Site icon Thumbsup

GMM Grammy vs Workpoint กอดคอเข้าป้าย 10 ล้าน YouTube Subscribers

ด้วยพฤติกรรมการเสพย์เนื้อหาที่เปลี่ยนไปเป็นวิดีโอ ซึ่งไม่ใช่แค่ดู แต่เป็นการเปิดเพื่อฟัง ล้วนทำให้มียอดการใช้งานที่สูงขึ้น แต่ยอดการชม/ฟัง คงไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะเอามาขาย(หรือโม้)ได้ แต่ตัวเลขของผู้ที่เป็น subscriber หรือผู้บอกรับเพื่อการติดตาม Channel ของ YouTube ซึ่งก็เปรียบได้กับการกด Like หน้า Page บน Facebook หรือกด Follow บน Twitter กว่าจะปั้นให้คนกดได้มันยากกว่าเยอะ

ความลำบากในการปั้นกว่าจะถึงแต่ละเป้าหมาย ยากกว่าการทำช่องทางอื่นมากๆ เพราะบน YouTube กว่าจะได้มาต้องแลกมากับการสร้าง Content และนำขึ้นไปไว้ในช่องของตนเองเรื่อยๆ แถมยังต้องชวนให้คนกด Subscribe ด้วย ซึ่งแตกต่างจากการกด Like หรือกด Follow ซึ่งก็ทำให้แต่ละ Channel กว่าจะได้ถึงเป้านี่ยากลำบากสุดๆ

ถึง 10 ล้านแล้วได้อะไร

หล่อครับ 555 ไม่ใช่! โดยปกติแล้วทาง YouTube เองจะมีป้ายเพื่อยืนยันเมื่อถึงยอด Subscriber แต่ละระดับ (คล้ายๆ ทำยอดเป็นมงกุฎเพชร อะไรแบบนี้) แบ่งเป็น 4 ชั้นคือ

เมืองไทย มี Silver Play Button มากกว่า 600 Channel และ Gold 32 Channel อ้างอิง

ภาพจาก http://www.tubefilter.com/wp-content/uploads/2016/05/pewdiepie-diamond-play-button.jpg

เร่งเครื่องเกียร์แปดให้ถึง 10 ล้าน

ด้วยความที่ยังไม่มีเจ้าไหนที่มี Subscriber ถึง 10 ล้าน แต่ GMM และ Workpoint ก็อยู่ในช่วง 100 เมตรสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย 10 ล้าน ทั้งคู่เลยพยายามทุกวิถีทางในการ “ดูด” คนผ่านการทำการตลาดโดยเฉพาะการหาแรงจูงใจเพื่อกระชากคน ไม่ว่าจะเป็นการแจกรางวัล(ของเขาเอง), Fan Meet สุดแล้วแต่จะงัดเพื่อปั๊มยอดคนกด Subscribe แถมยังมีเพิ่มจำนวนรางวัลกันตอนระหว่างทางอีกด้วย เรียกว่าดันกันสุดๆ

แต่ก็แอบคิดนะว่าการทำ Fan Meet ของค่าย GMM ดันเป็นศิลปินที่กลับมาดังจากเวทีของรายการที่ Workpoint ซื้อลิขสิทธิ์มาทำ ไม่รู้ใครดันใคร

*ทั้งคู่เขียน YouTube ผิดแบบ YouTube น่าโกรธ เพราะตัว T ต้องเป็นตัวใหญ่

GMM เข้าเส้นชัยก่อน แต่ Workpoint ก็สวนกลับแบบเหนือกว่า (หรือเปล่า?)

GMM Grammy ก็ชิงประกาศเมื่อเข้าป้ายถึงเป้า 10 ล้าน Subscriber ก่อน Workpoint ด้วยคำว่า “เจ้าแรกในประเทศไทย” แบบสวยๆ

แต่พอเช้าวันที่ 11 ตุลาคม Workpoint ก็ทำการส่งข้อความขึ้นมา ด้วยการเกทับด้วยคำว่า อันดับ 1 2 ถ้วย พร้อมกับเหน็บด้วยกราฟที่ไม่บอกก็รู้ว่าสีฟ้าคือใคร… ก็คงไม่ยอมน้อยหน้าใครประมาณนี้

แนวทางของทั้งสองช่อง

เรื่องตัวเลขเป็นเรื่องของความอวดหล่อของทั้งสองช่อง แต่หากเราเข้าไปดูภายใน Channel ของทั้งสองช่องนี้ก็จะเห็นกลยุทธ์ที่เขาเลือกและปรับใช้ ซึ่งที่เราเห็นวิธีการที่แตกต่างกัน

จากทั้งสองจะเห็นได้ว่า Workpoint ถือความได้เปรียบของการที่มี Center อยู่ที่เดียว ทำให้แฟนทุกรายการของข่องสามารถมากดติดตามได้ในที่เดียว รวมไปถึงการแตก Content Long Form 1 ชิ้น มาเป็น หลายๆ ชิ้น ทำให้ 1 ตอนสามารถถูกกระจายให้คนดูได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายสุดก็คือ The Mask Singer ที่ยอดการชมถล่มทลาย ไม่ใช่ทั้งรายการ แต่เป็นยอดถล่มทลายในแต่ละคลิปเพลง รวมๆ กันแล้วก็หลายพันล้านวิวน่าจะได้

นี่เป็นกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้ Content มีปริมาณมากขึ้น และเป็น Content ที่คนสามารถเสพย์ได้งานด้วยการใช้เวลาไม่มาก ซึ่งถ้าให้เทียบความยาวของคลิปเป็นไฮไลท์ ระยะเวลาก็ใกล้เคียงกับความยาวของเพลงที่ GMM นั่นเอง

นี่ยังไม่รวมถึงการนำขึ้นไปช่องทางอื่นๆ ด้วยอย่าง Facebook หรือแม้กระทั่ง LINE TV แต่ในเมื่อวิดีโอ YouTube ก็จะถูกเลือกเป็นฐานที่มั่นของวิดีโออยู่เป็นท่ามาตรฐาน

หลักชัยต่อไป 50 ล้าน ใครจะไปต่อได้ดีกว่ากัน

คงต้องพูดถึงโครงสร้างและแนวทางสร้างและจัดการ Content ของทั้งสองช่องนี้จากหัวข้อข้างบน เราจะเห็นแนวโน้มที่ Workpoint ยังโตได้อีกมาก แต่เลข 50 ล้าน คงจะยังไม่ใช่เป้าหมายอันใกล้ ที่น่าจะถึงได้จากการสะสมและแนวทางในการนำ Content ขึ้น ก็อาจจะเห็น 15 ล้าน แต่ก็คงไม่ใช่เร็วๆ นี้ ต้องอีกสักระยะนึง แต่ที่แน่ๆ Workpoint ได้ไปต่ออย่างชัดเจน แต่ GMM ก็ยังได้เรื่อยๆ แต่ปริมาณคงไม่แรงเท่า

บทสรุปที่ต้องยินดี

…ไม่โกรธเคืองเธอเลย มีแค่คํายินดี – วง Klear ได้กล่าวไว้

การปั้น 1 ในช่องทางออนไลน์เพื่อนำ Content มาวางให้คนได้เห็นและรับชม ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันแปปเดียวแล้วจบ อย่างที่บอกไปว่า มันต้องอาศัยหลายๆ อย่าง การที่ทั้ง 2 Channel มาได้ไกลกว่าใครเพื่อน คงต้องแสดงความยินดีมากกว่าที่จะบอกว่าใครชนะใคร เพราะนั่นก็คือตัวเลขที่เอาไว้เคลมกันเพื่อพื้นที่ข่าวและสื่อ

เราคงต้องเรียนรู้ถึงแนวทางของการใช้ช่องทางออนไลน์ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะเป้าหมายคงไม่ใช่แค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคิดถึงผู้ที่รับชมได้ชมสิ่งที่เขาสนใจและต้องการ รวมทั้งตัวเจ้าของ Content ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการสื่อออกไปทั้งทางตรง (แบรนด์ตัวเอง) และทางอ้อม (ขายสปอนเซอร์)