนด์หรือผู้ประกอบการ สามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้ทุกเมื่อที่ต้องการ นอกจากนี้ ยังสามารถรวบรวมข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งกว่าเดิม
ประเภทของ Digital Marketing
1. การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO) : SEO เป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้แสดงผลลัพธ์เป็นอันดับต้นๆ บน Google เพื่อเพิ่มยอดเข้าชมแบบออร์แกนิก ทั้งการหาคำหลัก (keyword research) การเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาและการสร้างลิงก์เพื่อปรับปรุงอันดับของเว็บไซต์
2. การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย : การโปรโมตผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram และ LinkedIn เพื่อสร้างการเชื่อมโยงกับลูกค้าด้วยการแชร์เนื้อหาและโต้ตอบโดยตรง
3. อีเมลมาร์เก็ตติ้ง : ส่งข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์บริการหรือกิจกรรมต่างๆไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงเป็นวิธีรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้ากระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าใหม่และกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ
4. Content Marketing : มุ่งเน้นสร้างเนื้อหาคุณภาพที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับแบรนด์ อาทิ การเขียนบทความ ทำวิดีโอ infographic โดยนอกจากจะดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มความสนใจให้อยากซื้อสินค้าและบริการ ยังสร้างคุณค่าและภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์อีกด้วย
5. การโฆษณาแบบจ่ายต่อคลิก (PPC) : การทำโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มในเครื่องมือค้นหา ซึ่งจะมีการคิดค่าใช้จ่ายจากจำนวนคนที่คลิกโฆษณานั้น โดย PPC ที่หลายธุรกิจนิยมใช้ คือ Google Ads เพื่อให้เว็บไซต์ติดขึ้นอันดับบนสุดของผลค้นหา Google
6. การตลาดแบบพันธมิตร (Affiliate Marketing) : เป็นการประชาสัมพันธ์แบรนด์ผ่านทางตัวแทนบนช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ในรูปแบบของลิงก์สินค้าและมีค่าตอบแทนให้เป็นค่าคอมมิชชัน
7. วิดีโอมาร์เก็ตติ้ง : ใช้วิดีโอเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการในหลากหลายรูปแบบอาจจะเป็นโฆษณาวิดีโอให้ความรู้ หรือบล็อต่างๆ
8. Mobile Marketing : การตลาดที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะเพื่อสื่อสารกับลูกค้าโดยตรงทุกเวลา สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น SMS Marketing ส่งข่าวสาร โปรโมชันผ่าน SMS และการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้เหมาะกับจอสมาร์ตโฟน (Mobile-friendly)
ทำความเข้าใจ..การตลาดดิจิทัลทำงานอย่างไร
การกำหนดเป้าหมายผู้ชม
การตลาดแบบดิจิทัลช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตามข้อมูลประชากร ความสนใจ พฤติกรรม สถานที่นำไปสู่แคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลและการวิเคราะห์
ยิ่งมีข้อมูลและการวิเคราะห์ในเชิงลึก รวมถึงแนวโน้มของตลาดคู่แข่งและการประเมินประสิทธิภาพของแคมเปญ ทำให้นักการตลาดวางแผนการทำแคมเปญสื่อสารได้ตรงจุด
Customer Journey and Sales Funnels
ประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่เริ่มรู้จักผลิตภัณฑ์หรือบริการไปจนถึงตัดสินใจซื้อสำคัญมากๆ ฉะนั้น ผู้ประกอบการณ์ไม่ควรจะละเลยแม้แต่สักขั้นตอนเดียว เพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกลายเป็นลูกค้าประจำในที่สุด
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)
สิ่งที่จะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ขึ้นใจ คือ อัตลักษณ์ หรือภาพจำของแบรนด์ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการสื่อสารไปในทิศทางเดียวกันทุกแพลตฟอร์ม ประกอบกับความสม่ำเสมอในการอัปเดตข้อมูลก็จะสร้างความเข้าใจให้กับลูกค้าไปในทางเดียวกัน
บทบาทของการตลาดดิจิทัลในแง่ของการทำธุรกิจ
บทบาทต่อการรับรู้และชื่อเสียงของธุรกิจ
การตลาดดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการสร้างการรับรู้และชื่อเสียงของแบรนด์ โดยการใช้ประโยชน์จากช่องทางดิจิทัลด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงผู้ชมกว้างมากขึ้น ปรับสถานะทางออนไลน์ให้แข็งแกร่งขึ้น และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น การทำ SEO การตลาดเนื้อหา และการทำการตลาดบนแพลตฟอร์ม Social Media เทคนิคเหล่านี้เป็นการตลาดที่ช่วยเพิ่มอัตราการมองเห็นและชื่อเสียงของแบรนด์ในอนาคต
บทบาทในการสร้างโอกาสในการขาย
กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมีความสำคัญต่อการสร้างโอกาสในการขาย ช่วยดึงดูดและรักษากลุ่มลูกค้า ให้ไปตาม Sale Funnels จนไปสู่การซื้อขาย
บทบาทในการมีส่วนร่วมและความภักดีของลูกค้า
ด้วยการสื่อสารแบบสองทางของการตลาดดิจิทัลช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของลูกค้า ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน รวมถึงการรวบรวมคำติชมมาปรับปรุงการให้บริการที่ดีขึ้น จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ในระยะยาว
บทบาทต่อการศึกษาตลาดและคู่แข่ง
การตลาดดิจิทัลมีเครื่องมือที่หลากหลายสำหรับการวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่ง เพื่อทำความเข้าใจแนวโน้มของตลาด ความชอบของลูกค้า และกลยุทธ์ของคู่แข่ง ข้อมูลเหล่านี้มีค่าอย่างมากสำหรับการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด และยังช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดด้วย
นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจมองเห็นช่องว่างในตลาด และสามารถนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ให้มีประสิทธิภาพและสามารถนำหน้าคู่แข่งได้
การตลาดดิจิทัลไม่ได้เป็นเพียงเทรนด์ แต่เป็นแง่มุมพื้นฐานของธุรกิจสมัยใหม่ ที่สามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วโลก สามารถกำหนดเป้าหมายลูกค้าได้ และยังให้ผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้จริง ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจทุกขนาดและทุกภาคส่วน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องทำให้การตลาดดิจิทัลกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น
ในแง่มุมของธุรกิจที่มีบทบาทต่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้ ช่วยให้การปรับเปลี่ยนและการพัฒนากลยุทธ์เพื่อดึงดูดผู้ชมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มต้นเส้นทางการตลาดดิจิทัลหรือพยายามเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์ที่มีอยู่
หากต้องการผู้เชี่ยวชาญในการทำการตลาดดิจิทัลสามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ Minimice Group Digital Agency ที่พร้อมให้บริการ Digital Marketing แบบครบวงจรในประเทศไทย
สนใจติดต่อทำ Digital Marketing ได้ที่
- Website: https://minimicegroup.co.th/
- Facebook: Minimice Group
- Email: info@minimicegroup.com
- Tel: 098-867-8937