หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหูกับคำว่า “Gamification”? สักเท่าไหร่นะคะ ว่าแต่เอ๊ะ! เชื่อว่ามีหลายคนเห็นแล้วต้องเดาออกว่ามันเกี่ยวข้องกับเกมหรือเปล่า? ใช่แล้วค่ะ มันเกี่ยวข้องกันจริงๆ ด้วย
Gamification เป็น Apps หรือบริการที่นำเอาคอนเซ็ปของเกมมาประยุกต์ใช้ มีการวางกลไกของเกมภายใน App อาทิเช่น การกำหนดกิจกรรมให้ทำ มีการนำเสนอแต้ม, leader boards, levels, badge ต่างๆ มาประยุกต์เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาเพื่อการกระตุ้นและดึงความสนใจให้คนมาเข้าร่วม พอพูดคร่าวๆ แบบนี้แล้วทุกคนก็เริ่มจะร้อง อ๋อ เพราะว่าหลายคนก็คงเคยใช้ App ประเภท Gamification มาแล้วกันทั้งนั้น อย่างเช่น Location-Based Game ที่ชื่อว่า Foursquare ที่แบรนด์ต่างๆ สามารถให้รางวัลเมื่อเข้ามาทำการ Checkin ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด
ทำไมถึงคิดว่า Gamification work หล่ะ?
ในปี 2010 มีผลการศึกษาจาก Harvard Business Review ว่าอะไรเป็นตัวที่สามารถใช้กระตุ้นคนในงานนั้นๆ ได้และสิ่งนั้นก็คือคำว่า “Progress”
ด้วยกลไกของเกมนั้นเราจะรู้ว่ามันมีจุดวัดและสถิติต่างๆ เป็นตัวบ่งบอกถึง “Progress” อยู่ เช่น สะสมคะแนนครบเท่านั้นเท่านี้ก็จะอัพ Level ได้ , Checkin ในสถานที่ที่แตกต่างมากกว่ากี่ครั้งเพื่อได้ Badge นี้, ถ้ามีคนเห็นด้วยจำนวนเท่านี้คน ดีลนี้ก็จะเปิดขาย เป็นต้น
ในขณะที่ Forbes กล่าวว่า Groupon บริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดบริษัทหนึ่ง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่นำกลไกลของเกมมาใช้ในการนำเสนอดีล
Nike และ Apple ก็นำเอา Gamification มาประยุกต์ใช้ ให้คนมาสร้างทีมและกำหนดกฎเกณฑ์ในการออกกำลังกายโดยให้ตั้งเป้าหมายการวิ่งแข่งกับเพื่อนๆ
Kraft กับแคมเปญการตลาดเป็น Sponsor ให้กับ App Shopkick เปิดให้คนสามารถ Checkin และสแกนสินค้าที่ร้านค้า นำแต้มที่ได้แลกเป็นคูปองสินค้าของ Kraft หรือจะนำไปเป็นเงินบริจาคแทน
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าการทำบริการหรือ App ที่นำ Gamification มาประยุกต์ใช้มันจะสำเร็จเสมอไปนะคะ ถ้าปราศจากซึ่งเป้าหมาย ถ้าคุณกระโดดลงมาทำเพียงเพราะว่าใครๆ ก็ทำอันนี้แย่เลย… คุณควรเริ่มจากการตั้งเป้าหมายธุรกิจและผลสำเร็จที่ต้องการ เช่น ต้องการสร้างการรับรู้ สร้างความสนใจ หรือต้องการให้มียอดสั่งซื้ออะไรก็แล้วแต่…และหลังจากนั้นจึงค่อยมาเลือกวิธีการที่จะสามารถสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดสิ่งเหล่านั้นกับลูกค้าของเราได้ โดยควรคำนึงถึงกลไกของเกมที่มีความสนุก และแน่นอนว่าของรางวัลที่น่าดึงดูดย่อมมีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน
ปิดท้ายด้วยวิธีง่ายๆ กับ 3 คำถามถ้าคุณมีคำตอบที่ดีพอให้กับคำถามเหล่านี้แล้วล่ะก็ (แบบไม่เข้าข้างตัวเองนะ ^^”) ?….น่าจะมาลองลุยกันเลยค่ะ ซึ่งคำถามเหล่านั้นคือ
1) ทำไมถึงต้องทำสิ่งนี้
2) ทำไมผู้ใช้จะต้องสนใจของรางวัลนี้
3) ทำไมกลยุทธ์นี้ถึง work?
ที่มา : Mashable