Site icon Thumbsup

‘ดิจิตอลสตรีมมิ่ง’ แรงผลักดันสำคัญของอุตสาหกรรมเพลง ช่วยศิลปินไทยเติบโตสู่ระดับโลก

อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก ปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เทียบกับปี 2022 แรงขับเคลื่อนหลักมาจาก Digital Streaming คิดเป็น 88% ของการเติบโตทั้งหมด

ทางด้านของเหตุผลที่ช่วยให้สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มมีการเติบโตได้นั้น มาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

โดยพบว่าราคาค่าสมาชิก Subscription สูงขึ้นถึง 2 เท่าจาก 99 บาท เป็น 179 บาท และมีโอกาสเติบโตขึ้นต่อได้อีก 3 เท่า หากอ้างอิงตาม Developed Market ประเทศไทยยังคงมีช่องว่างที่ให้ขยายโอกาสเติบโตให้กับอุตสาหกรรมอีกมาก

Penetration เติบโตอย่างต่อเนื่อง

จากการคาดการณ์ของ Midia ยอด subscription ของประเทศไทย จะเติบโตสูงถึง 4 เท่าใน 7 ปี (2023-2030) จาก 3.2% ไปเป็น 11% และยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกเท่าตัว เมื่อเทียบกับประเทศ emerging country อย่างญี่ปุ่นและเกาหลี ที่มียอด subscription penetration อยู่ที่ 25% และ developed country อย่าง Sweden และ United States ที่มียอด subscription penetration อยู่ที่ 45%

Music IP สร้างมูลค่าอย่างไร?

Music IP คือ หัวใจสำคัญของการสร้างรายได้จากการเผยแพร่ การนำไปใช้ การดัดแปลง และอื่นๆ อีกมากมาย

  1. คอนเทนต์: เพลง มิวสิควิดีโอ คอนเสิร์ตออนไลน์ Podcast และ อื่นๆ ล้วนเป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดผู้บริโภค สร้างรายได้ และ ขยายฐานแฟนคลับ
  2. Large scale of Content = โอกาสทอง เพราะการมี จำนวน IP มหาศาล เปรียบเสมือน “สินทรัพย์” ที่มีมูลค่ามหาศาล และสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว เปรียบเสมือนเหมือนกับ “ขุมทรัพย์ทอง” ที่มีค่าและไม่รู้จักหมด และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาศิลปินเพียงคนเดียว และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
  3. เข้าถึงผู้ฟัง ทุกกลุ่มเป้าหมาย: คอนเทนต์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ฟัง ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสไตล์สร้างประสบการณ์ดนตรี แบบ 360 องศา: ไม่ใช่แค่การฟังเพลง แต่เป็นการ “สัมผัส” ดนตรีในรูปแบบต่างๆ ที่ Premium และ แตกต่าง
  4. คนไทยฟังเพลงมากกว่าเล่นโซเชียลมีเดีย พลังแห่ง Evergreen Content ที่สร้างรายได้ไม่รู้จบ! ฟังซ้ำ ดูซ้ำ ไม่มีเบื่อ เพลงฮิตสร้างรายได้ ข้ามยุคสมัย

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยมีแนวโน้มในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือพฤติกรรมการใช้เวลากับกิจกรรมด้านความบันเทิงของคนไทย

จากการศึกษาของ Luminate Music Consumption Study พบว่าในปี 2566 การฟังเพลงเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่คนไทยนิยมสูงสุดถึง 75% ตามด้วยลำดับที่สอง คือการเสพคลิปสั้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่ 60% ลำดับสาม คือการเล่นโซเชียลมีเดีย และดูคลิปทำอาหารซึ่งครองอันดับร่วมกันที่ 56% แสดงให้เห็นว่าการฟังเพลงคือสิ่งที่คนไทยชื่นชอบและเป็นสื่อที่มีโอกาสในการสร้างรายได้จากคนไทยได้มากที่สุด

เพราะพฤติกรรมการฟังเพลงของคนไทย สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ “เพลง” ในฐานะ Evergreen Content ที่ไม่มีวันตาย ไม่ว่าจะเป็นเพลงใหม่ เพลงเก่า เพลงไทย ล้วนมีเสน่ห์ที่ดึงดูดให้ผู้คน “ฟังซ้ำ” และ “ดูซ้ำ” ได้อย่างไม่มีเบื่อ

ยิ่งกว่านั้น หากเจาะลึกไปที่พฤติกรรมการฟังเพลงแล้ว พบว่าคนไทยชื่นชอบการรับชม MV (มิวสิควิดีโอ) มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งที่ 87% แซงหน้าการฟังเพลงผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่าง ๆ ซึ่งคว้าลำดับสองที่ 68% ตามด้วยการรับชมคลิป MV สั้นผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อาทิ TikTok, FB/IG Reels หรือ Shorts ของ YouTube ที่ 61%

นอกจากนั้น ยังมีการฟังเพลงผ่านวิทยุ และการฟังเพลงผ่านแผ่นซีดีที่หลายคนคิดว่าตายไปแล้ว กลับคว้าอันดับที่ 4 และ 5ตามลำดับ จึงจะเห็นได้ว่าแล้วยิ่งโซเชียลมีเดียก้าวหน้ามากเท่าไหร่ การฟังเพลงเองก็เติบโตสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงเพลงที่กว้างขวางมากขึ้น

ทั้งนี้ โลกดิจิทัลยังเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงดนตรีได้ง่าย และ สะดวก กว่าที่เคย สร้าง “ฐานผู้ฟัง” ที่ใหญ่ขึ้น และ กระจายตัว ไปทั่วโลก Music IP คือขุมทรัพย์: ลิขสิทธิ์เพลง ศิลปิน และ คอนเทนต์ ล้วนเป็น “ทรัพย์สิน” ที่มีมูลค่ามหาศาล สามารถต่อยอด และ สร้างรายได้ ในหลากหลายช่องทาง

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี คือตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์ม Streaming, Social Media, และ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยให้ศิลปิน เข้าถึงแฟนเพลงได้ง่ายขึ้น สร้าง Engagement และ โอกาสทางธุรกิจ ที่ไม่สิ้นสุด ธุรกิจเพลง ไม่ใช่ Sunset แต่เป็น Sunrise!

ถึงเวลาแล้ว ที่เราต้อง “เปลี่ยนมุมมอง” และ มองเห็น “ศักยภาพ” ที่แท้จริงของธุรกิจเพลงในยุคดิจิทัล