Facebook ประเทศไทย ได้เปิดตัวกิจกรรม #SupportSmallBusiness เพื่อร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการไทย และผลักดันให้ผู้บริโภคผนึกกำลังสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในชุมชนของตัวเองในช่วงเวลายากลำบากเช่นนี้
ผลการศึกษาจาก YouGov ระบุว่า มากกว่าร้อยละ 32 ของผู้ตอบคำถามชาวไทยได้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด-19 รวมถึงมากกว่าร้อยละ 39 ที่ตอบว่า มีการสั่งซื้ออาหารทางออนไลน์เพิ่มมากกว่าปกติ และมากกว่า 44 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามได้ใช้เวลามากขึ้นในการรับชมเนื้อหาออนไลน์
ชุมชนและแหล่งข้อมูลต่างๆ ของ Facebook มีความสำคัญต่อธุรกิจและผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่พวกเขากำลังเว้นระยะห่างทางสังคม โดยในปัจจุบัน มีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 2,600 ล้านคนต่อเดือน และผู้ใช้ Instagram มากกว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้ยังประกอบด้วยธุรกิจบน Facebook มากกว่า 140 ล้านราย ที่ใช้งานแพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อกับลูกค้าของพวกเขา
คุณชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการเติบโตธุรกิจ ประจำ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กทุกที่ ในขณะที่ผู้คนกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยการอยู่บ้าน ธุรกิจกลับต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำเนินการเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้
Facebook มีความมุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทย ถ้าเราลองนึกถึงร้านค้าหรือร้านอาหารที่อยู่ใกล้ตัวทุกคน ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าอย่างน้อยพวกเขาอาจจะมีเพจ Facebook หรือบัญชี Instagram
ในขณะที่ชุมชนต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยยังคงมองหาแนวทางในการจัดการกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งนี้ ด้วยวิธีการใหม่ๆ หน้าที่ของเราคือการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนชุมชนกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กในระยะที่มีความสำคัญทั้งในช่วงการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและช่วงฟื้นฟูธุรกิจ
#SupportSmallBusiness ของ Facebook
กิจกรรมการพบปะร้านค้าออนไลน์ #SupportSmallBusiness เน้นให้เห็นถึงวิธีการที่ Facebook ตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการประกาศถึงวิธีการใหม่ๆ ให้ผู้คนได้สนับสนุนและค้นพบธุรกิจขนาดเล็ก พร้อมกับการนำเสนอเครื่องมือเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง และสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าของพวกเขาได้
กิจกรรมดังกล่าวยังรวมถึงการเปิดตัวสติ๊กเกอร์สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก “ร้านดีบอกต่อ” บน Instagram โดยเมื่อผู้คนใช้สติ๊กเกอร์สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กบน Instagram เนื้อหานั้นจะถูกนำไปรวมอยู่ใน Instagram Stories ที่รวมกับผู้สร้างเนื้อหา ผู้อื่นที่ใช้สติ๊กเกอร์นั้น เพื่อแสดงให้ผู้ติดตามเห็น
สำหรับบน Facebook ผู้บริโภคยังสามารถใช้แฮชแท็ก #ร้านดีบอกต่อบน Facebook เพื่อแนะนำธุรกิจหรือร้านค้าและบริการที่พวกเขาชื่นชอบได้ การเปิดตัวดังกล่าวได้มาเสริมฟีเจอร์สั่งซื้ออาหารบน Instagram
โดยธุรกิจสามารถแชร์สติ๊กเกอร์สั่งซื้ออาหารผ่าน Instagram Stories หรือเพิ่มปุ่มสั่งซื้ออาหารบนหน้าโปรไฟล์ของพวกเขาได้แล้วในวันนี้ ซึ่งจะนำผู้ใช้ไปสู่แพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์ที่ธุรกิจนั้นๆ เลือกใช้ (ปัจจุบันให้บริการผ่านฟู้ดแพนด้าและแกร็บ) เพื่อการสั่งซื้ออาหารในขั้นตอนต่อไป
กิจกรรม #SupportSmallBusiness อื่นๆ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 และการอัพเดทเครื่องมือสำหรับธุรกิจเพื่อให้ผู้ดูแลเพจสามารถแชร์ข้อมูลที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว คำแนะนำในการปรับปรุงเพจที่ตรงกับความต้องการของแต่ละธุรกิจ และกิจกรรมออนไลน์เพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก
ซึ่งรวมถึงการช่วยผู้คนในการเคลื่อนย้ายธุรกิจของพวกเขาสู่ช่องทางออนไลน์ เพื่อให้พวกเขาสามารถค้าขายต่อไปได้ และการนำเสนอเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีใช้ Facebook Live และ Messenger เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของพวกเขา
นอกจากนี้ Facebook ยังได้จัดทำศูนย์ข้อมูลสำหรับธุรกิจ ขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้คำแนะนำและเคล็ดลับต่างๆ ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กในไทยยังคงเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าและปรับกลยุทธ์ในการใช้งานโซเชียลมีเดียได้ทันท่วงที และเพื่อดำเนินธุรกิจของพวกเขาได้ตามเป้าหมาย โดยจะเป็นคำแนะนำภาษาไทย อีกทั้งยังมีการจัดตั้งเงินทุนมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 3.2 พันล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กจำนวน 30,000 รายทั่วโลก
เคสที่ประสบความสำเร็จ
เพนกวินกินชาบู (Penguin Eat Shabu) เชนร้านอาหารชื่อดัง, Organicwa Thailand ร้านค้าออนไลน์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและผลผลิตท้องถิ่น และแอดมินกลุ่มจุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วและมีบทบาทที่สำคัญในการเชื่อมต่อธุรกิจร้านค้าออนไลน์มากมายในช่วงวิกฤตโควิด-19
คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของร้านเพนกวินกินชาบู ได้อธิบายถึงผลกระทบจากวิกฤตโควิด–19 ว่าพวกเขาต้องปิดหน้าร้านทั้งหมด 9 สาขา และต้องเริ่มปรับตัวและเริ่มขายอาหารกล่องแบบสั่งกลับบ้านเพื่อความอยู่รอด
จากการใช้งานโพสต์บน Facebook และ Messenger พวกเขาเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มได้โดยตรง หลังจากที่ได้รับยอดคำสั่งซื้อถึง 350 รายการภายในเวลา 1 นาที และการจัดโปรโมชั่นที่สร้างยอดขายชาบูได้สูงถึง 2,500 หม้อ ร้านเพนกวินกินชาบูจึงเปิดตัว Bot for Messenger เพื่อช่วยตอบข้อความที่มีลูกค้าส่งเข้ามาจำนวนมาก โดยยอดขายเหล่านี้ช่วยเพิ่มรายได้ให้พวกเขากลับมาจ่ายเงินเดือนเต็มจำนวนให้กับพนักงานได้อีกครั้ง
นอกจากนี้ บริษัท ออร์แกนิควา (ประเทศไทย) ยังเน้นถึงความสำคัญของการใช้ Messenger เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าประจำและแนะนำว่าธุรกิจควรใช้โฆษณา Facebook ที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อขยายฐานลูกค้าอีกหนึ่งคำแนะนำที่สำคัญจากร้านค้าออนไลน์แห่งนี้คือการนำเสนอบริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียวแก่ลูกค้าผ่านการใช้งาน Facebook เพื่อไม่ให้ลูกค้าต้องเสียเวลาในการเข้าสู่แอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อสั่งซื้อสินค้า
คุณปาณพล จันทรสุกรี ผู้ก่อตั้งและแอดมินกลุ่มจุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส ได้กล่าวสรุปว่า ในมาร์เก็ตเพลสแห่งนี้ ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ในช่วงเวลาที่เราต่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การมีพื้นที่เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้นจึงมีความสำคัญ จากการสร้างธีมหรือหัวข้อให้กับแต่ละหมวดหมู่สินค้า ทำให้เราพบเห็นการมีส่วนร่วมกับผู้ขายมากขึ้น และช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook เปิดโอกาสให้เราได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันผ่านโลกออนไลน์ และยังช่วยให้เราสามารถอยู่รอดและฟื้นฟูธุรกิจของเราในช่วงเวลานี้ได้อีกด้วย
การดำเนินงานเกี่ยวกับสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทย (#SupportSmallBusiness) ของ Facebook
- ศูนย์ข้อมูลสำหรับธุรกิจ (Business Resource Hub): เคล็ดลับ วิธีการ และคำแนะนำต่างๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าและใช้โซเชียลมีเดียเพื่อดำเนินงานตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการจัดฝึกอบรมและการสนับสนุนเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญของ Facebook ด้วย
- ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 สำหรับธุรกิจ (COVID-19 Business Resource): คำแนะนำภายในแอพสำหรับผู้ดูแลเพจธุรกิจทั้งบน Facebook และ Instagram ซึ่งรวมถึงคำแนะนำตามความต้องการของแต่ละบุคคลเพื่อช่วยปรับปรุงเพจของพวกเขา
- ศูนย์ข้อมูลไวรัสโควิด-19 (COVID-19 Information Center): อีกหนึ่งแนวทางริเริ่มของการให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและรัฐบาล เพื่อให้ผู้ใช้และธุรกิจต่างๆ สามารถติดตามอัพเดทล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยตั้งแต่เปิดตัวมา เราได้แนะนำศูนย์ข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้คนกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก
- ช่วยเหลือผู้คนในการย้ายมาสู่ออนไลน์: เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถแชร์อัพเดทที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีดำเนินงานของพวกเขา เช่น ช่วงเวลาทำการที่เปลี่ยนแปลงชั่วคราว รายการสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดการจัดส่ง หรือวิธีการใหม่ๆ ที่ผู้คนสามารถซื้อสินค้าได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด
- การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เชื่อมต่อกับลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น: การแนะนำแฮชแท็ก #ร้านดีบอกต่อ บน Facebook และสติ๊กเกอร์บน Instagram เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กที่ผู้ใช้ชื่นชอบ โดยสติ๊กเกอร์ “ร้านดีบอกต่อ” บน Instagram จะเชื่อมกับโปรไฟล์ของธุรกิจที่ผู้ใช้ชื่นชอบ เนื้อหาของบัญชีใดก็ตามที่ใช้งานสติ๊กเกอร์ดังกล่าวจะถูกนำไปรวมใน Instagram Stories ของผู้ติดตาม ทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ว่ามีธุรกิจใดบ้างที่ ผู้อื่นกำลังสนับสนุนอยู่
- สติ๊กเกอร์สั่งซื้ออาหารบน Instagram: ธุรกิจสามารถแชร์สติ๊กเกอร์สั่งซื้ออาหารผ่าน Instagram Stories และเพิ่มปุ่มสั่งอาหารบนหน้าโปรไฟล์ของพวกเขา เมื่อผู้คนคลิกไปที่สติ๊กเกอร์หรือปุ่มสั่งอาหารนี้ พวกเขาจะถูกแนะนำไปสู่แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ของธุรกิจเพื่อดำเนินการสั่งซื้อต่อไป ในประเทศไทย แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ฟู้ดแพนด้าและแกร็บ
ทรัพยากรและการจัดฝึกอบรมสำหรับธุรกิจ
- เงินทุน: การสนับสนุนความต่อเนื่องของธุรกิจด้วยเงินทุนมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 3.2 พันล้านบาท) แก่ธุรกิจ 30,000 ราย ใน 30 ประเทศ
- แคมเปญเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะ: การให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคและธุรกิจขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง และการสาธิตถึงวิธีการที่พวกเขาจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากเครื่องมือและแพลตฟอร์มของ Facebook ในช่วงเวลานี้
- Boost with Facebook: คอร์สพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการก่อตั้งธุรกิจออนไลน์ รวมถึงการปรับเปลี่ยนการจัดฝึกอบรมแบบออฟไลน์สู่ออนไลน์
- Blueprint: คอร์สออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับสูง โดยมีคอร์สระยะสั้นจำนวนกว่า 90 คอร์ส เพื่อช่วยธุรกิจในการทำการตลาดและเติบโตบนแพลตฟอร์มอย่างมีประสิทธิภาพ
- Facebook Commerce: ศูนย์กลางการเรียนรู้ออนไลน์เกี่ยวกับทุกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายผ่านการแชท
สถิติทั่วโลกของแอพในเครือของ Facebook
- โดยเฉลี่ยแล้ว มีผู้ใช้งานแอพในเครือของ Facebook หนึ่งแอพเป็นอย่างน้อยมากกว่า 3 พันล้านคนต่อเดือน
- ทั่วโลก มีผู้ใช้งาน Facebook มากกว่า 2.6 พันล้านคนต่อเดือน และมีผู้ใช้งานมากกว่า 73 พันล้านคนต่อวันบนแพลตฟอร์ม โดยเฉลี่ยแล้ว มีผู้ใช้งาน Facebook, WhatsApp, Instagram หรือ Messenger อย่างน้อย หนึ่งแอพ มากกว่า 2.3 พันล้านคนในแต่ละวัน
- มีผู้ใช้งาน Instagram มากกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือน
Facebook ในประเทศไทย
- มีผู้ใช้งาน Facebook มากกว่า 58 ล้านคนต่อเดือน
- มีผู้ใช้งานที่เข้า Facebook ผ่านโทรศัพท์มือถือมากกว่า 58 ล้านคนต่อเดือน
- มีผู้ใช้งาน Facebook มากกว่า 43 ล้านคนต่อวัน
เทรนด์ของผู้ใช้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
- Facebook Group: มากกว่า 45 ล้านคนในประเทศไทยเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆบน Facebook และมีจำนวนกว่า 6 ล้านกลุ่มที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่องในเดือนที่ผ่านมา
- Live Shopping: ไลฟ์สดขายของบน Facebook และ Instagram
- Messenger: ทักแชท ปิดการขายและจ่ายเงินผ่านทาง Messenger
ธุรกิจบน Facebook
- ธุรกิจจำนวนมากกว่า 140 ล้านรายใช้งาน Facebook
- กว่า 3 ใน 4 (78 เปอร์เซ็นต์) ของธุรกิจขนาดเล็กบน Facebook ในประเทศไทยกล่าวว่า พวกเขาใช้แพลตฟอร์มเพื่อการแสดงสินค้าและบริการแก่ลูกค้า
- ราว 9 ใน 10 ของเจ้าของธุรกิจบน Facebook ที่เป็นผู้หญิงกล่าวว่าโซเชียลมีเดียมีความจำเป็นต่อธุรกิจของ พวกเธอ กว่า 9 ใน 10 (94 เปอร์เซ็นต์) ของธุรกิจขนาดเล็กบน Facebook กล่าวว่าการโปรโมทสินค้าและบริการผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงโซเชียลมีเดีย มีความสำคัญต่อธุรกิจของพวกเขา
ธุรกิจบน Instagram
- มีผู้ใช้งาน Stories มากกว่า 500 ล้านคนต่อวัน
- 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ Instagram ทั่วโลกติดตามธุรกิจบนแพลตฟอร์ม
- ผู้ใช้ Instagram มากกว่า 200 ล้านคนเยี่ยมชมโปรไฟล์ธุรกิจอย่างน้อยหนึ่งรายต่อวัน
- เนื้อหาตามหมวดหมู่สินค้าที่คนไทยโต้ตอบด้วยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว แฟชั่น และความงาม