Site icon Thumbsup

Do and Don’t กลยุทธ์สำหรับการตลาดออนไลน์

การพัฒนากลยุทธ์การตลาดออนไลน์เป็นเรื่องสำคัญที่นักการตลาดควรจะเพิ่มคุณค่า สร้างความเชื่อมั่น พร้อมปรับกลยุทธ์การขายให้เหมาะสมกับรูปแบบออนไลน์

Thumbsup ขอนำเสนอ Do and Don’t กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ เพื่อเป็นเช็กลิสต์สิ่งที่ควรทำและข้อที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กันทันที

ตั้งเป้าหมาย

ก่อนที่จะเริ่มแคมเปญหรือกลยุทธ์ต่างๆ นักการตลาดควรตั้งเป้าหมายว่า ต้องการเข้าถึงคนกี่คนในหนึ่งวัน? ต้องการสื่อสารเรื่องอะไร? แล้วจะสื่อสารแบบไหน? คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถโฟกัสได้มากขึ้น รวมถึงช่วยในการวัดและประเมินผลอีกด้วย

ไม่วางแผน

การเริ่มแคมเปญหรือกลยุทธ์โดยขาดการวางแผนก็เหมือนกับการเดิมพันความพยายามของตัวเอง หากขาดเป้าหมายและตัวชี้วัดก็ยากที่จะดำเนินงานและแก้ปัญหาให้ตรงจุด

มีส่วนร่วม

การตลาดออนไลน์คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกค้า การมีส่วนร่วมจะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น ลูกค้าเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อสาร แคมเปญและกลยุทธ์ต่างๆ ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

อย่าสื่อสารทางเดียว

โซเชียลมีเดียเป็นการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ลูกค้าบนโซเชียลมีเดียไม่ได้ต้องการรับรู้ข่าวประชาสัมพันธ์หรือประกาศแคมเปญเพียงอย่างเดียว ถือเป็นการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ 

สร้างความน่าเชื่อถือ

ลูกค้าบนโซเชียลมีเดียจะรู้ได้ทันทีหากธุรกิจหรือแบรนด์พยายามขายสินค้าหรือบริการมากเกินไป พยายามเป็นตัวเองเพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ง่ายขึ้น สร้างความสัมพันธ์ ทำความเข้าใจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

ทำตัวไม่จริงใจ

ความไว้ใจเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ลูกค้าจะติดสินใจซื้อสินค้า เมื่อลูกค้าไว้ใจก็จะมีโอกาสที่จะซื้อสินค้ามากกว่า เช่น เว็บไซต์น่าเชื่อถือ รีวิวจากลูกค้า รูปภาพของสินค้า เป็นต้น

สร้างคุณค่า

เมื่อเรามีส่วนร่วมกับลูกค้าบนโซเชียลมีเดียมากขึ้น ให้พยายามสร้างคุณค่าให้กับการสื่อสาร เนื้อหา (คอนเทนต์) ที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้จะช่วยให้เรากลายเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าจดจำ (Top of Mind)

ขายของเกินไป

โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเริ่มต้นขายสินค้า แต่ยากที่จะปิดการขาย ถ้าเราสร้างเนื้อหาโดยไม่ดึงความต้องการหรือปัญหาของลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม ทำไมลูกค้าต้องซื้อสินค้าหรือบริการของเรา?

รับฟังลูกค้า

โซเชียลมีเดียมีเครื่องมือมากมายที่จะช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ติดตาม ทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าว่าเปนกลุ่มคนแบบไหน ลูกค้าสนใจอะไร มีปัญหาเรื่องไหน เพื่อให้เราสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด

ไม่ใส่ใจลูกค้า

การสร้างเนื้อหา (Content) แล้วสื่อสารออกไปเป็นเรื่องง่าย แต่เนื้อหามีประโยชน์ต่อลูกค้าหรือไม่ การสื่อสารโดยไม่ศึกษาและมีส่วนร่วมกับผู้ติดตามจะทำให้เราพลาดกุญแจในการสื่อสารไป

อ้างอิง salesforce