คณะกรรมาธิการยุโรปของสหภาพยุโรปหรือ EU ออกคำสั่งปรับ Google เป็นเงินเกือบ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบ 54,000 ล้านบาท ฐานกีดกันคู่แข่งจากข้อตกลงการโฆษณาที่มีข้อกำจัดอยู่ ส่งผลให้คู่แข่งไม่มีโฆษณาขึ้นบน Adsense for Search
EU ปรับ Google เกือบ 54,000 ล้านบาท
หน่วยงานของสหภาพยุโรป (European Commission: EU) อย่าง “คณะกรรมาธิการยุโรป” (European Commission: EC) ได้ออกคำสั่งปรับเงินบริษัท Google ยักษ์ใหญ่ไอทีเป็นจำนวน 1,490 ล้านยูโร (คิดเป็นเงินได้ประมาณ 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 54,000 ล้านบาท)
ซึ่ง EC ระบุสาเหตุการถูกปรับครั้งนี้มาจาก Google ละเมิดต่อกฎการต่อต้านการผูกขาดของ EU ใช้อำนาจที่มีอยู่เหนือตลาด นำข้อจำกัดที่มีอยู่ในสัญญาของผู้ติดตั้งโฆษณา Google Adsense ทำให้คู่แข่งของ Google ไม่สามารถแสดงโฆษณาบนเว็บต่างๆ ที่ติดตั้ง Adsense for Search ไว้ได้
Kent Walker ในฐานะที่เป็น SVP (Senior Vice President) of Global Affairs ของ Google ก็น้อมรับต่อคำตัดสินของ EC เพื่อให้เกิดเป็นตลาดที่สมบูรณ์และเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะอัพเดทให้เห็นโฆษณาคู่แข่งมากขึ้น
“พวกเราได้รับความคิดเห็นทั้งจาก European Commission และแหล่งอื่นๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งผลหลังจากนี้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เราจะมีการออกอัพเดท Product ของเราในยุโรปเร็วๆ นี้” Kent Walker กล่าว
ข้อมูลจากเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area: EEA) ระบุว่า Google ถือเป็นเจ้าตลาดแพลตฟอร์มสำหรับการลงโฆษณาบนผลการค้นหา (Search Advertising) เพราะในช่วงปี 2549-2559 มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์
โดยในปี 2559 Google ครองส่วนแบ่งการตลาด Search Enging มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในยุโรป
หากจะบอกว่า Product หลักๆ ของ Google คงหนีไม่พ้นบริการ Google Search Engine คงไม่ผิดนัก
และเมื่อดูเฉพาะตลาดการโฆษณา Search Advertising จะพบว่า Google ครองส่วนแบ่งการตลาดไปมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย
ย้อนดู EU ปรับ Google
- มิถุนายน 2560 – Google เคยถูก EC ปรับเป็นเงิน 2,420 ล้านยูโร ฐานใช้อำนาจในการครองตลาด Search Engine เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับบริการ Google Shopping แสดงไว้บนสุดของหน้าค้นหา ซึ่งผิดกฎหมายผูกขาดทางการค้า
- กรกฎาคม 2561 – EC ก็ปรับ Google ไปอีก 4,340 ล้านยูโร ฐานผิดข้อตกลงบางอย่างด้วยการนำเอาอุปกรณ์ Android มาสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริการค้นหาของ Google อีกด้วย
ที่มา : Google, European Commission, CNBC และ