เรื่องของความเห็นอกเห็นใจกัน หรือ Emphathy กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของความหลากหลายจากการรวมบุคลากรหลายเชื้อชาติในที่ทำงาน และเป็นสิ่งที่ธุรกิจ องค์กร ต่างให้ความสนใจมากขึ้น เพราะการไม่แบ่งแยกความหลากหลายทั้งในเชิงเพศ บุคลิกลักษณะ ทัศนคติ จะทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าได้อย่างไร้ขีดจำกัด รวมทั้งธุรกิจเอเจนซี่ก็จำเป็นต้องทำงานกับคนที่มีความหลากหลายทั้งด้วยตัวงาน ลักษณะงาน และประเภทของงาน การให้เกียรติและเคารพคนที่มีความแตกต่าง จะช่วยให้งานเป็นไปอย่างราบรื่น
ดังนั้น เราจะเห็นผู้บริหาร ทีมพัฒนาบุคคลขององค์กรชั้นนำทั่วโลกต่างก็พยายามที่จะพยายามในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวไม่แบ่งแยก ด้วยการทดลองเอาใจใส่กัน (The Empathy Experiment) ด้วยการทดสอบลักษณะนิสัยของแต่ละปัจเจกบุคคลผ่านประสบการณ์ดิจิทัลเชิงโต้ตอบ โดยมุ่งหวังให้ภาคธุรกิจสามารถนำแนวคิดจากการวิจัยและทดลองของ Media.Monks ไปปรับใช้งาน รวมทั้งมีการแสดงผลวิธีการตอบสนองอย่างเห็นอกเห็นใจในแต่ละเหตุการณ์เพื่อให้ผู้บริหารและทีมพัฒนาบุคคลนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสมได้
แนวคิดสำหรับ The Empathy Experiment
การเกิดขึ้นสำหรับแนวคิด The Empathy Experiment นั้น มีสาเหตุจากการรณรงค์ให้ความสำคัญความเท่าเทียมทางเพศและการเพิ่มอำนาจของผู้หญิง เพราะบางครั้งในสถานการณ์ที่ค้นพบคือผู้หญิงมักจะถูกเมินเฉยหรือไม่ให้ความสำคัญในการแสดงความคิดเห็น เป้าหมายที่มีการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้กลุ่มคนที่เรียกว่า “neutral bystanders” ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่มักจะยืนดูเฉยๆ ในฐานะผู้ชมที่มีอคติและเลือกปฏิบัติกับคนที่พวกเขาต่อต้าน
การทดลองระบบแพลตฟอร์ม The Empathy Experiment ทำให้เห็นพฤติกรรมการเอาใจใส่ของบุคคลากรในแต่ละระดับในแต่ละสถานการณ์ภายในองค์กรเดียวกัน หรือสถานการณ์เดียวกัน การโต้ตอบระหว่างเพื่อนร่วมงาน การนำเสนองานต่อลูกค้าในห้องประชุม และการออกทำงานภาคสนามร่วมกับทีม ยิ่งทำให้เห็นความสัมพันธ์ ลำดับชั้นและการแก้ไขปัญหาร่วมกันในแต่ละสภาพแวดล้อมแบบมืออาชีพ
อย่างไรก็ตาม การทดสอบประสบการณ์เสมือนจริงทำให้ผู้ทดสอบต้องเลือกว่าจะตอบสนองอย่างไรในแต่ละสถานการณ์ รวมทั้งการเลือกตอบสนองด้วยความเห็นอกเห็นใจที่น้อยนิด จะทำให้ตัวละครภายในแพลตฟอร์มมีการลดขนาดความสำคัญ ถอนตัวออกจากสถานการณ์ หรือตัวละครจะขยับเข้ามาใกล้ชิดและสีสันสดใสขึ้น ซึ่งตัวละครเด่นจะไม่มีจุดมุ่งหมายทางเพศ ไม่มีตัวระบุทางเชื้อชาติที่ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงอคติเกี่ยวกับบุคลหรือสัญลักษณ์บางอย่าง ในเกมนี้จะไม่มีผู้ที่ถูกหรือผิด เพราะทุกคนจำเป็นต้องไตร่ตรองอย่างตรงไปตรงมาในแต่ละสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม Media.Monks ได้เปิดตัว The Empathy Experiment ในวันแห่งความสุขสากลขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม โดยมีแผนที่จะให้บริการแก่ธุรกิจอื่นๆ ด้วย
ที่มา : Adweek