ข่าวนี้อาจจะไม่ถึงกับใหม่มากนัก แต่ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยหยิบยกมาพูดคุยกันเสียหน่อยกับกลยุทธ์การเจาะตลาดในประเทศกำลังพัฒนาของ Google ด้วย Google Free Zone บนฟีเจอร์โฟน
Google Free Zone คือบริการที่ผู้ใช้สามารถเล่น Google Search, Gmail และ Google+ ได้บนฟีเจอร์โฟนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านดาต้าและค่าบริการ (แต่ไม่รวมถึงค่าดาต้าที่เกิดจากการเปิดเว็บไซต์ที่ได้จากการค้นหา, จากอีเมล หรือจาก Stream ของ Google+)?นอกจากนี้ยังปรับ User Interface ให้เหมาะสมกับการเล่นบนหน้าจอเล็กๆ ด้วย
Free Zone เป็นการจับมือร่วมกันกับ Google และ Mobile Operator และล่าสุดเปิดตัวในประเทศฟิลิปปินส์กับค่าย Globe ?ไปแล้ว
เราเรียนรู้อะไรจากข่าวนี้
ต้องยอมรับว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ก็ยังใช้โทรศัพท์ฟีเจอร์โฟนกันอยู่เยอะมาก การที่ผู้ให้บริการบนโลกอินเตอร์เน็ตจะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ก็มีหลากหลายรูปแบบ และหนึ่งในกลยุทธ์คือการจับมือกับ Mobile Operator ไม่คิดค่่าใช้ดาต้า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน?หรืออาจเปิดให้เล่นดาต้าสำหรับบริการนั้นๆ แบบไม่จำกัด แต่คิดค่าธรรมเนียมการใช้บริการแทน
ซึ่งแน่นอนว่านี่ไม่ใช่ของใหม่เพราะแนวคิดลักษณะนี้ Facebook ก็เคยทำมาแล้วด้วยบริการ 0.facebook.com ซึ่ง Mobile Operator ในอินโดนีเซียทั้ง 3, AXIS, Telkomsel ก็มักนิยมให้บริการประเภทนี้ แต่นั่นก็เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการวิ่งเข้ามา?และในบางครั้งบริการที่เห็นๆ อยู่ก็ไม่ได้เกิดจากการจับมือ แต่ตัว Mobile Operator เองก็สามารถพัฒนาบริการในลักษณะนี้เองได้ ไม่ว่าจะเป็น เล่น Facebook Twitter ไม่อั้น เป็นต้น ใช้เจาะกลุ่มลูกค้าที่แน่ใจว่าเน้นเล่นเฉพาะบริการนั้นๆ ไปเลย ไม่จำเป็นต้องซื้อแพคเกจราคาแพง
กลับมาที่ Google Free Zone ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งบริการที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนเล่นบริการของ Google? ได้สะดวกขึ้น โอกาสที่เราจะเห็นว่าโครงการนี้เปิดตัวในประเทศอื่นๆ นอกจากฟิลิปปินส์มีมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของฟาก Mobile Operator ด้วย
การไม่คิดค่าดาต้าและค่าบริการทำให้ Mobile Operator ก็ต้องชั่งน้ำหนักดูว่านอกจากการลงทุนในแง่ของระบบ (ยากมากน้อยแค่ไหนขึ้้นอยู่กับความสามารถของแต่ละ Mobile Operator), การลงทุนในแง่การตลาด โครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้คนมาเล่นบริการดาต้าอื่นๆ นอกเหนือจาก Google Free Zone มากน้อยแค่ไหน? คุ้มไหม? และหาโอกาสในการขายแพคเกจเพิ่ม (Up-Sell) ต่อไป เพื่อเป็นการจับมือร่วมกันแบบ Win-Win ทั้ง 2 ฝ่ายนั่นเอง
หมายเหต: บางบราวเซอร์อาทิเช่น Opera Mini ก็มีการจับมือร่วมกับ Mobile Operator นำเสนอโซลูชั่นในการให้บริการในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่ไม่ใช่ Google Free Zone