การทำตลาดผ่าน Influencer นั้น ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นมาก จากการสำรวจของ ANA พบว่า 3ใน4 ของนักโฆษณาทั่วโลกมีการใช้กลยุทธ์การตลาดผ่าน Influencer ถึง 43% และวางแผนที่จะจ่ายเงินในกลยุทธ์นี้มากขึ้นด้วยภายใน 12 เดือนข้างหน้านี้ เพราะคำว่า Influencer นั้นครอบคลุมอยู่ทุกที่
แม้ว่าความหมายของคำว่า Influencer หรือ Creator นั้น จะมีความใกล้เคียงกันอยู่ เพราะแต่ละแพลตฟอร์มจะมีการเรียกคนกลุ่มนี้ต่างกัน เช่นเดียวกับการเลือกสื่อสารตลาดของแบรนด์ที่ควร “เลือกให้เหมาะกับช่องทาง” และ “ใช้ให้ถูกกับเรื่องราว” เพื่อให้การสื่อสารเนื้อหาสู่ลูกค้านั้นตรงจุดที่สุด เพราะวิวัฒนาการของผู้อ่านแต่ละกลุ่มมีความต่างกัน ดังนั้น แบรนด์จึงควรเน้นการสร้างความประทับใจให้กับผู้รับสารแต่ละกลุ่มให้ต่างกัน และทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนกับการบอกเล่าของเพื่อนผ่านสื่อออนไลน์ (Friendentertainment) ด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจและดึงดูดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เสมือนเพื่อนที่รู้ใจ โดยการทำเนื้อหาลักษณะเพื่อนบอกต่อนั้น ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ค่ะ
เปลี่ยนรูปแบบ
แน่นอนว่าคุณสามารถค้นหารายชื่อ Influencer จากสื่อโซเชียลหรือผลิตภัณฑ์ใดก็ได้ แต่นั่นจะทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จและมีผลลัพท์ที่ดีจริงหรือไม่ ข้อความที่แบรนด์ควรส่งต่อออกไปเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีคำถามที่เปิดกว้างกว่าเดิมและอะไรถึงจะมีผลดีในแง่การตลาดแบรนด์สามารถเริ่มต้นข้อความและส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกประทับใจมากที่สุด
ดังนั้น ก่อนที่จะทำแคมเปญใดก็ตาม ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณให้ดีก่อน และรู้ว่าแพลตฟอร์มใดที่ตรงกับลูกค้าที่สุดและมีส่วนร่วมให้เต็มที่ เช่น คนรุ่นใหม่ใช้เวลากับคอนเทนต์ในช่องทางต่างๆ ไม่ได้จำกัดแค่ในทีวีเท่านั้น จึงต้องมองให้ขาดว่าพวกเขามีมุมมองหรือชอบเสพย์คอนเทนต์ลักษณะใด จากนั้นก็ส่งคอนเทนต์ให้ตรงจุดในช่องทางที่ต่างกัน
นอกจากนี้ แบรนด์ควรเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วยว่าแต่ละแพลตฟอร์ม ควรมีประเภทของเนื้อหาอย่างไร แพลตฟอร์มไหนที่จะทำงานได้ดีกว่าและเนื้อหาควรเป็นวิดีโอหรือภาพนิ่ง ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องรู้ก่อนเลือกใช้งานโซเชียลมีเดีย รวมทั้งก่อนที่จะสร้างเนื้อหาไปในแต่ละแพลตฟอร์ม
มีธีมเดียวกัน
ในฐานะแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงโลกโซเชียลและดิจิทัลนั้น ควรตระหนักถึงแนวโน้มที่สะท้อนถึงผู้ชมของตนให้มากที่สุด เช่น การกำหนดธีมหรือเส้นเรื่องของเนื้อหาให้ไปในทิศทางเดียวกันและตรงกับยุคสมัย เช่น ละครย้อนยุคนับพันปี คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยสัมผัสเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ย่อมไม่เข้าใจกับวิถีชีวิตของคนโบราณใช่ไหมคะ ถ้าเราเอามาปรับเข้ากับโลกยุคใหม่ให้ผู้ชมรู้สึกเข้าถึงง่ายเสมือนอยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้นด้วย (อย่างละครเรื่องบุพเพสันนิวาสที่เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ แต่คนที่ย้อนอดีตเป็นคนรุ่นใหม่ ทำให้ผู้ชมอยากติดตามและอินกับเนื้อหาได้ง่ายค่ะ) เนื้อหาจึงต้องสนุกและดึงผู้ชมออกไปจากโลกแห่งความเป็นจริงได้ชั่วคราว และนั่นจะทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความยอดเยี่ยมกับเรื่องราวที่คุณกำลังส่งออกไป รวมทั้งเนื้อหาที่จะสื่อในแต่ละแพลตฟอร์มก็ต้องสอดคล้องเพื่อให้ผู้ชมไม่ว่าเข้าไปในช่องทางใด ก็เห็นคอนเทนต์ในทิศทางเดียวกัน
เทรนด์ในองค์กร
อีกสิ่งหนึ่งที่แบรนด์ต้องคำนึงถึงคือการสร้างกลยุทธ์ระยะยาวผ่าน Influencer ที่น่าเชื่อถือเช่นเดียวกับการทำงานในองค์กร เพราะโดยธรรมชาติคนที่เติบโตขึ้นจะเชื่อฟังหัวหน้าหรือคนที่มีลักษณะน่าเชื่อถือ หากสินค้าหรือบริการของคุณเป็นสิ่งที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าองค์กร Influencer ก็ควรที่จะมีความข้องเกี่ยวหรือบุคลิกลักษณะที่ทำให้คนดูรู้สึกเชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้ง่าย เช่น เลือกใช้ Influencer ด้าน IT ก็ควรเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีประสบการณ์ใช้งานสินค้านั้นได้อย่างแท้จริง มากกว่าคนที่เป็นพิธีกรขายสินค้าทั่วไปหรือพริตตี้ เพราะทำให้ลูกค้าไม่มีความรู้สึกร่วมกัน
สรุป คือ การที่แบรนด์จะใช้แนวคิดการบอกต่อแบบเพื่อนนั้น จะต้องเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมในการส่งต่อเนื้อหา รวมทั้งเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับสินค้า รวมทั้งลงทุนในการสร้างเนื้อหาที่เหมาะกับแพลตฟอร์ม เพราะอนาคตทางการตลาดของแบรนด์ไม่ใช่แค่การสร้างข้อความโดยส่วนกลางแต่จะต้องสร้าง Content และ Concept ที่เหมาะกับการบอกต่อคนที่มีอยู่จริง
ที่มา: Marketingdive