Site icon Thumbsup

นักพัฒนายิ้ม! In-app Subscriptions จาก Android มาแล้ว…

หลังจากปล่อยให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง iOS เปิดตัวรูปแบบของธุรกิจแอพพลิเคชันแบบใหม่ (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่ของใหม่แล้ว) อย่าง In-app purchase ไปเมื่อกว่าสามปีก่อน ทาง Google Android ก็ปล่อย In-app purchase ออกมาเช่นกัน แถมล่าสุดยังเปิดตัวระบบอีกตัวอย่าง In-app Subscriptions ออกมาเพิ่มอีก ซึ่งนี่ก็จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถคิดแผนการต่อยอดรายได้จากแอพฯ ของตัวเองออกไปได้อีก…

แต่ก่อนอื่นอาจจะต้องเกริ่นเรื่องของ “In-app purchases” ให้บางท่านได้รู้จักกันเสียก่อนนะครับ รูปแบบธุรกิจของแอพฯ โดยปกติเราก็มักจะเห็นในรูปของรายได้จากการขายแอพฯ ซึ่งส่วนหนึ่งก็คงต้องจ่ายให้กับทางแพลตฟอร์มนั้นๆ (Google Play ของแอนดรอยด์ และ App Store ของ iOS) หรือจะมาอยู่ในรูปแบบของแอพฯ ฟรี ที่อาจจะมีโฆษณาฝังมาอยู่ในแอพฯ ก็มีให้เห็นอยู่แล้ว

แต่ In-app purchased จะมีรูปแบบที่ต่างกันออกไปครับ รูปแบบที่เห็นบ่อยคือแอพฯ นั้น จะมีราคาตั้งแต่ฟรี ไปจนเสียเงินหลายบาท (ส่วนใหญ่มักจะฟรี) แต่การใช้งานมักมีข้อจำกัดบางประการ ที่เราเห็นได้บ่อยก็เช่นแอพฯ ประเภทเกม ที่คุณสามารถซื้อไอเท็มต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในเกม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ เป็นต้น เช่นการซื้ออาวุธ เหรียญหรือเงินในเกมเหล่านั้น

ในขณะที่ In-app Subscriptions ก็จะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน แต่จะเป็นเหมือนกับการซื้อสิทธิพิเศษในระยะยาวกว่า?ซึ่งผู้ใช้งานก็สามารถที่จะใช้งาน In-app Subscriptions ของแอนดรอยด์กันได้แล้ว และเชื่อเหลือเกินว่านี่น่าจะเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักพัฒนา ในเรื่องของรายได้ที่พวกเขาเหล่านั้น มีสิทธิ์ที่จะได้รับ “เพิ่มขึ้น”

เราได้เรียนรู้อะไรจากข่าวนี้:?แน่นอนว่าการเปิดระบบ In-app Subscriptions ตรงนี้ จะส่งผลให้นักพัฒนามีช่องทางให้ขาย และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เชื่อว่า Google เองคงสังเกตได้จากตลาดของแอพฯ สำหรับฝั่ง iOS มาพอสมควร และยังเคยมีรายงานแจ้งว่า เฉพาะรายได้ของแอพฯ ส่วนที่เป็น In-app purchase และ Subscriptions ของทาง iOS มีรายได้มากกว่า Google Android ทั้งหมดรวมกันเสียอีก จึงไม่น่าแปลกใจที่เรามักพบว่า ใน Google Play Store มีแอพฯ ฟรีอยู่จำนวนมาก?ในอีกมุมมองหนึ่ง การมีขึ้นของ In-app purchase และ Subscriptions อาจจะมีผลเสียต่อตัวผู้ใช้งานโดยตรง เมื่อการเลือกซื้อแอพฯ เพิ่มเติมทำได้ง่าย จึงอาจจะมีโอกาสกดเพื่อสั่งซื้อผิดไปได้ด้วย

ที่มา: Engadget