หากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ยังคงยืดเยื้อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะลดลงจาก 2.5% เหลือ 1 – 1.5% โดยในไตรมาสที่ 1 ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงระนาว ความต้องการของผู้บริโภคฟื้นตัวช้าและเกิดการชะงักตัวของห่วงโซ่อุปทาน
ประเทศที่เป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดอย่างจีนย่อมได้รับผลกระทบหนักที่สุด ในปีที่ผ่านมา GDP ของประเทศจีนเติบโตเกือบ 6% จะลดลงเหลือ 3.8% และลดลง 1% ถึง 1.5%สำหรับพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั่วโลก เศรษฐกิจของสหรัฐจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 เนื่องจากโรงงานในประเทศจีนเริ่มกลับมาผลิตแล้ว แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่กลับมาเต็มที่จนกว่าจะสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
โรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
สถานการณ์ได้ลุกลามไปยังทวีปอื่นๆ ทั่วโลกทั้ง เอเชียกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้เปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันของคนมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้อุปสงค์ชะลอตัว การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกอาจลดลง 1% ถึง 1.5% ดึงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวยิ่งกว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ใช่ภาวะถดถอยก็ตาม
ความท้าทายของห่วงโซ่อุปทาน
ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้นำเข้าอันดับ 2 ของโลก การหยุดชะงักจากการปิดโรงงานการผลิตในประเทศจีนย่อมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก แม้ว่าโรงงานเริ่มกลับมาดำเนินการ แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นความท้าทายของโรงงานทั่วโลกในการรักษาสินค้าคงคลังและการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต
ที่มา Mckinsey