สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับ Emoticon อย่าง 🙂 เป็นอย่างดี แต่ในบางครั้งการใช้งานอาจมีการย่อจนเหลือแค่ : ) และในบางครั้งก็กลับด้านซ้ายหรือขวากันอีกด้วย
หลังใช้งาน Emoticon มานานกว่า 20 ปี สมองของมนุษย์นั้นเริ่มมีความคุ้นชินกับสัญลักษณ์บางอย่าง ซึ่งหากมีการเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นอย่างย่อ หรือ การกลับด้านนั้น ผู้อ่านอาจไม่สามารถตีความสัญลักษณ์ Emoticon ออกได้ โดย 🙂 นั้นเป็นที่คุ้นชินมากกว่าการอ่าน Emoticon อย่าง : ) , ( : หรือ (-:
จากผลวิจัยของ Social Neuroscience พบว่าปัจจุบันมนุษย์ตีความ และมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสัญลักษณ์ 🙂 เสมือนการเห็นหน้ามนุษย์คนอื่นๆ โดยเดิมนั้นก่อนมีการใช้งาน Emoticon อย่างแพร่หลาย เมื่อมนุษย์เห็นหน้ามนุษย์คนอื่น ไม่ว่าจะกลับด้านซ้าย ขวา บน หรือล่าง สมองบางส่วนของพวกเขาจะทำงาน และในตอนนี้เมื่อเห็นสัญลักษณ์ 🙂 สมองของพวกเขาก็มีการตอบโต้ในลักษณะเดียวกัน
ในการทดลอง Dr. Owen Churches ได้ให้กลุ่มทดลองจำนวน 20 คน ชมภาพต่างๆ พร้อมกับการแสกนคลื่นสมองควบคู่ไปด้วย พบว่าภาพใบหน้ามนุษย์ และสัญลักษณ์ 🙂 นั้นมีการตอบสนองจากสมองของกลุ่มทดลองไปในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่สัญลักษณ์อื่นๆ อย่างเช่น (-: นั้นกลับมีปฏิกิริยาที่แตกต่างออกไป
โดย Dr. Owen Churches ได้เผยข้อมูลเพิ่มเติมว่าการตีความสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้นไม่ได้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด แต่ทว่าการตีความ Emoticon นั้นเกิดจากความคุ้นชิน ทำให้เมื่อใดที่เห็นสัญลักษณ์ 🙂 ทุกคนจะสามารถเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นหมายถึงใบหน้ามนุษย์ นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า พฤติกรรมการตีความดังกล่าวจะไม่สามารถเจอได้ในช่วงปี 1982 หรือก่อนหน้านั้นที่การใช้งาน Emoticon นั้นยังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ฉะนั้นการใช้งาน Emoticon ที่ถูกต้องนั้นคือ 🙂 เท่านั้นนะคะ
ที่มา : Gizmodo