Site icon Thumbsup

Facebook กับ WhatsApp และพลังของ Big Data ในศตวรรษที่ 21

จากสัปดาห์ที่แล้วที่ WhatsApp ประกาศจะยอมแชร์ข้อมูลให้กับบริษัทแม่อย่าง Facebook ซึ่งมีการถกเถียงกันในวงกว้างทั้งในวงการข้อมูลและการตลาด เนื่องจากมันไม่จบแค่การแชร์ข้อมูล แต่ยังส่งผลต่อการซื้อขายโฆษณาอีกด้วย

เบื้องหลังการเดินเกมครั้งนี้ของ Facebook เป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่คู่แข่งอย่าง Snapchat ประกาศว่า ต่อไปผู้ใช้จะสามารถเก็บบันทึกข้อความได้ (ปัจจุบันเมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้ว ข้อความจะหายไป) ซึ่งทำให้ตอนนี้ Snapchat มีจำนวนผู้ใช้สูงขึ้นทั่วโลก

แต่การเดินเกมครั้งนี้จะเสี่ยงเกินไปหรือไม่ เพราะมีผู้ใช้ถึง 91% ที่ยังกังวลในเรื่องข้อมูลส่วนตัว

ในยุคที่ดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันผู้บริโภค ทำให้คนเริ่มค่อยๆ เริ่มยอมรับกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้ได้รับการบริการที่ดีขึ้น จากงานวิจัยปีที่แล้วพบว่า มีคนต่ำกว่าครึ่งที่ค่อยๆ รู้สึกโอเคกับการแชร์ข้อมูลส่วนตัว และตัวเลขนี้กำลังจะสูงขึ้นเรื่อยๆ

แม้งานวิจัยจะพบว่ายังมีผู้บริโภคถึง 91% ที่กังวลกับเรื่องข้อมูลส่วนตัว แต่การเปิดตัวครั้งนี้ของ Facebook น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนให้คนเริ่มยอมรับกับการที่ข้อมูลส่วนตัวถูกแชร์ ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางให้กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย สามารถใช้จุดนี้ในการโจมตี เพื่อให้คนอื่นๆ เลิกใช้แพลตฟอร์มตามกันไป

ทั้งนี้ การที่ผู้บริโภครู้สึกโอเคกับการแชร์ข้อมูลบางอย่าง เพื่อให้แบรนด์สามารถส่งบริการที่ตอบโจทย์ตัวเองได้แบบเฉพาะบุคคล แต่คนกลุ่มเดียวกันนี้เองก็เริ่มระมัดระวังในการสมัครมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสมัครด้วยเบอร์โทรศัพท์ หรือล็อคอินผ่าน Facebook ก็ตาม

ดังนั้น ความเชื่อจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ผู้เดินเกมเป็นเจ้าแรกๆ อย่าง Facebook และ WhatsApp จะต้องทำ เพื่อให้คนเห็นว่าความเป็นส่วนตัวของพวกเขาจะไม่ได้รับความเสี่ยง และเห็นว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาจะสามารถใช้แพลตฟอร์มร่วมกันได้อย่างไหลลื่น และได้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับเขาจริงๆ

การทำการตลาดผ่านสองแพลตฟอร์มที่ง่ายขึ้น

จากมุมมองของแบรนด์ การได้ข้อมูลจาก WhatsApp ซึ่งรวมไปถึงเบอร์โทรศัพท์ย่อมเป็นขุมทรัพย์ให้แบรนด์สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายในการซื้อโฆษณาข้ามไปมาระหว่างสองแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เห็นผู้บริโภคเป็นคนเดียว การเก็บข้อมูลเพื่อไปต่อยอด เช่น customer journey ก็ทำได้ดีขึ้น ทั้งทางออฟไล์และออนไลน์

จุดนี้เองจึงเป็นหน้าที่ของแบรนด์ที่ต้องคอยดูแลทั้ง 2 ช่องทางให้ดี และวางแผนการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละช่องทาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เมื่อทั้งแบรนด์และแพลตฟอร์มสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นถึงพลังของข้อมูลในศตวรรษที่ 21 การแลกเปลี่ยนข้อมูลในอนาคตก็จะทำได้ง่ายและลึกขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : Campaignlive