ก่อนหน้านี้ 3 ค่ายเทคโนโลยียักษ์ อย่าง Facebook, Twitter และ Google เพิ่งเจอปัญหาเรื่องความเข้มงวดของรัฐบาล ที่เข้ามาควบคุมเนื้อหาที่ส่งต่อกันบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องวัคซีนโควิด-19 เรื่องโกงผลเลือกตั้ง หรือการจัดการปัญหาข่าวปลอมต่างๆ
โดยทั้งสามรายก็ยังเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาเรื่องความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้ที่นิยมกลุ่มหัวรุนแรงผิวขาว และกองกำลังติดอาวุธฝ่ายขวา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายหัวรุนแรงที่มีการใช้คำพูดแสดงความเกลียดชังที่อาจส่งผลลุกลามและเป็นอันตราย เรียกได้ว่าเป็นการร่วมมือกันครั้งแรกเพื่อป้องกันปัญหารุนแรงในอนาคต
ทั้งนี้ ฐานข้อมูล Global Internet Forum to Counter Terrorism (GIFCT) ซึ่งมีการระบุว่ากลุ่มองค์กรอันตรายต่างๆ ได้มุ่งเน้นที่จะโจมตีไปในแต่ละแพลตฟอร์ม ทำให้ต้องตรวจสอบเนื้อหาอย่างละเอียดมากขึ้น
มีข่าวจากรอยเตอร์ที่รายงานข่าวมาว่า ฐานข้อมูล GIFCT ได้เน้นไปที่เนื้อหาประเภทรูปภาพและวิดีโอจากกลุ่มผู้ก่อการร้าย ที่จะแชร์โดยโซเซียลลิสต์หัวรุนแรง นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังมีแผนจะสร้างลิงก์และเครื่องหมายบนสื่อในโครงการที่ชื่อว่า Tech Against Terrorism ของ UN ที่จะมีการแบ่งปันข่าวกรองเพิ่มเติม ที่มาจากกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Proud Boys, Three Percenters และ neo-Nazis เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การที่ทั้งสามแพลตฟอร์มเดินหน้าแบนคอนเทนต์ก่อการร้ายนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ Twitter, Facebook และ YouTube ได้ดำเนินการมาต่อเนื่องสองปีแล้ว แต่เพิ่งจะมาโฟกัสเพิ่มขึ้นเมื่อต้นปีนี้ หลังมีการจลาจลที่ the Capitol Riots เนื่องจากทั้งสามแพลตฟอร์มรู้สึกถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากกลุ่มติดอาวุธคลั่งผิวขาวอย่าง The Proud Boys ที่ใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสาร
เหตุการณ์จลาจลที่ the Capitol Riots เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่เป็นภัยคุกคามต่อความรุนแรงจากฐานทางการเมืองในวงกว้าง โดยเฉพาะ Facebook ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแพลตฟอร์มจุดชนวนให้เกิดเหตุจลาจลนี้ ยิ่งเนื้อหาบนเฟสบุกถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาษาท้องถิ่นก็ยิ่งทำให้ความรุนแรงทวีเพิ่มขึ้น ซึ่งเฟสบุกเองก็ถูกระบุว่าเป็นช่องทางที่เปิดกว้างในการเข้าถึงข้อมูลที่อิสระ ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มขวาจัดได้ง่าย
การที่ผู้ใช้งานมีการกดไลค์ กดแชร์ แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ยิ่งทำให้จุดประกายความต่อต้านและผลักดันไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายขึ้น เพราะการอัปเดตเนื้อหาทั่วไปอาจไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก ยิ่งโซเชียลมีเดียทำให้คนธรรมดามีตัวตนมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสรุนแรงของเหตุการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น
แม้ว่าแพลตฟอร์มจะสามารถจัดการความรุนแรงในการส่งต่อข้อมูลได้ แต่การที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ถูกระงับความเป็นอิสระด้านความคิดนั่นอาจจะกลายเป็นประเด็นใหม่ที่มากกว่าเดิมของกลุ่มหัวรุนแรงทางออนไลน์ ซึ่งทุกฝ่ายต้องพิจารณาและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : SocialmediaToday