นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ร่วมกันเปิดเผยถึงมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ขยายวงกว้างขึ้น
สรุปมาตรการดูแลและเยียวยา “แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบ ประกันสังคม” ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)
เพิ่มสภาพคล่อง
1.สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
- เงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ได้รับผลกระทบจากการปิดพื้นที่
- จำนวน 3 ล้านคน
สำหรับผู้อยู่ในระบบประกันสังคม
- เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง
1.กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงิน ไม่เกิน 180 วัน
2.กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน
2.สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย
- วงเงินรวม 40000 ล้านบาท
- วงเงินต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท คิด
- ดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.10% ต่อเดือน
3.สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย
- วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท
- วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35% ต่อเดือน
4.สนง. ธนานุเคราะห์รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ
- วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท
- ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.125% ต่อปี
ลดภาระ
5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปเป็นสิงหาคม 2563
6.หักลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น
- เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 เป็น 25,000 บาท
7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรณ์ทางการแพทย์
เพิ่มทักษะ
8.ฝึกอบรมมีเงินใช้
- ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
- ขยายเครือข่ายฝึกอบรม เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นต้น