เป็นปีที่แอปพลิเคชันประเภทแชทมาแรงจริงๆ ทั้ง Whatsapp, Line, WeChat ฯลฯ ต่างมียอดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นตามความนิยมของสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายขึ้นเช่นกัน แต่ล่าสุด WhatsApp หนึ่งในผู้นำกลุ่มแอปพลิเคชันประเภทแชท ได้รับความสนใจจาก Facebook ซึ่งได้ตกลงซื้อกิจการกันไปเป็นที่เรียบร้อย
ล่าสุด Facebook ได้แถลงข่าวการเข้าซื้อ WhatsApp ด้วยจำนวนเงิน 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราวๆ 5 แสน 2 หมื่น 2 พันล้านบาท) โดยในสัญญา Facebook ได้จ่ายเงินสดให้แก่ WhatsApp จำนวน 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราวๆ 1 แสน 3 หมื่นล้านบาท) ได้มอบหุ้นของ Facebook ให้ WhatsApp ในมูลค่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (3 แสน 9 หมื่นล้านบาท) และ ได้จ่ายเงินเพิ่มเติมอีก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเข้าถือหุ้นของ WhatsApp อีกในระยะ 4 ปี
โดย WhatsApp นั้นเป็นแอปพลิเคชันที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันพวกเขามียอดผู้ใช้งานรายเดือน 450 ล้านคน ทั่วโลก โดยมียอดผู้สมัครใช้บริการ WhatsApp รายวันเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านรายต่อวัน โดยจำนวนผู้ใช้งานรายเดือนนั้นเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคนเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อนถึง 50 ล้านคน
แม้การเข้าซื้อ WhatsApp ของ Facebook นั้นจะเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับทีมงานของ WhatsApp ที่ทำงานหนัก แต่ทว่าสำหรับผู้ใช้บางรายที่เลือกใช้งาน WhatsApp เพื่อเลี่ยงการใช้งาน Facebook Messenger นั้นอาจทำให้พวกเารู้สึกผิดหวัง แต่ทั้งนี้ Facebook ได้ให้การยืนยันว่าการเข้าซื้อในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งาน WhatsApp แต่อย่างใด
เช่นเดียวกันกับ Instagram ทาง WhatsApp จะยังคงดำเนินการภายใต้ชื่อแบรนด์เดิม และมีทีมงานทีมเดิม นั่นหมายความว่า WhatsApp และ Facebook Messenger อาจต้องห้ำหั่นกันเองในสงครามแอปพลิเคชันประเภทแชท ทั้งเป็นพี่น้องกัน โดย Jan Koum, CEO แห่ง WhatsApp ได้แจ้งผู้ใช้งานผ่านบล็อกของเขาว่าการเข้าเป็นเจ้าของของ Facebook ในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานแต่อย่างใด สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ Jan Koum จะได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้บริหารของ Facebook แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้ผู้ใช้านวางใจได้ เพราะเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมาแอปพลิเคชันประเภทแชท Beluga ก็ถูกซื้อโดย Facebook และได้เปิดให้บริการเพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้นก่อนถูกรวมเข้ากับ Messenger และได้ปิดตัวลง
ปี 2014 นี้ถือเป็นปีที่แอปพลิเคชันประเภทแชทนั้นมาแรงเป็นอย่างมาก บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาแอปพลิเคชันประเภทดังกล่าว บ้างก็หันมาซื้อกิจการ อย่างเช่นกรเข้าซื้อ Viber โดย Rakuten ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากแดนปลาดิบ ด้วยจำนวนเงิน 900 ล้านบาท (ราวๆ 2 หมื่น 9 พันล้านบาท)
ที่มา : The Next Web