Site icon Thumbsup

ส่องตัวเลข 5 ปี “Grab” ยอดเดินทางเฉลี่ย 2.5 ล้านเที่ยวต่อวัน

แอนโทนี ตัน (ขวา) และโฮย หลิง ตัน (ซ้าย) สองผู้ร่วมก่อตั้ง Grab

Grab ฉลองครบรอบ 5 ปีของบริการพร้อมเปิดสถิติน่าสนใจ ระบุมียอดการเดินทางเฉลี่ย 2.5 ล้านเที่ยวต่อวันจาก 55 เมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันนั้นสูงกว่า 45 ล้านครั้งแล้ว

 

โดย Grab ได้อ้างอิงตัวเลขจากรายงาน Moving SEA Forward พบว่า อัตราการเติบโตของผู้ขับ Grab ในแต่ละประเทศนั้น อินโดนีเซียเติบโตสูงสุด 574% ตามมาด้วยประเทศไทย 226% ฟิลิปปินส์ 217% เวียดนาม 216% สิงคโปร์ 206% และมาเลเซีย 176% ขณะที่ตัวเลขผู้ขับที่เคยมี 2,000 คนในปี 2013 ปัจจุบันมีผู้ขับที่ 930,000 คนแล้วเช่นกัน

สำหรับรายได้ของผู้ขับ Grab นั้น รายงานดังกล่าวชี้ว่า สูงกว่าค่าจ้างเฉลี่ยราว 32% ต่อชั่วโมง แต่หากแยกเป็นตามประเทศแล้ว จะปรากฏตัวเลขดังนี้

  • สิงคโปร์: 10%
  • อินโดนีเซีย: 34%
  • ฟิลิปปินส์: 35%
  • มาเลเซีย: 48%
  • เวียดนาม: 55%
  • ไทย: 19%
พื้นที่ให้บริการ

เปิดตัว GrabNow

GrabNow คือบริการใหม่ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานเพิ่มมากขึ้น โดยมีแผนเปิดบริการนี้ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเป็นที่แรก บริการ GrabNow ประกอบด้วย

นอกจากนี้ Grab ยังได้ขยายขอบเขตการให้บริการด้านการขนส่งในรูปแบบใหม่ๆ ที่เน้นให้ผู้โดยสารเดินทางด้วยกันเป็นกลุ่ม อาทิ บริการในรูปแบบใช้รถร่วมกัน (carpooling) ได้แก่ GrabShare และ GrabHitch คิดเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ไปแล้วเกือบ 3.2 ล้านกิโลกรัมต่อปีเพราะการพัฒนาระบบจัดบริการใช้รถร่วมกันและการพัฒนาประสิทธิภาพการจองใช้งานรถสู่ระดับสูงสุด

ส่วนระบบ Telematics เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดปัญหาการขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด รวมไปถึงพฤติกรรมการขับขี่อื่นๆ อาทิ การเหยียบเบรกกะทันหัน การเร่งความเร็วแบบกะทันหัน และการขับปาดแบบอันตรายอีกด้วย โดยระบบเทเลเมติกส์ของ Grab จะส่งรายงานคะแนนการขับขี่ปลอดภัยให้ผู้ขับขี่เป็นประจำทุกสัปดาห์

ส่วน GrabChat เป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การสื่อสารยอดนิยมของคนในภูมิภาค SEA ปัจจุบัน ผู้โดยสารและผู้ขับขี่สื่อสารกันผ่านช่องทางนี้แล้วกว่า 100 ล้านครั้งนับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 และยังพบว่า ผู้โดยสาร 8 ใน 10 ยกเลิกการจองรถน้อยลงเมื่อใช้ GrabChat เพราะฟีเจอร์นี้เปิดทางให้พวกเขาสื่อสารกับคนขับได้อย่างสะดวกผ่านข้อความอัตโนมัติ รวมถึงการจัดทำข้อความแปลอัตโนมัติไว้ให้ด้วยถึง 5 ภาษา (อังกฤษ จีน ไทย บาฮาซา (อินโดนีเซีย) และเวียดนาม) โดยบริการนี้จะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้ 80% ของข้อความในแกร็บแชทเป็นข้อความอัตโนมัติที่ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ซึ่งปลอดภัยมากสำหรับคนขับเพราะสามารถสื่อสารได้ด้วยการกดเพียงครั้งเดียว

สุดท้ายในด้านความปลอดภัยพบว่า Grab มีตัวเลขสถิติต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย 5 เท่า ส่วนสิงคโปร์ต่ำกว่า 3 เท่า อินโดนีเซีย ต่ำกว่า 5 เท่า ฟิลิปปินส์ต่ำกว่า 3 เท่า มาเลเซียและเวียดนามตำ่กว่า 6 เท่า และมีการอบรมผู้ขับขี่ GrabBike กว่า 135,000 คนให้มีทักษะการช่วยชีวิตเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย