Site icon Thumbsup

[สัมภาษณ์] อ่านกลยุทธ์ด้าน e-Sports กับผู้กุมบังเหียนคนสำคัญที่จะเปลี่ยนภาพเด็กเล่นเกมส์ให้เป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่

เรื่องของวงการ E-Sport กำลังได้รับความสนใจจากทุกธุรกิจเลยนะคะ ทางโอเปอร์เรเตอร์ยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง AIS เอง ก็ได้ประกาศให้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของปี เพราะเชื่อว่าการเป็นศูนย์กลางของข้อมูลจะช่วยให้หลายอุตสาหกรรมจะฟื้นรายได้กลับคืนมาได้ เห็นได้จากความร่วมมือกับทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มากมาย รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการแข่งขันทั้งในไทยและระดับโลกมากมาย

ทางทีมงาน Thumbsup ได้รับเกียรติพูดคุยกับ คุณรุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ หัวหน้าแผนกงานบริหารกลยุทธ์พันธมิตรทางธุรกิจและสื่อ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส หัวเรือใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญในการเดินหน้าเรื่อง e-Sport มาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกันค่ะ

 

จุดเริ่มที่ทำให้ AIS สนใจในเรื่องของวงการ e-Sports

ต้องเรียนว่า จริงๆ ถ้าเราดูเรื่องของมูลค่าตลาดโดยรวมของ eSports มันมีมูลค่าที่สูงมากนะคะ ถ้ามองย้อนกลับไปก็คือ ภาพรวมตลาดระดับโลก มีมูลค่าสูงถึง 1.37 แสนล้านสหรัฐ ในขณะที่ประเทศไทย ก็มีเม็ดเงินที่สูงถึง 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 22,000 ล้านบาท ทั้งในมุมของผู้ที่เล่นเกมในทุกๆ แพลตฟอร์ม ก็มีมากถึง 27 ล้านคน จะเห็นว่า Market Size มันใหญ่มาก และนั่นก็คือ Opportunity หลายๆ อย่างสำหรับ AIS

Market Size ใหญ่ ก็เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

ต้องบอกว่า ใน Market Size มีผู้เล่นเกมอยู่ 27 ล้านคน แน่นอนว่าต้องเป็นลูกค้าของ AIS อยู่ในนั้นครึ่งหนึ่ง และยังทำให้ AIS สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็น Millenium ได้มากขึ้น ก็เลยทำให้เกิด 4 ยุทธศาสตร์ AIS eSports ขึ้นมา สิ่งที่เราโฟกัสมีทั้งหมด 4 เรื่อง ตามที่ก่อนหน้านี้ เราได้ประกาศไป นั่นก็คือ

ต้องเรียนว่า โดยโครงสร้างพื้นฐานของ AIS เราเนี่ย ไม่ว่าจะเป็น Mobile Internet หรือ Fibre Broadband เราเชื่อว่า เราสามารถที่จะรองรับผู้เล่นที่เป็นนักกีฬา eSports หรือเกมเมอร์ได้อย่างแน่นอน ยังไม่รวมกับสิ่งที่เรา Customize เพิ่มเติม เช่น ในตัวของ Fibre Broadband เองที่แยกท่อพิเศษสำหรับผู้เล่นเกมกับคนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตปกติ 

ก็คือตอบโจทย์ให้กับคนเล่นเกมมากขึ้นด้วย

ใช่ค่ะ ก็คือมีพวกเรื่องของ Unlimited Data สำหรับคนที่เล่นเกมในเกมบางเกมที่เราได้คัดสรรมาให้ ก็จะเป็น Top 5 ของเกมปัจจุบัน จริงๆ ต้องบอกว่า โดยพื้นฐานของซิมการใช้งานเราเนี่ย โครงสร้างพื้นฐานตรงนี้เรารองรับทุกซิม แต่ความพิเศษของ Zeed Sim มันเป็นเรื่องของ Product Package ที่เราใส่เข้าไปใน Zeed Sim เพื่อให้มัน Match กับการใช้งานได้ราบรื่นขึ้น

เรื่องของ Compete หลักๆ เลย ก็คือ ทีมของการแข่งขัน มีเรื่องของ การมี Tournament ในการการแข่งขัน ในปีนี้ AIS เองก็ประกาศว่าเราสนับสนุน Tournament  ที่มีมากกว่า 10 รายการด้วยกัน จริงๆ ต้องเรียนว่า เราทำในทุกระดับ ตั้งแต่มือสมัครเล่น ในระดับที่เป็นมหาวิทยาลัย ในระดับที่พนักงานบริษัท และก็มีระดับ Semi-Pro และก็มีระดับ Professional หรือไปถึงระดับที่เราสนับสนุนในเรื่องของทีมชาติในซีเกมส์

ผ่านการร่วมมือกับทางสมาคม eSports ประเทศไทย

ค่ะ ก็ต้องบอกว่า จริงๆ เราก็สนับสนุนในทุกๆ ระดับของผู้ที่เข้าแข่งขันในเรื่องของเกม eSports ซึ่งจริงๆ ในการสนับสนุนมันก็ต้องเริ่มตั้งแต่ระดับเยาวชน ก่อนที่จะได้เป็น Professional หรือจะได้รับสิทธิ์ที่จะได้เป็นตัวแทนทีมชาติ 

Educate เป็นในเรื่องของการที่ AIS เข้าไปในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะในระดับที่เป็นมหาวิทยาลัย เราเข้าไปพูดคุยกับคณาจารย์ ในคณะวิชาที่มีการทำงานในเรื่องของการพัฒนาเกม เรื่องของการทำตลาดเกมต่างๆ

ทาง AIS จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เพื่อให้นักศึกษามี Career Part หรือว่ามีการได้เข้าไปฝึกงานจริงในภาคสนามจริง อย่างเช่น AIS มีอีเว้นท์แล้วนักศึกษาเองจะมีโอกาสอย่างไร ในการที่จะเข้ามาเป็นเด็กฝึกงานกับเรา เป็นต้น

ปรับภาพให้นักศึกษาที่ชอบเล่นเกม มาทำงานในด้านนี้โดยตรง?

สิ่งที่เราทำ 2 ส่วนคือ เรามองเรื่อง Career Part ต้องบอกว่าในอุตสาหกรรมเกมเนี่ย มันไม่ได้มีแค่เฉพาะนักกีฬา มันมีเรื่องอื่นๆ ด้วยก็คือ นอกเหนือจากผู้เล่นมันก็จะมี นักพากย์ มีผู้จัด มีออการ์ไนเซอร์ มีโปรโมเตอร์ อะไรต่างๆ นะคะ เพราะฉะนั้น เราเข้าไปในสถาบันการศึกษาเป็นพื้นฐาน เหมือนเป็นต้นน้ำ

แต่ในอีกส่วนนึงก็คือ เราเข้าไปในชมรม eSports ของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าไปสนับสนุนการแข่งขันในระดับมหาวิทยาลัยของที่เขาพัฒนาตัวเองเพื่อขึ้นไปเป็นระดับที่เป็น Professional ขึ้นไป เพื่อเป็นการพัฒนาคน

 

เรื่อง Share ก็คือ วันนี้ AIS เองร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่ชื่อ eGG Channel คือการจัดให้ลูกค้าทุกท่าน สามารถชม Live Streaming ของการแข่งขัน eSports ระดับโลก คือไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ถึงทั่วโลกเลยเนี่ย ได้ดูสดตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางของ AIS Play และ AIS Playbox นอกจากนั้นเอง เราก็ยังมีทัวร์นาเมนต์ที่ AIS เข้าไปสนับสนุน ก็สามารถที่จะดู Live Streaming ได้ด้วย

 

ลบภาพเด็กติดเกม และสร้างโอกาสใหม่

ต้องเรียนว่า วันนี้ในอุตสาหกรรม eSports ตั้งแต่เรามีสมาคม eSports แห่งประเทศไทยขึ้นมา ทางสมาคมก็ได้มีการกำหนดพวกมาตรฐาน กติกาการแข่งขัน การสร้างระเบียบวินัยของนักกีฬา eSports เหมือนกับนักกีฬาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการมีสมาคม ทำให้ภาพของนักกีฬา eSports ชัดเจนขึ้น

เรื่องที่สองก็คือการแข่งขัน eSports ไม่ได้เป็นเรื่องของ Entertainment แล้ว แต่ถูกบรรจุให้เป็นกีฬาระดับชาติ เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้วที่ถูกบรรจุเป็นกีฬาสาธิตใน Asian Games 2018 แล้ว ในปีนี้ก็ถูกบรรจุให้มีรางวัลในกีฬา SEA Games ที่กรุงมะนิลา ซึ่งจะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมนี้

ส่วนการลบภาพเด็กติดเกมนั้น ทาง AIS เอง ก็จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ แบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ก็คือ สมาคม eSports กับสถาบันการศึกษานะคะ

 

ฉายภาพความร่วมมือกับสมาคม eSports 

ทางด้านของสมาคมนั้น สิ่งที่เราเข้าไปสนับสนุน คือเรื่องของการคัดตัวแทนทีมชาติที่จะเข้าไปแข่งในระดับซีเกมส์ อย่างที่สองก็คือการเผยแพร่ การจัดแข่งขันทัวร์นาเมนต์ ตั้งแต่ช่วงของการคัดตัว รวมไปถึงบูธแคมป์ เรื่องของการให้ความรู้ แต่ละขั้นตอนว่าทำอย่างไรถึงจะได้เป็นตัวแทนทีมชาติ  ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนั้นจะมีการ Streaming ให้รับชมบน AIS Play

 

คล้ายกับ Academy หรือไม่?

สำหรับการแข่ง eSport นั้น เวลาที่เค้าคัดตัวทีมชาติ จะคัดผ่านระบบออนไลน์ แล้วสมาคมฯ ก็จะมีวิธีการในการคัดเลือกอีกที ไม่ใช่แค่ว่าเล่นเก่งอย่างเดียว แต่ต้องมีวินัยด้วย เพราะฉะนั้น ทางสมาคมฯ ก็จะคัดนักกีฬาอยู่กลุ่มหนึ่ง แล้วต้องเอามาเข้าบูธแคมป์ จากนั้นค่อยมาดูฟอร์มการเล่น พฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม จากนั้นค่อยมา re-team ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ ก็จะมีวิธีการกลั่นกรองอีกที เราก็จะเป็นคน Support ตลอดทั้งเส้นคัดเลือกจนถึงเค้าได้เป็นนักกีฬาทีมชาติจริงๆ เพื่อไปแข่งที่ซีเกมส์

โดยทางสมาคมฯ ต้องการให้เราสนับสนุน 2 เรื่องก็คือ ซีเกมส์ และ การเป็นตัวแทนทีมชาติไปแข่ง leSF World Championship ซึ่งเราทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่

 

มุมธุรกิจวงการ eSports จะมีส่วนช่วยในอุตสาหกรรมด้านใดบ้าง

พี่ต้องบอกว่า ในวงการ eSports จะมี EcoSystem ประกอบกันหลายส่วน หากพูดถึงการจัดการแข่งขันในหนึ่งทัวร์นาเมนต์เนี่ย ประกอบด้วยอะไรบ้าง แน่นอนว่าต้องมีนักกีฬา อันที่สองคือมีนักพากย์ มีผู้จัดการแข่งขัน มีสนามการแข่งขัน มี Organizer มีสื่อ มี Communication มีโค้ช มีทีม เต็มไปหมดเลย อยู่ในภาพรวมๆ ของการจัดการแข่งขันใน 1 ทัวร์นาเมนต์

หรือแม้กระทั่ง EcoSystem ในสายธุรกิจ อย่างธุรกิจ Telecom ของ AIS เองเนี่ย นอกเหนือไปจากการที่คนๆ หนึ่งจะเล่นเกมได้ จะต้องมีอะไรบ้าง หรือเป็นนักกีฬา eSports จะต้องผูก Connect ด้วยอะไรบ้าง แน่นอนว่าต้องมีเรื่องของเครือข่าย ตามมาด้วยเรื่องของ Device ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Mobile หรือ PC สำหรับการใช้งานเชิง Gaming รวมทั้งจะต้องมี Package ที่รองรับ และต้องรับชมผ่าน Streaming ได้ จริงๆ ใน Eco System เนี่ยมันมีหลายภาคส่วน ไม่ใช่แค่นักกีฬาหรือผู้พัฒนาเกมเท่านั้น

 AIS มีส่วนร่วมในหลายๆ ด้าน เพื่อช่วยรันวงการเกมไปข้างหน้า

จริงๆ เรามีนโยบายที่ชัดเจนที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในทุกภาคส่วน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม eSports

 

นอกจากสมาคม eSports แห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษา มีวางแผนว่าอยากร่วมเป็น Partner รายอื่นบ้างไหม

จริงๆ พาร์ทเนอร์มีเต็มไปหมดเลย ตั้งแต่ Game Publisher เราทำงานกับหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Tencent หรือ Garena อันนี้ในส่วนที่เป็นพวก Game Publisher ต่างๆ

เรามีทำงานกับกลุ่มที่เป็นมีเดีย อย่างเช่น Twitch หรือ Youtube, Facebook อันนี้ก็คือเป็นสายที่เป็นสายมีเดียเกม

นอกจากนี้ เรายังทำงานกับพาร์ทเนอร์ในกลุ่มที่เป็น Streaming จริงๆ ก็จะมี Mineski มีทั้ง Invade หรือพวก Device Partner เราก็มีทั้งส่วนที่เราได้ส่วน Exclusive Device Model อย่างเช่น Razer แล้วก็ Device หลายๆ ตัวเราก็เป็นพาร์ทเนอร์กัน

 

อนาคตหลังบรรลุ 4 ยุทธศาสตร์ AIS eSports

จริงๆ ทั้ง 4 เรื่อง จะมีรายละเอียดและมี Challenge ของมันอยู่ จริงๆ แล้วสิ่งที่เราประกาศยุทธศาสตร์ไป 4 เรื่องเนี่ย เราเองก็เริ่มทยอยทำในหลายๆ เรื่อง เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์จริง อย่างเช่น เรื่องแรกก็คือ การออก Product Package ที่เหมาะสม หรือเรื่องของ Mobile On-Top Package ต่างๆ ที่เหมาะกับการใช้งาน

เรื่องที่สองคือ เรื่องของการมีพวกกิจกรรมหรือทัวร์นาเมนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น AIS eSports Thailand Corporate League หรือการที่เราเข้าไปสนับสนุนการแข่งขัน League ต่างๆ ของการแข่งขันของมหาวิทยาลัย

เรื่องที่ 3 การที่เราจะมีงาน AIS Thailand eSports Expo ปลายเดือนนี้ ก็จะเป็นงาน Gaming ที่เราถือว่าน่าจะเป็นงานมหกรรมการขายสินค้าเกมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และน่าจะเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้น จริงๆ AIS เราก็มีหลายๆ Agenda ที่เริ่มดำเนินการแล้ว

 

ในอนาคต AIS มีแผนจะลงทุนกับตัวผู้พัฒนาเกม หรือ เป็นผู้ผลิตเกมเองมั้ย

เรายังไม่ได้มองไปถึงขนาดนั้นค่ะ จริงๆ เราเป็นผู้สนับสนุนมากกว่า เราโฟกัสเรื่อง Partnership แล้วก็ต้องการให้ Thailand eSports Platform

จริงๆ ตัวเกม Developer เองก็มีจุดแข็งของเขา ส่วนของทาง AIS ก็มีจุดแข็งในส่วนของ Network ทั้งมือถือและเน็ตบ้าน และก็เหมือนกับว่า เราเอาจุดแข็งของแต่ละคนมารวมกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมในอนาคต

 

หากมองในมุมของคนที่ไม่ได้เข้าใจวงการ eSport แบบชัดเจน อาจจะคิดว่ามันจะเป็นโอกาสอย่างไร เพราะดูจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า หาก AIS สามารถปั้นวงการ eSport ให้เกิดขึ้นได้นั้น นอกจากค่าแพคเกจอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนจะยอมจ่ายมากขึ้นเพื่อให้เชื่อมต่อการใช้งานได้ดีขึ้นแล้ว

ยังเป็นโอกาสของการกลับมาของเครื่อง PC และ Notebook สำหรับกลุ่มเกมมิ่ง ที่มีราคาระดับพรีเมียม คือเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000 บาท ให้กลับมามีโอกาสอีกครั้งหลังทั้งสองธุรกิจนี้ เม็ดเงินหายไปหลายพันล้านบาท ทั้งยังเป็นโอกาสของตลาด Acessories อีกมากมาย ถือว่าเป็นการปลุกโอกาสขึ้นมาใหม่ให้กับหลายธุรกิจเลย

รวมไปถึงเม็ดเงินลงทุนอีกมากมายที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มคอนเทนต์ เพราะตอนนี้เรามีสื่อและเกมที่ผลิตในไทยและมีคุณภาพแต่กลับไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีพอ แต่เมื่อนำไปขายในต่างประเทศเรากลับต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ในการใช้งานแพงกว่าเดิมเสียอีก

นั่นจึงเป็นที่มาของบทสัมภาษณ์นี้ ที่จะชี้ให้เห็นว่า ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นโอกาสเสมอ หากเรารู้จักปรับใช้อย่างเหมาะสม